กรุงเทพฯ--20 เม.ย.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในระบบอี-คอมเมิร์ชปี 2553 โดยวีซ่า[1] (2010 Visa eCommerce Consumer Monitor) พบว่าผู้บริโภคชาวไทยเลือกชำระเงินจากใบแจ้งหนี้ต่างๆผ่านระบบออนไลน์มากกว่าชำระด้วยเงินสดหรือเช็คเพราะเล็งเห็นถึงความสะดวกและสามารถยืดหยุ่นได้
ผลสำรวจจากผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 534 คนในช่วงไตรมาสที่สามของปีที่ผ่านมาพบว่า 43เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามเคยชำระค่าบริการต่างๆผ่านระบบออนไลน์ในสิบสองเดือนที่ผ่านมาโดย 92 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้บริการเหล่านี้ยืนยันทำการชำระค่าบริการผ่านระบบออนไลน์ต่อไป นอกจากนี้ 45 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่เคยใช้บริการนี้ มีความประสงค์ที่จะทดลองชำระผ่านระบบออนไลน์
เมื่อถามว่าผู้ตอบแบบสอบถามการชำระค่าบริการด้วยรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ เปอร์เซ็นต์ที่ได้มีดังต่อไปนี้ 25 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้เครื่องเอทีเอ็มเพื่อชำระหนี้ต่างๆเป็นช่องทางหลัก ขณะที่ 21 เปอร์เซ็นต์เลือกชำระผ่านเว็บของธนาคาร, 19 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามเดินทางไปที่ธนาคารเพื่อชำระค่าบริการ, 11 เปอร์เซ็นต์ชำระที่ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าและอีก 5 เปอร์เซ็นต์ชำระผ่านเว็บไชต์ของห้างร้านโดยตรง
“การชำระบริการต่างๆผ่านระบบออนไลน์เป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยและมีแนวโน้มว่าจะโตมากขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคเล็งเห็นถึงความสะดวกสบายในการชำระเงินผ่านระบบธุรกรรมอัตโนมัตินี้” คุณสมบูรณ์ ครบธีระนนท์, ผู้จัดการบริษัทวีซ่า, ประจำประเทศไทยกล่าว
“ด้วยรูปแบบชีวิตที่เร่งรีบและวุ่นวายในปัจจุบันทำการตรวจตราว่าค่าบริการแต่ละใบได้ชำระแล้วหรือยังนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย การเชื่อมถึงกันระหว่างค่าบริการต่างๆที่เกิดขึ้นและการใช้บัตรเพื่อการชำระเงินโดยตรงหรือผ่านระบบออนไลน์ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถติดตามได้ว่าจ่ายเงินของใบเรียกเก็บใดไปบ้างแล้วเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการชำระเงินเกินกำหนด ทั้งยังสามารถสะสมคะแนนเพื่อแลกรับของรางวัลโดยไม่ต้องเดินทางไปที่จุดชำระเงินด้วยตัวเองอีกด้วย ทั้งบริการเวอร์ริฟายด์ บาย วีซ่า(Verified by Visa) ซึ่งเป็นบริการตรวจสอบอัตลักษณ์ก็ทำให้ผู้บริโภคแน่ใจได้ว่าการทำธุรกรรมผ่านบัตรวีซ่านั้นเป็นเรื่องที่ปลอดภัย” คุณสมบูรณ์กล่าวเสริม
ผู้ตอบแบบสอบถามที่เคยใช้บริการชำระค่าบริการด้วยระบบออนไลน์นั้นให้เหตุผลในการชำระเงินผ่านระบบออนไลน์ว่าเป็นเพราะ ช่วยประหยัดเวลา (29 เปอร์เซ็นต์), มีความยืดหยุ่นเพราะสามารถชำระเงินได้ทุกเวลา (15 เปอร์เซ็นต์) และช่วยให้ตรวจสอบและบริหารการเงินได้ง่ายยิ่งขึ้น (7 เปอร์เซ็นต์)
ผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยชำระค่าบริการผ่านระบบออนไลน์โดยเฉลี่ยที่ 64 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐต่อปี โดย 59 เปอร์เซ็นต์เป็นการชำระค่าโทรศัพท์, 43 เปอร์เซ็นต์คือค่าใช้บริการอินเตอร์เน็ตอีก 39 เปอร์เซ็นต์จากการชำระบัตรเครดิตและอีก 33 เปอร์เซ็นต์ชำระค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคต่างๆ
ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในระบบอี-คอมเมิร์ชปี 2553 โดยวีซ่า (2010 Visa eCommerce Consumer Monitor) ถูกจัดทำขึ้นเมื่อไตมาสที่สามขอปีที่ผ่านมาโดยติดตามแนวโน้มของการใช้จ่ายออนไลน์ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตใน 6 ประเทศหลักในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอันได้แก่ จีน, อินเดีย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ไต้หวัน, และประเทศไทย
[1] การสำรวจผู้บริโภค e-Commerce ของวีซ่า โดยในนามของวีซ่า ในเดือนกรกฎคมและสิงหาคม 2553 Nielsen ได้ทำการสอบถามผู้ซื้อสินค้าออนไลน์จำนวน 3,156 คน ที่ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นประจำ (ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง) มีอายุ 18 ปี หรือมากกว่า จากตลาด 6 แห่ง (จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ไต้หวัน และประเทศไทย) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการใช้งานออนไลน์ โดยตัวเลขในการสำรวจครั้งนี้มาจากจำนวนที่รายงานโดยผู้ตอบแบบสอบถาม
จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้บริการชำระหนี้ผ่านระบบออนไลน์ในปีที่ผ่านมา(หน่วยเป็นเปอร์เซ็นต์)
1 จีน 76
2 มาเลเซีย 68
3 อินเดีย 67
4 ไต้หวัน 64
5 อินโดนีเซีย 44
6 ประเทศไทย 43
ค่าเฉลี่ยจากทั่วภูมิภาค 60
แหล่งที่มา: การสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคในระบบอี-คอมเมิร์ชปี 2553 โดยวีซ่า