กรุงเทพฯ--28 ก.พ.--เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์
ข้อมูลทองคำวันนี้
- ราคาสมาคม เปิดที่ 20,350 - 20,450
- ราคา Gold Spot เปิดที่ 1,413
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท 30.60 — 30.63
- GFJ11 Hi- Low 20,560 — 20,470 ปิดที่ 20,480
Gold Insight
สัญญาทองคำตลาด COMEX
ส่งมอบเดือนเม.ย.ปรับตัวลดลง 6.5 ดอลลาร์ หรือ 0.46% ปิดที่ 1,409.3 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,400.1 - 1,412.4 ดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มส่งคำสั่งเทขายออกมา หลังจากที่สัญญาทองคำทำสถิติพุ่งสูงต่อเนื่องยาวนานที่สุดในรอบ 6 เดือน
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์
ปิดเพิ่มขึ้น 61.95 จุด หรือ 0.51% แตะที่ 12,130.45 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดเพิ่มขึ้น 13.78 จุด หรือ 1.06% แตะที่ 1,319.88 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดบวก 43.15 จุด หรือ 1.58% แตะที่ 2,781.05 จุดเนื่องจากนักลงทุนเริ่มกลับเข้าซื้อหุ้นในขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเริ่มมีเสถียรภาพ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ตลาดหุ้นเผชิญแรงกดดันจากกรณีที่นักลงทุนวิตกกังวลว่า สถานการณ์ความไม่สงบในลิเบียจะขยายวงกว้างไปยังประเทศผู้ผลิตน้ำมันยักษ์ใหญ่รายอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตน้ำมันในตลาดโลก
สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX
ส่งมอบเดือนเม.ย.เพิ่มขึ้น 60 เซนต์ ปิดที่ 97.88 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในระหว่างวันที่ 99.20 ดอลลาร์ โดยราคาน้ำมันเริ่มเคลื่อนไหวอย่างมีเสถียรภาพหลังจากที่ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลกปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพื่อบรรเทาความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะขาดแคลนน้ำมันอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความวุ่นวายในลิเบีย
กองทุน SPDR Gold Trust
กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถือครองเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลงการถือครอง ที่ระดับ 1211.57ตัน
USD/EU เงินดอลลาร์ดีดตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโรและฟรังค์สวิสในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (25 ก.พ.) หลังจากที่สัญญาน้ำมันดิบเริ่มคลายความผันผวนมาเคลื่อนไหวในระดับที่มีเสถียรภาพค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง 0.43% แตะที่ 1.3743 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3803 ดอลลาร์สหรัฐ โดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลยูโรเช้านี้เปิดตลาดยู่ที่ระดับ 1.3735 ดอลลาร์ต่อยูโร
USD/JPY เงินดอลลาร์อ่อนค่า 0.33% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 81.640 เยน จากระดับ 81.910 เยนโดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลเยนเช้านี้เปิดอยู่ที่ระดับ 81.74 เยนต่อดอลลาร์
USD/THB ค่าเงินบาทปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 30.62-30.64 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งไม่มีการเคลื่อนไหวมากนักจากการเปิดตลาดในตอนเช้ามากนัก ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 30.60-30.63 บาทต่อดอลลาร์
ข่าวเศรษฐกิจโลก
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐประกาศปรับลดการประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 4 ปี 2553 เป็น 2.8% จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ 3.2% และได้ปรับลดการประมาณการอัตราการขยายตัวของจีดีพีปี 2553 เป็น 2.8% จากปีก่อนหน้านั้น จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ 2.9% เนื่องจากตัวเลขการใช้จ่ายภาคเอกชนขยายตัวน้อยเกินคาด
- คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ประกาศคว่ำบาตรลิเบีย ซึ่งการคว่ำบาตรดังกล่าวครอบคลุมถึงการสั่งห้ามส่งอาวุธไปยังลิเบีย ตลอดจนสั่งยกเลิกการเดินทางและระงับทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การดูแลของนายมูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย และสมาชิกคนสำคัญในครอบครัวของนายกัดดาฟี
- สำนักงานพลังงานสากล (IEA) และซาอุดิอาระเบียต่างพยายามที่จะลดแรงกดดันในตลาดน้ำมันเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา โดยให้คำมั่นว่าจะจัดหาผลผลิตน้ำมันสำรอง โดยประเทศสมาชิกของ IEA มีน้ำมันสำรองอยู่ประมาณ 1.6 พันล้านบาร์เรล
- ผลสำรวจของคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในเขตยูโรโซนเริ่มกลับมาเคลื่อนไหวในช่วงขาขึ้นในเดือนก.พ.หลังจากที่หยุดชะงักไปเมื่อเดือนม.ค.ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจใน 17 ประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโรปรับตัวเพิ่มขึ้น 1 จุดสู่ระดับ 107.8 จุด ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นใน 27 ประเทศที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งได้จากการสำรวจธุรกิจและผู้บริโภค เพิ่มขึ้น 1.4 จุด สู่ระดับ 107.2 จุด โดยตัวเลขดัชนี้ทั้งสองภูมิภาคอยู่เหนืออัตราเฉลี่ยในระยะยาว
- ผลสำรวจของธอมสัน รอยเตอร์และมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 77.5 จุดในเดือนก.พ.และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี ซึ่งบ่งชี้ว่า ชาวอเมริกันมีมุมมองที่ดีขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจ แม้ว่าอัตราว่างงานจะยังอยู่ในระดับสูงและราคาน้ำมันเบนซินจะยังแพงขึ้นก็ตาม
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าจับตา
อาทิตย์ที่ ข้อมูลที่น่าจับตา ตัวเลขเดิม ตัวเลข คาดการณ์ ตัวเลขจริง
25 - 28กุมภาพันธ์2554
วันศุกร์ ? GDP 3.2% 3.3% 2.8%
? UoM Consumer Sentiment 75.1 75.5 77.5
วันจันทร์ ? Core PCE Price Index 0.0% 0.1%
? Personal Spending 0.7% 0.5%
? Personal Income 0.4% 0.4%
? ChicagoPMI 68.8 67.9
? Pending Home Sales 2.0% -2.2%