กรุงเทพฯ--22 เม.ย.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
ตั้งแต่ได้มีการเปิดสำนักงานโตเกียวในพ.ศ. 2529 และต่อมาได้มีการปล่อยดาวเทียมพาณิชย์ดวงแรกของญี่ปุ่นที่มีชื่อว่า เจซีแซต-1(JCSAT-1) ในพ.ศ. 2532 ทำให้เอเรียนสเปซได้กลายมาเป็นผู้สนับสนุนหลักให้กับบริษัทผู้ผลิตและผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น โดยระหว่างงานเจแปนวีคทางเอเรียนสเปซได้เน้นย้ำที่จะเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของโลก
ผู้นำอันดับหนึ่งของโลก
ตั้งแต่ที่ได้มีการก่อตั้ง ทางเอเรียนสเปซได้ตกลงเซ็นสัญญาเปิดให้บริการแล้วกว่า 300 สัญญา และปล่อยดาวเทียมไปแล้วกว่า 290 ดวง สำหรับลูกค้าจำนวน 78 ราย ซึ่งถือได้ว่าเป็นจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งของดาวเทียมทั้งหมดที่ได้ให้บริการอยู่ทั่วโลก
จากบรรดาตระกูลดาวเทียมทั้งหมดที่ได้มีการปล่อยออกไป ถือเป็นบทพิสูจน์ในด้านความน่าเชื่อถือและวางใจได้ โดยทุกปีทางเอเรียนสเปซได้รับการเซ็นสัญญาทางพาณิชย์มากกว่าครึ่งหนึ่ง จากการที่มีการเปิดให้แข่งขันในตลาดโลก ทางบริษัทได้มีคำสั่งซื้อที่มีอยู่จำนวนมาก ซึ่งจะเริ่มทยอยส่งให้กับลูกค้าจำนวน 26 ราย
เอเรียนสเปซ มีคำสั่งซื้อที่คิดเป็นมูลค่าได้มากกว่า 4 พันล้านเหรียญยูโร ประกอบไปด้วย ดาวเทียมประจำที่จำนวน 30 ดวงจะถูกปล่อยโดย เอเรียน 5 โดยดาวเทียมของเอเรียน 5 จำนวน 5 ดวงถูกปล่อยไปที่สถานีอวกาศนานาชาติเพื่อให้เป็นยานขนส่งแบบอัตโนมัติ (Automated Transfer Vehicle) และดาวเทียมโซยุซ (Soyuz) ถูกปล่อยอีกจำนวน 18 ดวง
พ.ศ. 2554 : ฐานปล่อยดาวเทียมสามแห่งดำเนินการปล่อยดาวเทียมจากเส้นศูนย์สูตร
เอเรียนสเปซจะพบกับความท้าทายใหม่ๆในพ.ศ. 2554 ด้วยการเริ่มดำเนินการปล่อยดาวเทียมในยุโรปจากฐานปล่อยเดียวที่ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตร โดยสามารถปล่อยดาวเทียมทุกๆชนิดเข้าสู่วงโคจรสำหรับลูกค้าทุกราย
เอเรียน 5(Ariane 5) ประสบความสำเร็จ 42 ครั้งอย่างต่อเนื่อง กับการปล่อยดาวเทียมและมากกว่า 8ปีแล้วที่ไม่มีข้อผิดพลาดแต่อย่างใด เอเรียน 5ยังคงมุ่งมั่นในการดำเนินการจากภารกิจสู่ภารกิจ, เทคนิคต่างๆและ การดำเนินการที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทางเอเรียนสเปซได้ประสบความสำเร็จในการปล่อย ยูโรเปียน สเปซ เอเจนซี่ โจฮันเนส เคพเลอร์ เอทีวี2 (European Space Agency’s Johannes Kepler ATV2) ให้กับ สถานีอวกาศนานาชาติ
ความสำเร็จล่าสุดนี้ นับเป็นจรวดลำที่ 200 ที่ได้มีการปล่อย ซึ่งนับเป็นอีกครั้งที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเอเรียน 5 ฐานปล่อยดาวเทียมนี้สามารถปล่อยดาวเทียมได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การปล่อยดาวเทียมพาณิชย์ไปสู่วงโคจรประจำที่ หรือปล่อยดาวเทียมเฉพาะไปยังวงโคจรพิเศษ
การปล่อยดาวเทียมครั้งต่อไป จะมีขึ้นในวันที่ 22 เมษายน ที่จะถึงนี้ และจะเป็นการปล่อยดาวเทียมสื่อสาร 2 ดวง คือ ยาแซต วาย1เอ (Yahsat Y1A) และ อินเทลแซต นิว ดอว์น (Intelsat New Dawn)
