กรุงเทพฯ--4 พ.ค.--กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
วันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติปี 2553 และ 2554 (เพิ่มเติม) ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจจำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) และธนาคารพัฒนาวิสา หกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มในปี 2553 และ 2554 ที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่อีก ดังนี้
1. การขยายมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปี 2553
1.1 ธ.ก.ส. ขยายกลุ่มเป้าหมายในมาตรการการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. (มติคณะรัฐมนตรี 18 มกราคม 2554) ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย MRR-3 ให้ครอบคลุมถึงเกษตรกรที่ประสบภัยจากพายุดีเปรสชั่นบริเวณภาคใต้ตอนล่างที่ประกอบอาชีพเพา ะเลี้ยงสัตว์น้ำและประมงให้ได้รับสินเชื่อเพียงพอ
1.2 ธอท. ขยายวงเงินสินเชื่อโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยและวาตภัยปี 2553 โดยเพิ่มอีก 887.56 ล้านบาท เพื่อให้ครอบคลุมผู้ประกอบอาชีพอิส ะที่ได้ยื่นขอไว้ก่อนระยะเวลาสิ้นสุดรับคำขอสินเชื่อ (28 กุมภาพันธ์ 2554)
2. มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปี 2554
2.1 เสนอหลักเกณฑ์ในการชดเชยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยโครงการสินเชื่อ SME POWER เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัย และวาตภัยในปี 2554 ให้แก่ ธพว.
2.2 ธ.ก.ส. และ ธพว. เสนอมาตรการเพิ่มเติมเพือให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางที่ได้รับผลกระทบฯ ซึ่งมีวงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 10 ล้านบาท
2.2.1 มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการและผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ปี 2554 วงเงิน 2,000 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1) อัตราดอกเบี้ย: กรณีผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในปีที่ 1-2 ธ.ก.ส. คิดอัตราดอกเบี้ยจากลูกค้าตามมาตรการในอัตรา MRR — 3 ในปีต่อไปคิดอัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR = ร้อยละ 7) ส่วนกรณีผู้ประกอบการภาคเ ษตร ในปีที่ 1-2 ธ.ก.ส. คิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้ประกอบการนิติบุคคลตามมาตรการในอัตราMLR — 1 (ปัจจุบัน MLR = ร้อยละ 5 ต่อปี) และคิดอัตราดอกเบี้ยจากบุคคลธรรมดา ในอัตรา MRR — 3 ในปีต่อไปคิดอัตรา MLR สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการนิติบุคคล และคิดอัตราดอกเบี้ย MRR สำหรับลูกค้าบุคคลธรรมดา โดยรัฐบาลชดเชยส่วนต่างอัต าดอกเบี้ยแทนเกษตรกรจากรัฐบาล ธ.ก.ส. จำนวน 100 ล้านบาท
2) หลักประกัน: กำหนดวงเงินกู้ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินหลักประกัน ทั้งนี้ กรณีนิติบุคคล ให้กรรมการของนิติบุคคลทุกคนลงนามเป็นผู้ค้ำประกัน
2.2.2 มาตรการโครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มปี 2554 วงเงิน 2,000 ล้านบาท โดย ธพว. ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้อัตราร้อยละ MLR -3 ต่อปี เป็นเวลา 2 ปี
2.2.3 ชดเชยค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. จากทั้ง 2 มาตรการดังกล่าว ในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี เป็นเวลา 2 ปี
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน
โทร ๐-2273-9020 ต่อ 3207