พูดคุยเกี่ยวกับ "ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" ในสังคมเมือง

ข่าวทั่วไป Wednesday March 9, 2011 13:28 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 มี.ค.--ซินโนเวต เป็นเรื่องที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าในยุคปัจจุบัน เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร ผู้บริโภคถูกกระหน่ำด้วยข่าวสารอย่างต่อเนื่อง ในเรื่องของ "ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" และการมีวิถีชีวิตอย่างยั่งยืนที่เราไม่เคยตระหนักเรื่องดังกล่าวมาก่อน แม้ว่าคนจำนวนมากพยายามที่จะให้คำจำกัดความที่แตกต่างกันระหว่าง "ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม" และ "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ในการดำรงชีวิต บ่อยครั้งที่คำสองคำนี้มักจะใช้แทนกัน แต่แท้จริงแล้วอะไรคือแนวความคิดที่ถูกต้อง ที่ผู้บริโภคควรจะเข้าใจอย่างแท้จริง หลายบริษัทยังมีคำถามในใจว่า "ผู้บริโภคมีความพร้อมและเข้าใจเรื่องดังกล่าวมากกว่าเพียงแค่หลอดไฟประหยัดพลังงานหรือไม่" ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการประเภทไหน ที่มีโอกาสที่ดีในการนำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม? และ"การใช้กลยุทธ์ในการขายโดยเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมีความรุนแรงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับหลายปีก่อนหรือไม่" จากผลสำรวจเบื้องต้นที่ดำเนินการสำรวจโดย บริษัท ซินโนเวต ซึ่งเป็นวิจัยการตลาดในประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ "การพัฒนาการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของคนกรุงเทพฯ" เมื่อเดือนกันยายน 2553 พบว่า 74% ของผู้ตอบแบบสอบถามในกรุงเทพฯ ตอบว่าด้านปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (ยกตัวอย่างเช่น ภาวะโลกร้อน, การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และอื่นๆ) คิดว่าเป็นปัญหาแรกของโลกที่มีความสำคัญ และต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ตามด้วยปัญหาทางเศรษฐกิจ 64% และค่าใช้จ่ายสำหรับพลังงานเชื้อเพลิง 35% อย่างไรก็ตาม เมื่อคำถามเดียวกันนี้ได้ถูกสอบถามในระดับประเทศ (ประเทศไทย) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกลับอยู่ในอันดับที่ 5 คิดเป็น 24%, ตามหลังปัญหาทางการเมือง 70%, ปัญหาเศรษฐกิจ 64%, ปัญหาด้านการศึกษา 49% และปัญหาความยากจน 32% ดังนั้นข้อมูลนี้สื่ออะไรให้กับบริษัทที่มุ่งประชาสัมพันธ์ในเรื่อง "เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม"บ้าง เมื่อกล่าวถึงระดับของการตระหนักรับรู้เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมสูงถึง 70%, ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมีเหตุผลและหลักฐานที่สนับสนุนให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนักมากยิ่งขึ้น แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีอุปสรรคใหญ่ๆ อยู่ 2 ปัจจัยในการที่ผู้บริโภคจะนำไปปฏิบัติ ปัจจัยแรกเป็นปัจจัยที่เกิดจากความตั้งใจส่วนบุคคล จากการสำรวจข้างต้นที่กล่าวถึงจะเห็นว่า ผู้บริโภคมีความตั้งใจที่จะลดการทำลายสิ่งแวดล้อมสูงถึง 73% (จากการแสดงความเห็นในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งและค่อนข้างเห็นด้วย) และมีพฤติกรรมการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์ของผู้บริโภค (อาทิเช่น ขวดน้ำดื่ม, กล่องกระดาษ, หนังสือพิมพ์) ถึง 70%, และมีเพียง 25% ของผู้ตอบแบบสอบถามเหล่านี้มีความพึงพอใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ใช้แล้ว, ผลิตภัณฑ์มือสอง หรือผลิตภัณฑ์รีไซเคิล และไม่ต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาใหม่ นั่นหมายถึงผู้บริโภคยังคงพิถีพิถันในการเลือกสินค้า แต่อย่างไรก็ตามถ้าเสียเวลาในการซื้อผลิตภัณฑ์ (เช่น เวลาในการค้นหาสินค้า) และค่าใช้จ่าย (ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์- switching cost ) ก็จะมีผลกระทบเชิงลบต่อพฤติกรรมที่แท้จริงของผู้บริโภค เสียงสะท้อนของผลวิจัยดังกล่าว 80%ของผู้ตอบแบบสอบถามยืนยันว่าพวกเขาเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงานหากผลิตภัณฑ์นั้นสามารถลดค่าใช้จ่ายมากกว่าในระยะยาว ประการที่สอง ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับแนวความคิดผลิตภัณฑ์สีเขียว ท่ามกลางผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้พลังงาน, จากการสำรวจจากผู้บริโภคทำให้พบว่า ห้ารายการหลักที่ผู้บริโภคคำนึงถึงผลิตภัณฑ์สีเขียว ได้แก่ ตู้เย็น 95%, คอมพิวเตอร์ 92%, เครื่องซักผ้า 87%, เครื่องปรับอากาศ 78% และเครื่องทำน้ำอุ่น 56% ดังนั้นผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะได้ประโยชน์และคุณค่าในการเสนอการประหยัดประพลังงาน (เกี่ยวกับระบบการทำงาน) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ด้านอารมณ์ความรู้สึก) มากกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากการศึกษายังแสดงให้เห็นว่า ยิ่งผลิตภัณฑ์ที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้บริโภคมากก็จะส่งผลให้ ผู้บริโภคมีการพิจารณาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้าน "ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" การผูกพันกับแบรนด์ แต่ที่เห็นชัดคือ ความสำเร็จในการนำ "ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ก็ยังคงความแตกต่างกันไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์ เมื่อพิจารณาทุกอย่าง แนวความคิดการรักษาสิ่งแวดล้อมยังต้องใช้เวลาอีกนาน แต่เนื่องจากความสนใจขณะนี้ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เราควรจะใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ให้มากที่สุด ซึ่งหากพูดง่ายๆก็คือ ขณะนี้ไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการนำข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภคมาปรับใช้ในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการโดยให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุดโดยให้มีผลกระทบกับผู้บริโภคน้อยที่สุด ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมด้านข่าวประชาสัมพันธ์ กรุณาติดต่อ คุณดลธชา ทิพย์ชาญดำรง บริษัท ซินโนเวต (ประเทศไทย) จำกัด โทร: 02 237 9262 ต่อ 272 อีเมล์ : dontacha.tipcharndumrong@synovate.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