กรุงเทพฯ--25 เม.ย.--อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง
“แตนเบียน” แมลงตัวน้อยที่กำลังกลายเป็นผู้พิทักษ์ระดับชาติ ฉุดมะพร้าวไทยจากการสูญพันธุ์พื้นที่ปลูกมะพร้าวกว่า 120,000 ไร่ ในพื้นที่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กำลังปัญหาอย่างหนักและต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นมะพร้าวยืนต้นตายกันต้นต่อต้น ทยอยมาตั้งแต่ปี 2553 ที่ผ่านมา
หนอนหัวดำมะพร้าว (Coconutt black-headed caterpillar) ชื่อวิทยาศาสตร์ Opisina arenonosella Walker เป็นแมลงที่เข้าทำลายต้นมะพร้าวจนก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง โดยระยะตัวหนอนกัดแทะผิวใบที่คลี่แล้วโดยเข้าทำลายด้านใต้ใบมะพร้าวและนำมูลที่ถ่ายออกมากับใบมะพร้าวที่กัดแทะสร้างเป็นทางยาวคล้ายอุโมงค์ห่อหุ้มลำตัวไว้ เมื่อเริ่มเข้าดักแด้จะถักเส้นใยหุ้มลำตัวยึดติดกับใบมะพร้าวและเข้าดักแด้ภายในนั้น นอกจากนี้หนอนชนิดนี้ยังเป็นภัยร้ายสำหรับพืชวงศ์ปาล์มชนิดอื่นๆ เช่น ตาล ลาน ปาล์มน้ำมัน และปาล์มประดับหลายชนิด
ศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ได้เริ่มดำเนินการสำรวจแมลงศัตรูมะพร้าวและแมลงศัตรูธรรมชาติมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ที่ผ่านมา ณ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนหัวดำมะพร้าวได้เป็นอย่างดี คือ แตนเบียนหนอน
รศ.ดร.วิวัฒน์ เสือสะอาด ผู้อำนวยการบริหารศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ กล่าวว่า จากปลายปี 2553 ที่ผ่านมาได้รับการติดต่อจาก บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ถึงปัญหาการล้มตายของมะพร้าวอันเกิดจากเข้าทำลายของแมลง จึงได้ลงพื้นที่อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พร้อมทีมงาน เพื่อค้นหาแมลงที่เป็นสาเหตุการตายของต้นมะพร้าว เมื่อเข้าไปในพื้นที่พบแมลงตัวสำคัญ คือ หนอนหัวดำแมลงดำหนามมะพร้าว หนอนร่าน และหนอนบุ้งเหลือง
หลังจากการเก็บตัวอย่างของแมลงพบว่ามีแมลงศัตรูธรรมชาติอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว กล่าวคือแตนเบียน ซึ่งมีบทบาทในการเข้าทำลายหนอนหัวดำมะพร้าวในปริมาณที่น่าพึงพอใจ แต่แตนเบียนดังกล่าวมีอยู่ในธรรมชาติปริมาณค่อนข้างน้อย เนื่องจากเกษตรกรไม่ทราบจึงใช้สารเคมีเข้าทำลาย ทางศูนย์จึงได้ของบประมาณและเพาะเลี้ยงแตนเบียนเพื่อแจกแก่เกษตรกร ผู้อำนวยการบริหารศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ กล่าว
นายเกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กล่าวว่า บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่งจำกัด ได้ให้ความร่วมมือกับทางทีมงานของศูนย์วิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีวินทรีย์แห่งชาติ ในการรณรงค์การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติในการควบคุมแมลงศัตรูมะพร้าว เพราะผมคิดว่าเป็นหนทางที่ดีในการต่อชีวิตของมะพร้าวไทย และผมวางแผนขยายโครงการต่อเนื่องในการสร้างโรงเพาะเลี้ยงแมลงในทุกหมู่บ้าน โดยมีเงื่อนไขที่ต้องเกิดจากการร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน ซึ่งบริษัทฯ ยินดีออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด
รศ.ดร.วิวัฒน์ เสือสะอาด กล่าวเสริมว่า ระยะเวลา 3 เดือนของการรณรงค์และการปล่อยแมลงศัตรูธรรมชาติในสวนมะพร้าวของเกษตรกรที่ให้ความร่วมมือ อันเกิดจากความร่วมมือของทางภาครัฐและภาคเอกชน ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ที่ผ่านมา ผลปรากฏว่าแมลงทำการปล่อยนั้นสามารถควบคุมประชากรของหนอนหัวดำ ได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และพบว่าประชากรของแตนเบียนในสภาพธรรมชาติหลังจากมีการปล่อยเพิ่มขึ้นกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ นับได้ว่าประสบความเร็จได้เป็นอย่างดี และทางศูนย์กำลังดำเนินการเพิ่มปริมาณการเพาะแมลง เพื่อมอบแก่เกษตรกรที่มีความพร้อมต่อไป
?
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2622-3434 Pr@Ampolfood