เอชเอสบีซีเผยผู้จัดการกองทุนทั่วโลก เล็งตลาดหุ้นอเมริกาเหนือน่าลงทุน

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 29, 2011 14:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 มี.ค.--ธนาคารเอชเอสบีซี ***ผู้จัดการกองทุนจำนวนมากขึ้นที่ให้ความสนใจปานกลางในตลาดหุ้นเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) และตลาดหุ้นจีน*** ***ผู้จัดการกองทุนทุกรายมองพันธบัตรเอเชียน่าสนใจ*** ธนาคารเอชเอสบีซี เผยผลสำรวจความคิดเห็นบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำล่าสุด พบว่า ผู้จัดการกองทุนทุกรายเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นอเมริกาเหนือในไตรมาส 1/11 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่มีเพียงร้อยละ 25 ที่เห็นว่าตลาดหุ้นอเมริกาเหนือน่าลงทุน ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) จากไตรมาสก่อนที่ราวร้อยละ 75 เคยมองว่าน่าลงทุน ลดเหลือร้อยละ 50 ในไตรมาส 1/11 โดยร้อยละ 43 ของผู้จัดการกองทุนมองว่าตลาดหุ้นจีนมีความน่าสนใจปานกลาง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 33 ในไตรมาส 4/10 เนื่องจากมีความวิตกกังวลว่ารัฐบาลจีนจะดำเนินมาตรการที่เข้มงวดและใช้นโยบายควบคุมการปล่อยสินเชื่อ มร.บรูโน ลี ผู้อำนวยการบริหาร แผนกบริหารความมั่งคั่ง ฝ่ายบุคคลธนกิจ ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า ผลสำรวจความคิดเห็นผู้จัดการกองทุน ชี้ว่าความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้เปลี่ยนไปอย่างมาก โดยผู้จัดการกองทุนทุกรายเห็นว่าตลาดหุ้นน่าลงทุน แต่ไม่มีรายใดเลยที่แนะลงทุนในพันธบัตรหรือถือครองเงินสด ล่าสุดผู้จัดการกองทุนกำลังให้ความสนใจในตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ เนื่องจากเศรษฐกิจกำลังปรับตัวดีขึ้น มีการควบรวมกิจการหลายแห่ง และรายงานผลการดำเนินงานของบริษัทที่น่าจะมีทิศทางดีขึ้น ในขณะเดียวกัน ผู้จัดการกองทุนต่างก็ลังเลที่จะลงทุนในตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) เนื่องจากกังวลปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค และเห็นว่าตลาดหุ้นจีนเริ่มคลายความร้อนแรงลง เนื่องจากผลพวงเรื่องมาตรการควบคุมภาวะเงินเฟ้อ “อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 1/11 ผู้จัดการกองทุนทุกรายเห็นว่าตลาดพันธบัตรเอเชียน่าลงทุน เทียบกับไตรมาสก่อนที่มีเพียงร้อยละ 60 ที่เห็นว่าน่าสนใจ สะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่มีต่อปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเอเชีย และฐานะการเงินที่แข็งแกร่งของรัฐบาล ภาคอุตสาหกรรม และบริษัทเอกชนที่ออกพันธบัตรในภูมิภาคนี้ สถานการณ์ในตะวันออกกลาง และญี่ปุ่น อาจเป็นชนวนให้เกิดความไม่แน่นอนและความผันผวนของตลาด ซึ่งจะไม่ส่งผลดีสำหรับไตรมาสแรก แต่โดยรวมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะยาวยังอยู่ในเกณฑ์ดี” กลยุทธ์การจัดสรร ลดน้ำหนักการลงทุน คงน้ำหนัก เพิ่มน้ำหนักการลงทุน เงินลงทุนไตรมาส 1/2011 (Underweight) การลงทุน(Neutral) (Overweight) หุ้น 0% (0%) 0% (50%) 100% (50%) พันธบัตร 43% (14%) 57% (86%) 0% (0%) เงินสด 71% (57%) 29% (29%) 0% (14%) หมายเหตุ: ตัวเลขในวงเล็บเป็นผลการสำรวจในไตรมาส 4/2010 ธนาคารเอชเอสบีซีสำรวจและวิเคราะห์ความคิดเห็นของบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลกรวม 12 แห่ง1 เป็นประจำทุกไตรมาส โดยวิเคราะห์ปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ (funds under management: FUM) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดตราสารต่างๆ (asset allocation views) และกระแสเงินลงทุนทั่วโลก (global money flows) ทั้งนี้ประมาณการกระแสเงินลงทุนสุทธิ (net money flow estimates)2 คำนวณจากความเคลื่อนไหวของปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ เปรียบเทียบกับความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดตราสารประเภทเดียวกัน ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาส 4/2010 ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุนทั้ง 12 แห่งที่ร่วมในการสำรวจครั้งล่าสุดอยู่ที่ 3.98 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 16.4 ของปริมาณเงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก (total global FUM)3 กระแสเงินลงทุนทั่วโลก ในไตรมาส 4/10 ประเภทตลาด และตราสาร สิ้นไตรมาส 4/2010 สิ้นไตรมาส3/2010 ตลาดหุ้นจีน +9.6% -1.0% ตลาดหุ้นเกิดใหม่ +5.9% +1.9% ตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) -0.3% +5.2% ตลาดหุ้นยุโรป รวมตลาดสหราชอาณาจักร -0.9% -3.8% ตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ -3.6% -2.9% ตลาดหุ้นทั่วโลก -4.7% -3.9% ตลาดหุ้นญี่ปุ่น -7.7% -1.3% ตลาดพันธบัตรทั่วโลก +11.6% +9.4% ตลาดพันธบัตรเกิดใหม่/ให้ผลตอบแทนสูง +7.2% +10.9% ตลาดพันธบัตรยุโรป รวมตลาดสหราชอาณาจักร -0.8% -4.3% ตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกา -0.9% +2.8% ผลการสำรวจพบว่าเมื่อสิ้นไตรมาส 4/2010 ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการเพิ่มขึ้น 98.