มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม

ข่าวทั่วไป Wednesday May 4, 2011 08:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 พ.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม(กรณีผู้ประกอบการที่มีกรมธรรม์ประกันภัยยังไม่ได้รับสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย)โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) วันนี้ (3 พฤษภาคม 2554) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม (กรณีผู้ประกอบการที่มีกรมธรรม์ประกันภัยยังไม่ได้รับสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย) เพื่อบรรเทาปัญหาความเด อดร้อนของผู้ประกอบการซึ่งอยู่ระหว่างฟ้องร้องดำเนินคดีบริษัทประกันภัย ด้วยการปรับปรุงหลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการขอสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ธพว.) โดยใช้วงเงิน 2,000 ล้านบาทเดิมของโครงการราชประสงค์ฯ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ขยายระยะเวลาโครงการ : จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 ธันวาคม 2553 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ทั้งนี้ ธพว. ขอสง นสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกำหนด หาก ธพว. มีการให้สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการแล้ว 2. วงเงินกู้ต่อราย : จาก5 ล้านบาทต่อราย เป็น ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อราย 3. แก้ไขคุณสมบัติผู้กู้ : จากต้องมีการดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีบริษัทประกันภัยต่อศา แล้ว เป็นให้มีหนังสือรับรองการผู้ประกอบการที่มีกรมธรรม์ประกันภัยแต่ยังไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) 4. เพิ่มวัตถุประสงค์การกู้ : จากเดิมเพื่อใช้ปรับปรุง ซ่อมแซม ก่อสร้างอาคาร สิ่งปลูกสร้างสถานประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้ หรือความเสียหายที่เกี่ยวเนื่องจากเหตุเพลิงไหม้ โดยเพิ่มให้เพื่อชำระหนี้ให้สถาบันการเงินที่ได้กู้เพื่อวัตถุประสงค์เดิม 5. หลักประกัน : จากเดิมที่ไม่ต้องมีหลักประกัน เป็น 5.1 กรณีวงเงินขอกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท ไม่ต้องมีหลักประกัน (Clean Loan) 5.2 กรณีวงเงินขอกู้เกิน 5 ล้านบาท วงเงินกู้ที่เกินจาก 5 ล้านบาทแรก ต้องมีหลักประกัน เช่น สิทธิการเช่าในอสังหาริมทรัพย์ของที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ให้คิดเป็นหลักประกันได้ไม่เกินร้อยละ 100 ของมูลค่าราคาที่รับหลักประกันของธนาคาร บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลค้ำประกัน การค้ำประกันไขว้ (Cross Guarantee) หรือให้ บสย. ออกหนังสือค้ำประกัน 6. การชดเชยค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. : เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกันจากผู้กู้ปีที่ 1 อัตรา 1.00% ต่อปี ของวงเงินค้ำประกัน ปีที่ 2 - 6 อัตรา 1.75% ต่อปี ของวงเงินค้ำประกัน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน โทร ๐-2273-9020 ต่อ 3207

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