กรุงเทพฯ--8 เม.ย.--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม จึงร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ริเริ่มโครงการสาธิตการใช้รถโดยสารที่ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงขึ้นในประเทศไทยภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน เพื่อจะช่วยให้ทราบถึงข้อดี ข้อเสีย รวมถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี ต่อสภาวะแวดล้อมของประเทศไทย โดยคาดว่ารถโดยสารประจำทาง 1,000 คัน จะสามารถเพิ่มการใช้เอทานอลวันละประมาณ 100,000 ลิตรต่อวัน หรือ ลดการใช้ดีเซลถึงประมาณ 60,000 ลิตรต่อวัน “โครงการสาธิตการใช้รถโดยสารขนาดใหญ่ที่ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง (Demonstration Project of Thailand’s First Ethanol Bus)”ซี่งเป็นโครงการนำร่องการใช้เอทานอลในรถประจำทางซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยเป็นก้าวสำคัญที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ในทุกๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานในระดับประเทศ เนื่องจากสามารถผลิตเอทานอลเป็นพลังงานขึ้นได้ในประเทศ ช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ ตามเป้าหมายของรัฐบาล ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเอทานอลเป็นผลิตผลทางการเกษตร สามารถหมุนเวียนการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ และการเผาไหม้เอทานอลยังสะอาดกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้นจากการเพาะปลูกและเพิ่มโอกาสทางการตลาดทำให้สามารถขายพืชผลทางการเกษตรในอนาคตได้มากขึ้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พร้อมหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) โครงการสาธิตการใช้รถโดยสารขนาดใหญ่ที่ใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิง โดยในวันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2554 เวลา 9.30-12.00 น. ณ ห้องกมลทิพย์ โรงแรมสยามซิตี้ ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) ซึ่งได้รับความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน 9 หน่วยงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กรมควบคุมมลพิษ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริษัท เพโทรกรีน จำกัด บริษัท สแกนเนีย สยาม จำกัด บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ภายใต้การสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เอกอัครราชทูตสวีเดน ประจำประเทศไทย เป็นประธานสักขีพยานร่วม รูปที่ 2 แสดงตัวแทนหน่วยงานร่วม 9 หน่วยงานจับมือเพื่อแสดงความร่วมมือในการจัดทำโครงการฯ สำหรับรถโดยสารเอทานอล ED95 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท สแกนเนีย จำกัด จะถูกส่งมาจากประเทศสวีเดน มายังอู่ต่อตัวถังอะลูมิเนียมที่ประเทศมาเลเซียเพื่อประกอบตัวถังและติดตั้งระบบปรับอากาศ จากนั้นจะถูกส่งมายังประเทศไทย ประมาณกลางเดือนเมษายน 2554 และทดสอบวิ่งจริงช่วงแรก บนเส้นทางระหว่างวิทยาเขตภายในมหาวิทยาลัย บางมด—บางขุนเทียน ประมาณ 1-2 เดือน จากนั้นจะทดสอบวิ่งในช่วงที่สอง บนเส้นทางของหน่วยงานร่วม องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ประมาณ 1-2 เดือน โดยวิ่งบนเส้นทางของรถโดยสารปรับอากาศ ปอ.21 (มจธ.—จุฬาฯ) ซึ่งระหว่างการทดสอบจะมีการประเมินผลทางเศรษฐศาสตร์และวิศวกรรม เช่น สมรรถนะในการขับขี่ ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และสึกหรอของเครื่องยนต์ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อภาครัฐในการส่งเสริมให้เกิดการใช้เทคโนโลยีเครื่องยนต์เชื้อเพลิงเอทานอลอย่างจริงจัง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://www2.kmutt.ac.th/thai/abt_history/info_outreach/outreach_local/orlocal-11.html