กรุงเทพฯ--3 มี.ค.--124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง
มาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ เปิดเผยสำรวจใหม่ล่าสุด “ดัชนี้ชี้วัดเรื่องผู้หญิงกับความรู้เรื่องการเงิน” ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ว่าผู้หญิงเข้าใจเรื่องการบริหารการเงินมากน้อยแค่ไหน ในรอบผลสำรวจแรกนี้ พบผู้หญิงส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิกมีความรู้เรื่องการเงินพอประมาณ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป แต่งงานแล้ว และมีงานประจำ
นางสาวไอลีน วี รองประธาน และผู้จัดการประจำประเทศไทย กล่าวว่า “รู้สึกเป็นปลื้มแทนผู้หญิงไทยทุกคน ที่พบว่า สาวไทยมีคะแนนรวมสูงเป็นอันดับหนึ่งในรอบผลสำรวจครั้งแรกนี้ ที่ 73.9 คะแนน ซึ่งเป็นผลมาจากคะแนนตัวชี้วัดทั้ง 3 หัวข้อ ได้แก่ การวางแผนด้านการเงิน (87.0) การลงทุน (69.3) และการบริหารการเงินแบบพื้นฐาน (67.9) แสดงให้เห็นว่า สาวไทยมีความใฝ่รู้ และให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารการเงินมาก ทั้งยังสะท้อนว่าผู้หญิงได้รับการยอมรับ และไว้วางใจให้มีบทบาท และตำแหน่งหน้าที่การงานในด้านการเงิน และการลงทุนมากขึ้นอีกด้วย การเงินเป็นสิ่งสำคัญมาก และมีความซับซ้อน ทำให้ต้องมีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และมีความชำนาญ ผู้หญิงปัจจุบันจึงควรที่จะต้องมีความรู้ และความสามารถในเรื่องของการเงินให้เพิ่มมากขึ้นอีกอีกด้วย มาสเตอร์การ์ดในฐานะที่เป็นองค์กรที่สนับสนุนความสามารถของผู้หญิงมาโดยตลอด จะยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศักยภาพ และความรู้เรื่องการเงินของผู้หญิงในภูมิภาคนี้ต่อๆ ไป”
ในรอบผลสำรวจนี้ คะแนนเฉลี่ยของภูมิภาคโดยรวม คือ การวางแผนทางการเงิน 74.6, การบริการการเงินแบบพื้นฐาน 63.9 และการลงทุน 56.7 โดยสาวนิวซีแลนด์ทำคะแนนมาเป็นอันดับสอง (71.3) ตามมาด้วยสาวออสเตรเลีย (70.2) สาวเวียดนาม (70.1) และสาวสิงคโปร์ (69.4) ตามลำดับ ส่วนประเทศที่รั้ง 3 อันดับสุดท้ายได้แก่ จีน (60.1) ญี่ปุ่น (59.9) และเกาหลี (55.9) ตามลำดับ
ผลสำรวจดัชนีชี้วัดเรื่องผู้หญิงกับความรู้เรื่องการเงินโดยมาสเตอร์การ์ด เวิลด์วายด์ ซึ่งจัดทำเป็นครั้งแรกปีนี้ (พ.ศ. 2554) โดยจะทำการสำรวจความเข้าใจ และความสามารถเรื่องการบริหารการเงินของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เกี่ยวกับ 3 หัวข้อ ได้แก่ การวางแผนทางการเงิน (วัดความเข้าใจเรื่องผลิตภัณฑ์ — ตราสารทางการเงิน ธุรกรรมทางการเงิน และความสามารถในการวางแผนการเงินระยะยาว ) การลงทุน (วัดความเข้าใจเรื่องความเสี่ยงในการลงทุน การวางแผนการลงทุน และผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนประเภทต่างๆ) และการบริหารการเงินแบบพื้นฐาน (การจัดทำงบประมาณ, การเก็บออม และการใช้บัตรเครดิตอย่างรับผิดชอบ) โดยคะแนนชี้วัดทุกหัวข้อสามารถทำคะแนนได้สูงสุดที่เต็ม 100 คะแนน และน้อยสุดที่ 0 คะแนน
ผลสำรวจจัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 13 กันยายน ถึง 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมา จากจำนวนผู้หญิงทั้งหมด 5,094 คน ใน 14 ประเทศในเอเชียแปซิฟิก ไดแก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ เกาหลี สิงคโปร์ ไต้หวัน เวียดนาม และไทย
ตารางโดยรวม
ประเทศ คะแนน
คะแนนโดยรวม หัวข้อ
การบริการการเงิน การวางแผนทาง การลงทุน
แบบพื้นฐาน การเงิน
เอเชียแปซิฟิก 65.7 63.9 74.6 56.7
1 ไทย 73.9 67.9 87.0 69.3
2 นิวซีแลนด์ 71.3 76.7 72.9 55.2
3 ออสเตรเลีย 70.2 75.8 69.0 58.3
4 เวียดนาม 70.1 65.4 82.8 62.7
5 สิงคโปร์ 69.4 70.0 80.4 51.5
6 ไต้หวัน 68.7 63.4 82.4 61.3
7 ฟิลิปปินส์ 68.2 66.6 79.2 55.6
8 ฮ่องกง 68.0 71.0 67.8 60.9
9 อินโดนีเซีย 66.5 62.1 79.1 58.6
10 มาเลเซีย 66.0 64.3 75.0 56.6
11 อินเดีย 61.4 58.8 67.6 58.9
12 จีน 60.1 54.4 73.3 54.4
13 ญี่ปุ่น 59.9 61.7 71.2 38.4
14 เกาหลี 55.9 51.1 65.7 53.1
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลสำรวจต่างๆ ของมาสเตอร์การ์ดที่www.masterintelligence.com
สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ 124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง โทร. 0 2718 1886
อลิซาเบท วงศ์วาสิน lisa@124comm.com ต่อ 216
เอกภพ พันธุรัตน์ eakkapop@124comm.com ต่อ 156