มหาวิทยาลัยวอชิงตัน จัดสัมภาษณ์เดี่ยวกับคณบดีและศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์

ข่าวทั่วไป Tuesday March 6, 2007 10:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--6 มี.ค.--ทีคิวพีอาร์
บริษัท ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในนามของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ มีความยินดีขอเรียนเชิญท่านสื่อมวลชนเข้าร่วมงานสัมภาษณ์เดี่ยว และพบปะกับคณบดีและศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ ซึ่งจะมาเยือนกรุงเทพฯในวันที่ 12-13 มีนาคม 2550 เพื่อร่วมประชุมเกี่ยวกับกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ (McDonnell International Scholars Academy) รวมไปถึงประชุมประเด็นสำคัญอื่นๆที่มีผลต่อความสัมพันธ์ทางการศึกษากับประเทศไทย
การมาเยือนของคณบดีและศาสตราจารย์กว่า 21 ท่านจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ นับว่าเป็นโอกาสอันดียิ่งสำหรับสื่อมวลชนไทยที่จะได้ทำความรู้จัก ขอความคิดเห็น และพูดคุยซักถามศาสตราจารย์ทั้งหลายผู้ทรงคุณวุฒิ และมากซึ่งประสบการณ์ในการศึกษาในแขนงต่างๆ อาทิ แพทยศาสตร์ สุขภาพ พันธุกรรม วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ พืชศาสตร์ สิ่งแวดล้อม ธรณีพิบัติ เศรษฐศาสตร์ ชีวแพทยศาสตร์ พลังงาน เทคโนโลยีชีวภาพ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ สถาปัตยกรรม ฯลฯ โดยจะแบ่งการสัมภาษณ์เดี่ยวออกเป็น 5 กลุ่มย่อย (กรุณาดูเอกสารแนบ) ท่านสามารถเลือกสัมภาษณ์ศาสตราจารย์ท่านใดท่านหนึ่งใน 21 ท่าน หรือมากกว่านั้น ตามสาขาที่ท่านสนใจ กรุณาตรวจสอบวัน/เวลาที่ศาสตราจารย์พร้อมให้สัมภาษณ์ในเอกสารแนบ การสัมภาษณ์เดี่ยวจะจัดขึ้นใน:
วันจันทร์ที่ 12 & วันอังคารที่ 13 มีนาคม 2550
กรุณาตรวจสอบตารางเวลา และประวัติโดยสังเขปของศาสตราจารย์
ในเอกสารแนบ ตามสาขาที่ท่านสนใจและตามเวลาที่ท่านสะดวก
สถานที่: โรงแรมเพนนินซูล่า ถนนเจริญนคร กรุงเทพฯ
ห้องสาวิตรี
บริษัท ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด ในนามของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ต้อนรับท่านในงานสัมภาษณ์เดี่ยวในครั้งนี้ โดยทีมงานจากทีคิวพีอาร์จะทำหน้าที่เป็นล่ามตลอดการสัมภาษณ์ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม หรือยืนยันเข้าร่วมงานฯ กรุณาติดต่อคุณอ้อม หรือดิฉัน ทางโทร 0-2260-5820 ต่อ 117, 08-6633-8171 หรืออีเมล์ tqprthai@tqpr.com
วัน เวลาและกลุ่มต่างๆ ท่านสามารถเลือกศาสตราจารย์ที่ท่านสนใจซักถามและกลุ่มเวลาที่สะดวกในการให้สัมภาษณ์
12 มีนาคม 2550
กลุ่ม A 09.00-11.30น.
กลุ่ม B 12.00-13.30น.
กลุ่ม C 13.30-15.00น.
กลุ่ม D 15.00-17.00น.
13 มีนาคม 2550
กลุ่ม E 09.00-11.30น.
กลุ่ม F 14.00-17.00น.
