กรุงเทพฯ--7 มี.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง
40 ประเด็นผิดพลาดเกี่ยวกับการใช้กฎหมายแรงงานที่พบบ่อย40 Mistakes of Labor Law Action
อบรมวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2554
ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4
ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค (ฝั่งโฮมโปร) ถนนศรีนครินทร์
Rational and Significance
กฏหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นกฏหมายที่มีประเด็นที่นำไปใช้ และกระทำผิดพลาดกันจำนวนมาก เงื่อนไข และสถานะการณ์หลายๆ อย่างคิดว่าทำได้ แต่กลับทำไม่ได้ ในทางตรงกันข้าม หลายๆ อย่างที่คิดว่าทำไม่ได้ ในทางปฏิบัติกลับทำได้ จึงทำให้ผู้ที่ต้องเกี่ยงข้องกับกฏหมายแรงงานสับสนได้ง่าย จนในหลายๆ ครั้งกลายเป็นไม่กล้าจะปฏิบัติ
เราไม่สามารถตีความของกฏหมายคุ้มครองแรงงานอย่างตรงไปตรงมา เพราะยังมีองค์ประกอบของการทำงาน หรือสภาพแวดล้อมอีกหลายอย่างที่ต้องนำมาพิจารณาด้วย วิธีการเดียวที่จะทำให้เราปฏิบัติ หรือใช้กฏหมายได้อย่างถูกต้องมากที่ที่สุด คือ การศึกษาคดี และการตัดสินของศาลที่ผ่านมาให้มากที่สุด
40 ประเด็นผิดพลาดเกี่ยวกับการใช้กฎหมายแรงงานที่พบบ่อย เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการตัดสินของศาลที่เกิดขึ้นไปแล้ว และนำมาอธิบายโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฏหมายคุ้มครองแรงงาน อย่างชัดเจน ผู้ที่เข้าสัมมนา สามารถทำความเข้าใจได้โดยง่าย จึงจะเป็นประโยชน์ทั้งนายจ้าง และลูกจ้างไปพร้อมกัน เพื่อใช้ในการร่วมมือกันสร้างความมั่นคงให้กับองค์กรในอนาคต โดยลดความขัดแย้งที่ไม่จำเป็นออกไป
Training Schedule
08.30 น. — 09.00 น. ลงทะเบียน/เปิดการอบรม
09.00 น. - 16.30 น.
1. การลงโทษอย่างไม่เหมาะสม จึงรักษาลูกจ้างที่ดีไม่ได้
2. เล่นการพนันนอกสถานที่ สามารถทำโทษได้แต่ไม่ทำ
3. ลูกจ้างมีใบรับรองแพทย์ เป็นหลักฐานว่าป่วย บอกเลิกจ้างได้
4. เงื่อนไขการเลิกจ้างลูกจ้างที่หย่อนสมรรถภาพในการทำงาน
5. เงินที่ลูกจ้างได้จากลูกค้า ที่ให้เอง กับอำนาจเลิกจ้าง
6. ลูกจ้างทำเงินขาดบัญชีเล็กน้อย เลิกจ้างได้
7. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไปดื่มสุราในเวลาทำงาน อาจจะไม่ใช่ความผิดร้ายแรง
8. ลูกจ้างร่วมกับบุคคลภายนอกชิงทรัพย์ลูกค้า กลับเลิกจ้างไม่ได้
9. ลูกจ้างมีผลงานต่ำกว่ามาตรฐาน ทำไมเลิกจ้างไม่ได้
10. ข้อสัญญาจ้าง ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หากลูกจ้างแปลผิดพลาดอาจจะต้องยอมรับ
11. ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุก่อนลูกจ้างชายไม่ได้
12 .การยุบหน่วยงาน เลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชย และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า อาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย
13. ลูกจ้างเฉื่อยงาน แต่เลิกจ้างไม่ได้
14. งานรับเหมาช่วง งานรับเหมาก่อสร้าง อาจจะไม่ใช่งานครั้งคราว
15. ลูกจ้างเป็นผู้ลงนามในใบลาออกจริง กลายเป็นกรณีเลิกจ้าง
16. นายจ้างมีสัญญาจ้างทดลองงาน แต่กลับเลิกจ้างไม่ได้
17. นายจ้างจ่ายเงินสมทบเกินหน้าที่เสมอ
18. ข้อตกลงการจ่ายเงินรางวัลประจำปี ของฝ่ายลูกจ้างและฝ่ายนายจ้าง อาจใช้ไม่ได้
19. นายจ้างงดจ่ายค่าจ้าง หรือตัดค่าจ้างของลูกจ้างในวันที่ลูกจ้างขาดงาน หรือละทิ้งหน้าที่ไม่ได้
