กรุงเทพฯ--17 มี.ค.--พม.
กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ จัดงานวันสตรีสากล ประจำปี 2554 ภายใต้แนวคิด “ศตวรรษใหม่สตรีสากล เพื่อสังคมเสมอภาค” พร้อมมอบโล่เชิดชูเกียรติสตรี บุคคล หน่วยงานที่ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม ๓๒ รางวัล
นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน ในพิธีเปิดงานวันสตรีสากล ประจำปี 2554 และมอบโล่เกียรติยศ และโล่ประกาศเกียรติคุณ สตรี บุคคล และหน่วยงานดีเด่น เพื่อเชิดชูเกียรติที่ทำคุณประโยชน์ต่อสังคม พร้อมแสดงเจตนารมณ์ในการส่งเสริมสถานภาพของสตรี ความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย และความสมานฉันท์ของคนในชาติ ณ ห้องรอยัล จูบีลี บอลรูม อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี โดยมี นายศุภฤกษ์ หงษ์ภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว และข้าราชการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บุคคล และ องค์กรที่ดำเนินงานด้านสตรีให้การต้อนรับ
นายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าวว่า องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันสตรีสากล และเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกจัดกิจกรรมเพื่อร่วมเฉลิมฉลองและรำลึกถึงการต่อสู้ของสตรี เพื่อให้ได้มาซึ่งความเสมอภาค การพัฒนา และสันติภาพ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพ และนำไปสู่การทบทวนความก้าวหน้าในการดำเนินงานในเรื่องต่างๆ เพื่อสิทธิที่เท่าเทียมกันของหญิงและชายในทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ตลอดจนสิทธิมนุษยชนของสตรีในประเทศต่างๆ ประเทศไทยในฐานะสมาชิกสหประชาชาติที่ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติตามพันธสัญญาต่อเวทีโลก โดยมีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นองค์กรหลักที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับบทบาทและสถานภาพสตรี และการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างหญิงชาย จึงได้จัดกิจกรรม “วันสตรีสากล” ประจำปี 2554ขึ้น ภายใต้แนวคิด “ศตวรรษใหม่สตรีสากล เพื่อสังคมเสมอภาค” (The International Women’s Day Centenary : Towards the Centenary of Gender Equality)
โดยในปีนี้ นับเป็นโอกาสอันดีในการเริ่มต้นก้าวแรกกับศตวรรษใหม่ของการพัฒนาสตรีและการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและหน่วยงานทั่วไปได้ร่วมรับรู้ ร่วมเฉลิมฉลอง และร่วมแรงร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสร้างแรงบันดาลใจ และกำหนดทิศทางในการสร้างสรรค์ความเสมอภาคต่อไปในอนาคต เพื่อส่งเสริมให้ทุกคน ทั้งสตรี รวมถึงบุรุษให้ได้มีโอกาสเท่าเทียมกันในการใช้ชีวิตที่มีความสมบูรณ์และยั่งยืนโดยปราศจากประเด็นทางเพศ เพราะทั้งสตรีและบุรุษต่างก็ควรได้รับประโยชน์จากการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้งานวันสตรีสากล ประจำปี 2554 ที่จัดโดยสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มีกิจกรรมมากมาย ที่ส่งเสริมการพัฒนาสตรีและความเสมอภาคหญิงชาย เช่นการประชุมสมัชชาสตรีแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๔ โดยได้มีการอภิปรายเรื่อง “ผลการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรี(CSW) สมัยที่๕๕ และ การระดมความคิอดเห็นในการจัดทำร่างแผนพัฒนาสตรี ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่๑๑ (พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๙) และพิธีมอบโล่เกียรติยศให้กับบุคคลเกียรติยศดีเด่นด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและการคุ้มครองสิทธิสตรี และโล่ประกาศเกียรติคุณให้กับสตรี บุคคล และหน่วยงานองค์กรดีเด่นสาขาต่างๆในปีนี้ มีจำนวน ๑๘ สาขา และสาขาพิเศษ ๑ สาขา รวม ๓๒ รางวัล ได้แก่
(๑) บุคคลดีเด่นด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและการคุ้มครองสิทธิสตรี
- ประเภทบุคคลภาครัฐ ได้แก่ นายธวัชชัย ไทยเขียว อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
- ประเภทบุคคลภาคเอกชน ได้แก่ นางบุปผาวรรณ อังคุระษี ประธานศูนย์เพื่อนหญิงอำนาจเจริญ
(๒) สตรีดีเด่นในเวที/เครือข่ายระดับสากล ได้แก่ ท่านผู้หญิงชนัตถ์ ปิยะอุย ที่ปรึกษาสหพันธ์สมาคมสตรีนักธุรกิจและวิชาชีพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์
(๓) สตรีดีเด่นด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ นางสาวสุริยา ปิ่นหิรัญ คณะกรรมการเครือข่ายป่าชุมชนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี
(๔) สตรีดีเด่นด้านการพัฒนาชุมชน
- กรุงเทพมหานคร ได้แก่ นางสาวสุภัค สุดไพรักษ์ รองประธานคณะกรรมการบริหารชุมชนเสนานิคม ๒ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
- ภาคกลาง ได้แก่ นางพรทิพย์ ตั้งกีรติ ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ นางชำเลือง แป้นรินทร์ ผู้ใหญ่บ้านบ้านหนองตาเข้ม ตำบลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
- ภาคใต้ ได้แก่ นางผกาพันธุ์ สรรค์สวาสดิ์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสตูล
