กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--โตโยต้า มอเตอร์
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนมีนาคม 2554 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 93,008 คัน เพิ่มขึ้น 47.5% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 41,692 คัน เพิ่มขึ้น 80.3% รถเพื่อการพาณิชย์ 51,316 คัน เพิ่มขึ้น 28.5% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 44,106 คัน เพิ่มขึ้น 26.2%
ประเด็นสำคัญ
1. ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคมมีปริมาณการขาย 93,008 คัน สูงสุดเป็นสถิติใหม่ของยอดขายในเดือนมีนาคม ด้วยอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น 47.5% ซึ่งเป็นการเติบโตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถยนต์นั่งที่มีปริมาณการขาย 41,692 คัน เพิ่มขึ้น 80.3% นั้นเป็นยอดจำหน่ายต่อเดือนที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดรถยนต์นั่ง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์นั่งขนาดเล็กและรถยนต์ประหยัดพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น โดยสามารถครองส่วนแบ่งในตลาดรถยนต์นั่งได้มากกว่า 60% ด้านตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 51,316 คัน เพิ่มขึ้น 28.5%
2. ตลาดรถยนต์ไตรมาสแรก มีปริมาณการขาย 238,619 คัน สูงสุดเป็นสถิติใหม่ของยอดขายในไตรมาสแรกด้วยอัตราการเติบโตที่เพิ่มขึ้น 43.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 60.3% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 31.7% สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ดีทั้งจากการขยายตัวในภาคการลงทุน การส่งออกที่ดีขึ้นจากปัจจัยในด้านราคา ประกอบกับการแข่งขันในการปล่อยสินเชื่อรถยนต์ที่เอื้อต่อการตัดสินใจซื้อ ตลอดจนความนิยมอย่างต่อเนื่องในรถยนต์รุ่นใหม่
3. ตลาดรถยนต์ในเดือน เมษายน คาดว่าอยู่ในระดับทรงตัว จากยอดจองที่สูงสุดของการจัดงานมอเตอร์โชว์ การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ รุ่นปรับปรุงโฉม รุ่นพิเศษ ข้อเสนอพิเศษและเงื่อนไขการเช่าซื้อที่หลากหลายจากค่ายรถยนต์ต่างๆ แต่ทั้งนี้เหตุการณ์สึนามิและแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โรงงานผลิตรถยนต์และโรงงานของผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น จำเป็นต้องหยุดการผลิตไประยะหนึ่ง ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มกลับมาเดินเครื่องจักรในการผลิตแล้ว แต่ยังไม่เต็มกำลังการผลิตสูงสุดอาจส่งผลต่อยอดการผลิตและเกิดความล่าช้าในการส่งมอบรถยนต์ให้กับลูกค้าในประเทศไทย ประกอบกับปัญหาอุทกภัยทางภาคใต้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ตลอดจนปัญหาทางการเมืองในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และเป็นปัจจัยกดดันตลาดรถยนต์
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนมีนาคม 2554
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 93,008 คัน เพิ่มขึ้น 47.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 36,140 คัน เพิ่มขึ้น 29.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 16,022 คัน เพิ่มขึ้น 21.9% ส่วนแบ่งตลาด 17.2%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 10,413 คัน เพิ่มขึ้น 64.3% ส่วนแบ่งตลาด 11.2%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 41,692 คัน เพิ่มขึ้น 80.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,881 คัน เพิ่มขึ้น 65.2% ส่วนแบ่งตลาด 41.3%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 9,561 คัน เพิ่มขึ้น 61.1% ส่วนแบ่งตลาด 22.9%
อันดับที่ 3 นิสสัน 6,844 คัน เพิ่มขึ้น 339.0% ส่วนแบ่งตลาด 16.4%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 44,106 คัน เพิ่มขึ้น 26.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 16,988 คัน เพิ่มขึ้น 6.4% ส่วนแบ่งตลาด 38.5%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 14,531 คัน เพิ่มขึ้น 18.2% ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 5,715 คัน เพิ่มขึ้น 153.7% ส่วนแบ่งตลาด 13.0%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 4,295 คัน
โตโยต้า 1,878 คัน- มิตซูบิชิ 1,689 คัน - อีซูซุ 616 คัน - ฟอร์ด 112 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 39,811 คัน เพิ่มขึ้น 29.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,110 คัน เพิ่มขึ้น 11.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 13,915 คัน เพิ่มขึ้น 19.8% ส่วนแบ่งตลาด 35.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 4,026 คัน เพิ่มขึ้น 210.6% ส่วนแบ่งตลาด 10.1%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 51,316 คัน เพิ่มขึ้น 28.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 18,919 คัน เพิ่มขึ้น 7.5% ส่วนแบ่งตลาด 36.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 16,022 คัน เพิ่มขึ้น 21.9% ส่วนแบ่งตลาด 31.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 5,715 คัน เพิ่มขึ้น 153.5% ส่วนแบ่งตลาด 11.1%
- สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — มีนาคม 2554
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 238,619 คัน เพิ่มขึ้น 43.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 93,551 คัน เพิ่มขึ้น 34.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 42,347 คัน เพิ่มขึ้น 19.8% ส่วนแบ่งตลาด 17.7%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 30,081 คัน เพิ่มขึ้น 37.4% ส่วนแบ่งตลาด 12.6%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 106,206 คัน เพิ่มขึ้น 60.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 44,029 คัน เพิ่มขึ้น 54.5% ส่วนแบ่งตลาด 41.5%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 27,658 คัน เพิ่มขึ้น 36.1% ส่วนแบ่งตลาด 26.0%
อันดับที่ 3 นิสสัน 12,179 คัน เพิ่มขึ้น 248.3% ส่วนแบ่งตลาด 11.5%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 113,446 คัน เพิ่มขึ้น 30.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 44,162 คัน เพิ่มขึ้น 18.4% ส่วนแบ่งตลาด 38.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 38,646 คัน เพิ่มขึ้น 17.0% ส่วนแบ่งตลาด 34.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 13,832 คัน เพิ่มขึ้น 138.2% ส่วนแบ่งตลาด 12.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 10,650คัน
โตโยต้า 4,387 คัน - มิตซูบิชิ 4,068 คัน - อีซูซุ 1,934 คัน - ฟอร์ด 261 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย102,796 คัน เพิ่มขึ้น 32.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 39,775 คัน เพิ่มขึ้น 23.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 36,712 คัน เพิ่มขึ้น 16.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.7%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 9,764 คัน เพิ่มขึ้น 193.3% ส่วนแบ่งตลาด 9.5%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 132,413 คัน เพิ่มขึ้น 31.7%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 49,522 คัน เพิ่มขึ้น 19.9% ส่วนแบ่งตลาด 37.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 42,347 คัน เพิ่มขึ้น 19.8% ส่วนแบ่งตลาด 32.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 13,832 คัน เพิ่มขึ้น 138.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.4%