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.54 จากไตรมาส 3/2010 โดยกองทุนเกือบทั้งหมดมีปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ยกเว้นกองทุนที่ลงทุนในตลาดเงิน ส่วนกองทุนที่ลงทุนในตลาดเงินมีปริมาณเงินลดลง 33.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่กองทุนหุ้นมีปริมาณเงินลงทุนเพิ่มขึ้นมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้น 79.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่กองทุนพันธบัตรมียอดเงินสูงขึ้น 23.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ กระแสเงินลงทุนสุทธิในไตรมาส 4/2010 เทียบเป็นร้อยละของปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมการสำรวจ ในไตรมาส 4/10 พบว่า กระแสเงินลงทุนไหลเข้าในภูมิภาคที่เติบโตเร็ว กองทุนหุ้นที่ลงทุนในตลาดหุ้นจีน มีปริมาณเงินไหลเข้ามูลค่า 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามการเติบโตเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ส่วนกองทุนหุ้นที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่ มีปริมาณเงินไหลเข้าอย่างมาก มูลค่า 5.5 พันล้านเหรียญ ส่วนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยต่ำ จึงมีเงินลงทุนไหลเข้าตลาดพันธบัตรทั่วโลก มูลค่า 16.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดพันธบัตรเกิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง มีเม็ดเงินไหลเข้ามูลค่า 7.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 26 จากปริมาณเงินไหลเข้าของไตรมาสก่อน เนื่องจากส่วนต่างผลตอบแทนที่น้อย ทำให้ตลาดเติบโตได้ไม่ดีนัก มร. ลี กล่าวว่า “ผลสำรวจในไตรมาสที่แล้วชี้ว่าผู้จัดการกองทุนเห็นว่าตลาดเกิดใหม่น่าลงทุน การไหลของเงินลงทุนในไตรมาส 4/10 แสดงถึงกลยุทธ์การจัดสรรเงินลงทุนไปยังตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากตลาดหุ้นในเอเชีย แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) และตลาดหุ้นจีนมีโอกาสเติบโตได้ดี และในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำต่อไป นักลงทุนยังคงลงทุนในตลาดพันธบัตร” “ธนาคารจัดทำสำรวจเพื่อช่วยให้นักลงทุนตื่นตัวกับโอกาสการลงทุนที่จะเกิดขึ้น และปรับพอร์ตการลงทุนให้กระจายอย่างสมดุลตามเป้าหมายการลงทุน และระดับการยอมรับความเสี่ยงของนักลงทุนแต่ละราย HSBC Fund Flow Tracker ไตรมาส 4/10 ธนาคารเอชเอสบีซีได้จัดทำ HSBC Fund Flow Tracker ซึ่งเป็นดัชนีวัดกระแสเงินลงทุนสะสมทั้งหมดเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ไตรมาส 3/2006 เป็นต้นมา พบว่าในภาวะที่ตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนมาก จึงมีปริมาณเงินไหลออกจากกองทุนหุ้นอย่างต่อเนื่อง ณ สิ้นไตรมาส 4/2010 กองทุนที่ลงทุนในหุ้นมีกระแสเงินไหลออกสุทธิรวม 115.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับยอดเงินไหลออกสุทธิ 64.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่แล้ว ปริมาณเงินไหลออกที่เพิ่มขึ้นมาจากเงินลงทุนที่ไหลออกจากตลาดหุ้นอเมริกาเหนือเป็นหลัก เนื่องจากนักลงทุนที่ระมัดระวังฉกฉวยหาผลกำไรจากผลการดำเนินธุรกิจรายไตรมาสที่ยอดเยี่ยม - ปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิในตลาดหุ้นจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 มาอยู่ที่ระดับ 9.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 4/10 (เทียบกับ 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 3/10) - ปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิในตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 มูลค่า 34.3 พันล้านเหรียญในไตรมาส 4/10 (เทียบกับ 28.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 3/10) - ปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิในตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก (ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น) ลดลงเล็กน้อยจาก 13.9 พันล้านเหรียญสหรัฐมาอยู่ที่ระดับ 13.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ - ปริมาณเงินไหลออกจากตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ มูลค่า 14.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 1.8 พันล้านเหรียญสหรัฐจากไตรมาสก่อน ส่วนกองทุนพันธบัตรมีปริมาณเงินไหลเข้าสะสม มูลค่า 294.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในไตรมาส 4/10 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากไตรมาสก่อนในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และตลาดมีสภาพคล่องสูง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วรนันท์ สุทธปรีดา, สาวิตรี หมวดเมือง โทรศัพท์ 0-2614-4609, 0-2614-4606

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