กรุงเทพฯ--3 พ.ค.--กรมธนารักษ์
กรมธนารักษ์ได้รับเกียรติจากเวทีนานาชาติ ให้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการด้านเหรียญกษาปณ์ระดับอาเซียน (TEMAN) ในปี 2556 เพื่อเปิดเวทีให้นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศในกลุ่มอาเซียนได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับการผลิตเหรียญกษาปณ์ และเหรียญที่ระลึก รวมถึงเทคนิคและนวัตกรรมการออกแบบ แกะลวดลาย การผลิตดวงตรา ตลอดจนการควบคุมคุณภาพ และระบบการจำหน่ายจ่ายแลกเหรียญ ให้สามารถพัฒนาได้มาตรฐานสากลทัดเทียมโรงกษาปณ์ชั้นนำของโลก
วันนี้ (2 พฤษภาคม 2554) การประชุมวิชาการด้านกษาปณ์ระดับอาเซียน หรือ Technical Meeting of Mints in ASEAN (TEMAN) ครั้งที่ 15 บรรดาผู้บริหาร นักวิชาการจากโรงกษาปณ์ของภาครัฐแ ะเอกชน ประเทศต่างๆ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์และไทย รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านเหรียญของโรงกษาปณ์จากทวีปยุโรป อเมริกา เอเชีย แอฟริกา อาทิ อังกฤษ สาธารณรัฐฟินแลนด์ สาธารณรัฐอิตาลี ราชอาณาจักรสเปน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ส าธารณรัฐออสเตรีย แคนาดา สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ตลอดจนผู้ผลิตเครื่องมือ เครื่องจักร เหรียญตัวเปล่าต่างประเทศ เข้าร่วมประชุมจำนวนกว่า 150 คนณ โรงแรม ริทซ์ คาร์ลตัน มิลเลเนีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 2 — 6 พฤษภา คม 2554
นางสาวจารุวรรณ จันทิมาพงษ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ด้านเหรียญกษาปณ์ ในฐานะตัวแทนประเทศไทย กล่าวว่า การประชุมวิชาการด้านเหรียญกษาปณ์ระดับอาเซียน (TEMAN) ถือเป็นการประชุมนานาชาติที่ต้องการให้ประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียน ที่ดำเนินงานด้านการผลิตเหรียญกษาปณ์ และมีโรงกษาปณ์ ใช้เป็นเวทีในการเปิดโอกาสให้นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาและการทดลองในด้านเหรียญกษาปณ์ การผลิตเหรียญตัวเปล่า หรียญที่ระลึก รวมทั้งเทคนิคกรรมวิธีด้านต่างๆ เช่น การผลิตดวงตรา การออกแบบ การแกะลวดลาย ตลอดจนการควบคุมคุณภาพ และระบบการจำหน่ายจ่ายแลกเหรียญ นอกจากนั้น ยังได้มีการเชิญผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทผู้ผลิตเหรียญในกลุ่มประเทศทวีปอเมริกา ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย เข้าร่วมประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ และถ่ายทอดเทคโนโ ยีการผลิตเหรียญ และบริหารงานด้านเหรียญกษาปณ์ เพื่อให้ประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงให้ได้มาตรฐานสากลทัดเทียมโรงกษาปณ์ชั้นนำของโลกต่อไป
สำหรับการประชุมในครั้งนี้เน้นในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ความก้าวหน้าเทคโนโลยีการทำเหรียญ และการพัฒนาระบบการจำหน่ายจ่ายแลก เช่น การนำเทคโนโลยีดีเอ็นเอเพื่อเพิ่มความปลอดภัยสูงสุดของการผลิตเหรียญ เทคโนโลยีสี ขียวกับการทำเหรียญ ความท้าทายและโอกาสต่อการคิดต้นทุนการผลิตเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนอย่างคุ้มค่า การเพิ่มประสิทธิภาพการทำธุรกิจเหรียญ เป็นต้น
รองอธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวต่ออีกว่า การประชุม TEMAN เริ่มก่อตั้งและจัดการประชุมครั้งแรก ในปี 2525 ที่กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประกอบด้วยประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน รวม 5 ประเทศในขณะนั้น ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และไทย ต่อมาเพิ่มบรูไนดารุสซาลาม สำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สหภาพพม่า ยังไม่มีการใช้เหรียญและโรงกษาปณ์ ส่วนสาธารณ ัฐสังคมนิยมเวียดนาม ใช้เหรียญครั้งแรกเมื่อปี 2546 แต่เป็นการจ้างโรงกษาปณ์ต่างประเทศผลิต ทั้งนี้ การประชุมฯ จะจัดทุก 2 ปี โดยหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ เรียงตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นเจ้าภาพมาแล้ว 2 สมัย และการประชุมครั้งที่ 16 ในปี 2556 ก็ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพอีกครั้ง
เกี่ยวกับโรงกษาปณ์ของประเทศไทย นับตั้งแต่ยุคสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ได้มีการนำเครื่องจักรมาใช้ผลิตเงินลักษณะเหรียญแบน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเหรียญกษาปณ์ที่ใช้ในปัจจุบัน แทนเงินพดด้วง หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีการพัฒนาปรับปรุงกรรมวิธีกา ผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ได้ทันกับความต้องการใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ และเหรียญมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล และยากต่อการปลอมแปลง รวมทั้ง ได้พัฒนาเทคนิคการผลิตเหรียญประเภทต่างๆ อาทิ เหรียญขัดเงา เหรียญรมดำพ่นทราย เป็นต้น เพื่อสนองกับความต้องการของประชาชนและนักสะสมทั่วไป รองอธิบดีฯ กล่าวในตอนท้าย