- ภาคเหนือ ได้แก่ นางพัฒน์นรี ธนะพิมพ์เมธา ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดนครสวรรค์
(๕) สตรีดีเด่นด้านการส่งเสริมสันติภาพ ได้แก่ นางแมะแย สะอิ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมะนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
(๖) สตรีดีเด่นด้านการส่งเสริมความมั่นคงของประเทศ
- ประเภทข้าราชการประจำการ ได้แก่ พันตรีหญิง ผุสดี เต็มยอด ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า
- ประเภทอาสาสมัคร ได้แก่ อาสาสมัครทหารพรานหญิง สุดารัตน์ บุญรอด เจ้าหน้าที่ครูฝึกหน่วยเฉพาะกิจ กรมทหารพรานที่ ๑๒
(๗) นักการเมืองท้องถิ่นสตรีดีเด่น
- ประเภทองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ นางบังอร วิลาวัลย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
- ประเภทเทศบาล ได้แก่ นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
- ประเภทองค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ นางสาวศิริพร ปัญญาเสน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
(๘) พนักงานสอบสวนหญิงดีเด่น ได้แก่ ร้อยตำรวจโทหญิง มลฤดี สมมารถ พนักงานสอบสวน (สบ ๑) สถานีตำรวจนครบาลพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
(๙) นักธุรกิจสตรีดีเด่น
- ส่วนกลาง ได้แก่ นางกมลทิพย์ เมธีธนวิจิตร์ ประธานกรรมการบริษัท บี เอ็น เอส เอส สตีลกรุ๊ป จำกัด
- ส่วนภูมิภาค ได้แก่ นางดวงตา ทองโสภิต ประธานบริษัท ขอนแก่นโฮเต็ล จำกัด
(๑๐) แรงงานสตรีดีเด่น ได้แก่ นางพรพิมล นีละโยธิน ผู้จัดการฝ่ายสำนักงาน บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัลจำกัด สาขาปิ่นเกล้า
(๑๑) สตรีดีเด่นด้านการปกป้องสิทธิของตนเอง ได้แก่ นางสาวหัสยา เพ็ชรหิน
(๑๒) ยุวสตรีดีเด่น ได้แก่ นางสาวกรรณิกา พุ่มจำปา นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ สาขาวาริชศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
(๑๓) สื่อมวลชนสตรีดีเด่น
- ประเภทสื่อวิทยุกระจายเสียง ได้แก่ นางอรวรรณ (กริ่มวิรัตน์กุล) ชูดี ผู้สื่อข่าวอาวุโสกองบรรณาธิการข่าวการเมือง สำนักข่าวไทย
- ประเภทสื่อวิทยุโทรทัศน์ ได้แก่ นางยุพา (เพ็ชรฤทธิ์) รัตนจันทร์ ผู้ควบคุม การผลิตและพิธีกร บริษัท ป่าใหญ่ ครีเอชั่น จำกัด
(๑๔) หน่วยงานภาครัฐดีเด่นด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชาย ได้แก่ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
(๑๕) หน่วยงานภาคเอกชนดีเด่นด้านการส่งเสริมความเสมอภาคหญิงชายและการคุ้มครองสิทธิสตรี ได้แก่ สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี ในพระอุปถัมภ์พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชา ทินัดดามาตุ
(๑๖) หน่วยงานองค์กรดีเด่นด้านการส่งเสริมสันติภาพ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
(๑๗) ชุมชนดีเด่นด้านการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิสตรี ได้แก่
- ชุมชนซอยพระเจน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
- ชุมชนบ้านเกาะแก้ว ตำบลวังไผ่ อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
(๑๘) สื่อสารมวลชนดีเด่นด้านการส่งเสริมศักยภาพสตรีและความเสมอภาคหญิงชาย
- ประเภทรายการวิทยุ ได้แก่ รายการผู้หญิงหลายมุม สถานีวิทยุ อสมท. จังหวัดนครราชสีมาFM ๙๕.๗๕ MHz
- ประเภทรายการโทรทัศน์ ได้แก่ รายการลิฟวิ่งมันตรา สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก
- ประเภทละครโทรทัศน์ ได้แก่ ละครเรื่องน้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์ ตอนดอกไม้ยังไม่บาน สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง ๓
และ รางวัลสตรีผู้ช่วยเหลือสังคมดีเด่น (รางวัลพิเศษประจำปี ๒๕๕๔) ได้แก่ นางธิติมายุราวรรณ
นอกจากการมอบโล่ประกาศเกียรติคุณแล้ว ภายในงานยังมีการปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ศตวรรษใหม่สตรีสากล เพื่อสังคมเสมอภาค” โดย นางกานดา วัชราภัย อดีตรองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งปัจจุบันได้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก
รวมทั้งกิจกรรมการเสวนา และเปิดตัวหนังสือเปิดตัวหนังสือ “คู่มือการจัดการภัยพิบัติ : มุมมองมิติหญิงชาย” และลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) “แนวทางการจัดการภัยพิบัติ : มุมมองมิติหญิงชาย” ระหว่าง สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การเสวนาเรื่อง “มิติหญิงชายกับการจัดการภัยพิบัติเชิงบูรณาการ” โดย นายศุภกร ชินวรรโณ ที่ปรึกษากลุ่มวิชาการด้านทรัพยากรน้ำ (นักวิจัย) นางสุภาภรณ์ พรรณราย ประธานเครือข่ายสตรีประมงพื้นบ้าน นางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นายศุภฤกษ์ หงษ์ภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว นายศรีสมบัติ พรประสิทธิ์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำเนินรายการโดย นางสาวทวินันทร์ คงคราญ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 025590601 mynameis_nung