โซยุซ (Soyuz) : เอเรียนสเปซได้เข้าดำเนินการและรับผิดชอบสำหรับฐานปล่อยโซยุซในช่วงต้นเดือนเมษายน โดยดาวเทียมโซยุซดวงแรกที่จะปล่อยจากศูนย์อวกาศกิอานามีกำหนดการปล่อยในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปีพ.ศ. 2554 นี้ ในขณะเดียวกัน เอเรียนสเปซจะทำการปล่อยดาวเทียมโซยุซจำนวนสามดวง จากคอสโมโดรม ใน ไบโกเนอร์ ประเทศคาซัคสถาน
เวก้า (Vega) : เอเรียนสเปซจะทำหน้าที่รับผิดชอบฐานปล่อยดาวเทียมของเวก้า ในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ และมีแผนที่จะปล่อยดาวเทียมเวก้าครั้งแรกภายในสิ้นปีนี้
เอเรียนสเปซ และ ญี่ปุ่น (Arianespace and Japan)
นับตั้งแต่เปิดสำนักงานในโตเกียวในพ.ศ. 2529 เป็นต้นมา ทางเอเรียนสเปซได้ 27 สัญญาการปล่อยดาวเทียมในญี่ปุ่น จาก 36 สัญญาที่เปิดให้เข้าแข่งขันกัน โดยได้รับส่วนแบ่งทางการตลาดกว่า 75% และยังได้ปล่อยดาวเทียม LDREX 1 และ 2 สำหรับ สถานีอวกาศของญี่ปุ่นหรือเจเอเอ็กซ์เอ (JAXA) โดยเอเรียนสเปซยังคงมีดาวเทียมของญี่ปุ่นอีก 2 ดวงที่อยู่ในคำสั่งจอง นั่นคือ เจซีแซต (JCSAT-13) และ บีแซต-3ซี/เจซีแซต-110อาร์ (BSAT-3c/JCSAT-110R) โดยมีกำหนดการปล่อยภายในปีนี้
ในขณะเดียวกัน เอเรียนสเปซ และ MHI ได้พัฒนานวัตกรรมตามข้อตกลงและร่วมให้บริการปล่อย ดาวเทียมเอเรียน 5 และ H-IIA
ในช่วงพฤษภาคมนี้ ทางเอเรียนสเปซจะทำการปล่อย ST-2 โดยเป็นดาวเทียมพาณิชย์ดวงที่สองที่สร้างโดย เมลโก้ (MELCO) ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่สร้างโดย ซิงเทล (Singtel) และ จงหัว เทเลคอม (Chunghwa Telecom)
ญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนที่สำคัญของเอเรียนสเปซ และจะเป็นเช่นนี้ไปอีกหลายปี ซึ่งจะมอบทั้งความกว้างขวางและข้อมูลเชิงลึกในโปรแกรมทางอวกาศของญี่ปุ่น
ข้อมูลเกี่ยวกับเอเรียนเสปซ
เอเรียนเสปซเป็นบริษัทแนวหน้าของโลกที่ให้บริการและโซลูชั่นส์ด้านการปล่อยดาวเทียม โดยเป็นผู้ให้บริการนำเสนอแนวคิดใหม่ๆให้กับลูกค้านับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2523 เอเรียนสเปซได้รับการสนับสนุนจากหุ้นส่วน 21 ราย และหน่วยงานยูโรเปี่ยนสเปซเอเจนซี่หรือ อีเอสเอ โดยมีตระกูลจรวดสำหรับปล่อยดาวเทียมสมรรถนะสูงสุด ประกอบไปด้วย เอเรียน 5 โซยุส และ เวก้า รวมทั้งทีมงานที่มีชื่อเสียงในด้านการให้บริการและทุ่มเทกับการทำงานจากนานาประเทศคอยให้บริการ จากข้อมูลจนถึงวันที่ 15 เมษายน 2554 เอเรียนสเปสได้ทำการปล่อยจรวดและดาวเทียมไปแล้วกว่า 290 ครั้งโดยนับเป็นจำนวนที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของดาวเทียมเชิงพาณิชย์ที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ขณะนี้ เอเรียนสเปซมีแผนงานดำเนินการปล่อยดาวเทียมหลายโครงการ แบ่งเป็นการปล่อยดาวเทียมด้วยเอเรียน 5 20 โครงการ ด้วยโซยุส 18 โครงการ ซึ่งเทียบเท่ากับการดำเนินธุรกิจล่วงหน้าเป็นเวลาถึง 3 ปี www.arianespace.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ :
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
เมธาวรินทร์ มณีกูลพันธ์ และ น้ำตาล สกุลสิงห์ดุสิต
โทร.0-2260-5820 ต่อ115 และ 124
หรืออีเมล์ mae@tqpr.com, namtarn@tqpr.com