ไอบีเอ็มส่งทีมผู้เชี่ยวชาญทำวิจัยและนำเสนอแผนยุทธศาสตร์ช่วยสร้างเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทางการแพทย์และศูนย์อัจฉริยะด้านอาหาร

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday April 20, 2011 16:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--ไอบีเอ็ม ประเทศไทย โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนของไอบีเอ็มเพื่อช่วยพัฒนาเทศบาลเมืองสำคัญๆทั่วโลก บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่า ทีมผู้บริหารระดับสูงที่มีความเชี่ยวชาญจากหลายประเทศทั่วโลกได้เดินทางเข้ามาทำงานร่วมกับคณะผู้บริหารเมืองเชียงใหม่ เพื่อร่วมกำหนดยุทธศาสตร์ในการสร้างเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทางการแพทย์ (Medical Hub) และศูนย์อัจริยะด้านอาหาร ( Smarter Food systems ) ไอบีเอ็มมีนโยบายที่จะลงทุนในเมืองใหญ่ 100 เมืองใน 3 ปี เพื่อร่วมกันสร้างเทศบาลเมืองนั้นๆ ให้เป็นเมืองอัจฉริยะระดับโลก และเชียงใหม่ได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 24 เมืองที่ไอบีเอ็มจะให้การสนับสนุนในปีนี้ ทีมผู้เชี่ยวชาญจากไอบีเอ็มที่เข้ามาในประเทศไทยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง 5 ท่านจากไอบีเอ็มอเมริกา เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส โดยจะทำงานภายใต้ชื่อ IBM Executive Service Corps ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มลงพื้นที่ทำงานร่วมกับทีมงานชียงใหม่สร้างสรรค์ ( Chiang Mai Creative City Steering Committee ) ทีมงานจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อสำรวจศักยภาพของเมือง เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์ในปัจจุบัน นำมาสร้างแผนงานโดยยึดแม่แบบของสมาร์ทเตอร์ ซิตี้โมเดลที่ไอบีเอ็มทำให้กับเมืองอื่นๆมาแล้ว ทีมผู้บริหารจะใช้เวลาทำงานร่วมกันเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ที่จะทำให้เชียงใหม่บรรลุเป้าหมายหลัก 2 ด้านคือ การสร้างเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ และศูนย์กลางของ Smarter Food จากผลผลิตภาคการเกษตร การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ ไอบีเอ็มจะร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในโครงการนี้ ซึ่งนอกจากคนไข้ในชุมชนทั้งในเมืองและจังหวัดใกล้เคียงจะได้รับบริการด้านการแพทย์ที่มีคุณภาพดีขึ้นแล้ว ยังจะช่วยสร้างเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและคนไข้จากต่างประเทศที่มองหาศูนย์การแพทย์ที่มีมาตรฐานสำหรับเข้ารับการรักษาพยาบาลระยะยาวอีกด้วย การเป็นศูนย์อัจริยะด้านอาหาร โครงการนี้ช่วยทำให้ห่วงโซ่อาหารจากผลผลิตการเกษตร (food supply chain) ทั้งระบบของภาคเหนือดึขึ้น ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรมในระบบจะสามารถประมาณการณ์การเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ดีขึ้น ลดความสูญเปล่าในขั้นตอนต่างๆ มีระบบตรวจสอบแหล่งผลิต รวมถึงการจัดการเรื่องน้ำและความปลอดภัยของอาหารอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้กับเชียงใหม่ทั้งในระดับประเทศและการส่งออกผลผลิตอาหารไปยังต่างประเทศ โดยไอบีเอ็มจะทำโครงการร่วมกับสถาบันวิจัยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เชียงใหม่เป็นหนึ่งใน 24 เมืองที่ได้รับการคัดเลือกจากโครงการไอบีเอ็ม สมาร์ทเตอร์ซิตี้ ชาเลนจ์ (Smarter City Challenge )ในปี 2554 ไอบีเอ็มให้การสนับสนุนเงินลงทุนทางด้านเทคโนโลยีและการบริการแก่โครงการทั้ง 100 เมืองในระยะเวลา 3 ปี เป็นจำนวน 50 ล้านเหรียญ โดยคิดเป็นเงินลงทุนสูงสุดประมาณเมืองละ 400,000 เหรียญ โครงการ Executive Service Corps นี้ถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Peace Corps ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ด้วยความรู้ความสามารถและทักษะทางด้านเทคโนโลยี งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การตลาด การเงิน และการพัฒนาธุรกิจของทีมงานที่เชี่ยวชาญ 100 ทีม และพนักงานกว่า 1,000 คน โครงการเพื่อสังคมที่ไอบีเอ็มจัดทำขึ้นนี้ช่วยสร้างและกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับเมืองที่ได้รับคัดเลือกใน 20 ประเทศมาแล้ว ตั้งแต่เริ่มดำเนินการโครงการในปี 2008 โครงการ Corporate Service Corps นี้ได้พัฒนาการทำงานไปอย่างกว้างขวางและทำงานในเชิงลึกมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงของไอบีเอ็มได้เข้ามาทำงานร่วมกับคณะผู้บริหารเมือง ผู้ประกอบการ ผู้นำทางธุรกิจ และหน่วยงานภาครัฐ ในการคัดสรรความคิดใหม่ๆ และโซลูชั่นที่ดีที่สุดที่จะนำไปสู่ย่างก้าวใหม่ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นของเมืองอย่างยั้งยืน โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษในเรื่องระบบขนส่งมวลชน ความปลอดภัยของประชาชน พลังงาน การศึกษา การสาธารณสุข การจัดการทรัพยากรน้ำ และการพัฒนาเศรษฐกิจ นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “การขยายตัวของเมืองใหญ่ๆเกิดขึ้นทั่วโลก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีรับมือและการบริหารจัดการเมืองให้ดีขึ้น ไอบีเอ็มรู้สึกภาคภูมิและพร้อมที่จะได้เข้าไปช่วยสร้างเชียงใหม่ ให้สำเร็จตามเป้าหมายและสร้างกลยุทธ์ในการเติบโตให้ยั่งยืน เชียงใหม่เป็นเมืองยุทธศาสตร์สำคัญในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ประกอบไปด้วย ไทย จีน พม่าและลาว เป็นเมืองที่มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน มีแผนงานและโครงการต่างๆ ที่ทำขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนควบคู่กับการสร้างความสามารถในการแข่งขันมาตลอด ยุทธศาสตร์แผนงานที่เชียงใหม่จะทำร่วมกับทีมผู้บริหารของไอบีเอ็มในโครงการ Executive Service Corps ครั้งนี้ จะเป็นแม่แบบให้กับเมืองอื่นๆ ในประเทศไทยได้นำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาเมืองให้พร้อมที่จะขยายการเติบโตและรองรับการแข่งขันต่อไป” ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ corporate citizenship initiatives สามารถดูได้ที่เว็บไซท์ http://www.ibm.com/blogs/citizen-ibm. สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ชูจิตต์ วัฒนล้ำเลิศ โทร. 02 273 4306

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