20. เงินจ่ายที่ไม่ใช่เงินเดือน ต้องนำมารวมกับเงินเดือน เพื่อคำนวณจ่ายเป็นค่าชดเชย
21. นายจ้างมีงานเร่งด่วน นายจ้างไม่มีอำนาจสั่งให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา วันหยุด
22. ลูกจ้างไม่ลาหยุดพักผ่อนตามประกาศ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง
23. ลูกจ้างทำความผิดจริง จึงสั่งลงโทษให้พักงานโดยงดจ่ายค่าจ้าง ทำไม่ได้
24. ค่าล่วงเวลาแบบเหมาจ่ายให้รายเดือนมีปัญหา
25. ผู้ว่าจ้างจ่ายค่าว่าจ้างให้ผู้รับจ้างตามผลสำเร็จของงาน เป็นสัญญาจ้างแรงงาน
26. ผู้ว่าจ้างให้ผู้รับจ้างทำงานโดยอิสระ ศาลให้เป็นสัญญาจ้างแรงงาน
27. เจ้าของบ้านว่าจ้างช่างมาปลูกสร้างบ้าน ศาลถือเป็นจ้างแรงงาน
28. ลูกจ้างทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้นายจ้าง แต่กลับไม่ต้องชำระหนี้
29. การเลิกจ้างลูกจ้างในระหว่างการทดลองงาน อาจเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
30. การเลิกจ้างจากการปรับโครงสร้างขององค์กร เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
31. นายจ้างจ่ายค่าจ้างตอนสิ้นเดือนตามปกติให้แก่ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างไม่ได้
32. การโอนลูกจ้างไปสังกัดบริษัทในเครือ โดยลูกจ้างไม่ได้ตกลงด้วย
33. การลาออกไม่เป็นตามสัญญา งดการออกหนังสือรับรองการผ่านงานไม่ได้
34. สัญญาจ้าง ข้อบังคับฯ ระเบียบ คำสั่งของนายจ้าง ที่ลูกจ้างลงนาม บังคับกับลูกจ้างไม่ได้
35. นายจ้างให้เว้นระยะการจ้างลูกจ้าง แต่ต้องนับอายุงานติดต่อกัน
36. กำหนดเวลาทำงานปกติ วันละ 9 ชม. สัปดาห์ละ 5 วัน ผิดกฎหมายแรงงาน
37 ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องยนต์ที่สั่นสะเทือน งานขับเคลื่อน ติดไปกับยานพาหนะ งานที่เข็นของหนัก
เกิน 15 กก. ไม่ได้
38. ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ร้องขอทำงานในวันหยุด นายจ้างยิยอม แต่มีความผิดทางอาญา
39. ไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างรายวัน ในวันหยุดตามประเพณี วันหยุดพักผ่อนประจำปี มีความผิดตามกฎหมาย
40. จ่ายค่าจ้างในวันที่ไม่ได้หยุดพักผ่อนตามส่วน ทำไมจึงถือว่าทำผิด
Instructor
อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์
- อดีตประธานผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลาง
- ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงานฯลฯ
Registration Fee
ท่านละ 3,200 บาท รวม ภาษี 7 % = 3,424 บาท
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238
บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 ถนนสามวา แขวงบางชัน เขตคลองสามวากรุงเทพ ฯ 10510
How to Apply
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือ
แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231
E-mail: ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
Payment Method
เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ
โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2
แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด)
Notice of Cancellation
ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน
Remark
การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437)