กรุงเทพฯ--17 มี.ค.--สสวท.
พร้อมแล้วมหกรรมรวบรวมโครงงาน งานวิจัยวิทยาศาสตร์ของนักเรียน นิสิต นักศึกษาทุนต่าง ๆ กว่า 400 เรื่องในงาน วทท. เพื่อเยาวชนครั้งที่ 6 18 — 19 มีนาคมนี้ที่ไบเทค
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัด การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 6
(งาน วทท. เพื่อเยาวชน ครั้งที่ 6) ในวันที่ 18-19 มีนาคม 2554 ณศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพ ฯ การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเยาวชน ครั้งที่ 6 (งาน วทท. เพื่อเยาวชน ครั้งที่ 6) จัดขึ้นในวันที่18 — 19 มีนาคม 2554 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพ ฯ
ภายในงานมีการนำเสนอผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีของนักเรียนนิสิต นักศึกษาทุนต่างๆ จำนวน 451 เรื่อง ประกอบด้วย การนำเสนอผลงานแบบบรรยาย 193 เรื่องและนำเสนอแบบโปสเตอร์ 228 เรื่อง และยังมีการบรรยาย ประชุมปฏิบัติการที่น่าสนใจต่าง ๆ มากมายเช่น การบรรยาย “วิทยาศาสตร์ลวงโลก (Pseudo Science)” ของ ผศ. ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์การอภิปรายพิเศษเรื่อง “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอนาคต” โดย รศ. ดร.อภิชาติ วรรณวิจิตรผศ. ดร.ยอดเยี่ยม ทิพย์สุวรรณ์ ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย การบรรยายเรื่อง “สนุกกับการดูเมฆและปรากฏการณ์บนท้องฟ้า” โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ การบรรยายพิเศษ เรื่อง “คุณธรรมและจริยธรรมของนักวิจัย” โดย ศ. ดร. อังศุมาลย์ จันทราปัตย์ ประชุมเจรจาสร้างความร่วมมือด้านวิชาการระหว่าง โรงเรียนไทย-ญี่ปุ่น การบรรยาย ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการนำเสนอโดย อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล อบรมปฏิบัติการ “การเขียนบทความวิทยาศาสตร์และการนำเสนออย่างมีคุณภาพ” โดย ชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ กิจกรรมวัดแววอัจฉริยภาพโดย ผศ. ดร.อุษณีย์ อนุรุทธวงศ์ อบรมปฏิบัติการหนังสือวิทยาศาสตร์ทำมือ โดยชมรมนักเขียนและผู้จัดทำหนังสือวิทยาศาสตร์ แนะแนวทุนการศึกษาในต่างประเทศ ระดับปริญญาตรีโดย ผู้แทนจาก British Council กิจกรรม : สนุกกับวิทยาศาสตร์จากลายนิ้วมือ นักสืบตัวน้อยโดย ดร.อภิสิทธิ์ ธงไชย และ ดร.สิทธิชัย วิชัยดิษฐ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับภาพยนตร์วิทยาศาสตร์โดย อ.รักษพล ธนานุวงศ์ ผู้สนใจดูรายละเอียดและสมัครได้ที่เว็บไซต์ www3.ipst.ac.th/STT4YOUTH