รายละเอียดกลุ่ม / เวลาที่สะดวกให้สัมภาษณ์ และความเชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ โดยสังเขปของคณบดีและศาสตราจารย์ทั้ง 21 ท่าน:
กลุ่ม A, B หรือ F: สิ่งแวดล้อม นาโนเทคโนโลยี มลภาวะ — ศ. ดร. ประทิม บิสวาส ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาพลังงาน วิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเคมี ณ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ท่านเป็นที่รู้จักระดับประเทศในผลงานด้านละอองของเหลว คุณภาพอากาศ และเทคโนโลยีอนุภาคนาโน
กลุ่ม A, B, C, D หรือ E: เทคโนโลยีชีวภาพ พืชศาสตร์ — ศ. ดร. วิลเลี่ยม เอช. แดนฟอร์ธ อธิการบดีกิตติคุณมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ ท่านมีบทบาทสำคัญต่อมหาวิทยาลัยและเมืองสำคัญในการปฏิวัติวงการพลังงานชีวภาพ ณ นครเซนต์หลุยส์ และเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพ พืชศาสตร์ ฯลฯ อีกทั้งท่านยังเป็นผู้สนับสนุนหลักแก่การศึกษาระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษาให้มีคุณภาพดีที่สุดสำหรับนักเรียนในนครเซนต์หลุยส์
กลุ่ม A, B หรือ F: วิศวกรรมศาสตร์ด้านธรณีพิบัติภัย — ศ. ดร. เชอร์รี่ ไดค์ ผู้เชี่ยวชาญทางสถาปัตยกรรมการออกแบบอาคารเพื่อให้คงทนต่อธรณีพิบัติหรือแผ่นดินไหว ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกด้านผลงานที่ศึกษาอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับพลังงานเคลื่อนที่ และการควบคุมโครงสร้าง การสั่นสะเทือน และวิศวกรรมศาสตร์ด้านธรณีพิบัติ
กลุ่ม A, B, E หรือ F: ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ — ศ. ดร. เจอรัลด์ แอล. เออร์ลี่ นักวิจัยแห่งสถาบันการศึกษาศิลปศาสตร์และวิทยาศาตร์แห่งอเมริกา ท่านเป็นนักวิจารณ์ประจำวิทยุสาธารณะแห่งชาติ "Fresh Air" ดร. เออร์รี่เป็นที่รู้จักระดับประเทศทางด้านการเขียนเรียงความและเป็นนักวิจารณ์วัฒนธรรมอเมริกัน และท่านยังเป็นผู้อำนวยการศูนย์มนุษยชาติ ท่านมีความเชี่ยวชาญทางด้านวรรณกรรมอเมริกันและอัฟริกันอเมริกันและอัตชีวประวัติอัฟริกันอเมริกัน
กลุ่ม A, B หรือ F: กฎหมายสากล — ศ. ดร. สตีเฟ่น เลอกอมสกี้ นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต ท่านเป็นอดีตผู้อำนวยการผู้ก่อตั้งสถาบันนิติศาสตร์กฎหมายสากลและเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัย การอพยพ และสิทธิมนุษยชนสากล
กลุ่ม A, B, E หรือ F: เศรษฐศาสตร์สากล — ศ. ดร. เจมส์ ลิตเติ้ล ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรกิจสากล นโยบายธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์พัฒนา ท่านมีอิทธิพลอย่างมากในการเผยแพร่หลักสูตรธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยวอชิงตันไปยังต่างประเทศ และท่านมีบทบาทสำคัญในการริเริ่มหลักสูตร MBA เพื่อผู้บริหารในมหาวิทยาลัยวอชิงตัน และมหาวิทยาลัยฟูดาน ณ นครเซี่ยงไฮ้ ปัจจุบันหลักสูตรดังกล่าวได้รับการจัดอันดับโดยนิตยสาร Financial Times ให้เป็นหลักสูตร EMBA ที่ดีที่สุดในประเทศจีน และติดอันดับ 8 ของโลก
กลุ่ม F: แพทยศาสตร์ — จอห์น เอฟ. แม็คดอนเนล อดีตประธานกรรมการบริษัท แม็คดอนเนลล์ ดักลาส คอร์ปอเรชั่น และผู้ก่อตั้งกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ (McDonnell International Scholars Academy) และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการสภามหาวิทยาลัยวอชิงตัน ท่านเป็นผู้สนับสนุนหลักในการศึกษานานาชาติ และเป็นผู้สนับสนุนริเริ่มแห่งกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ อีกทั้งท่านยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ โรงพยาบาล Barnes-Jewish หนึ่งในศูนย์กลางทางการแพทย์ชั้นนำสำหรับการวิจัยในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นพันธมิตรกันระหว่างโรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน
กลุ่ม A, B, C, D, E, หรือ F: การศึกษา — ศ. ดร. โรเบิร์ต อี. แตช คณบดีคณะศิลปศาสตร์ ท่านมีความเชี่ยวชาญในหลักสูตรริเริ่มเพื่อพัฒนาการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย รวมไปถึงวิถีทางในการย่นเวลาเพื่อจบการศึกษา และเพิ่มอัตราผู้สมัครระดับดุษฎีบัณฑิตได้อย่างน่าทึ่ง ท่านเคยเป็นผู้จัดการประชุมกองทุนเล่าเรียนเพื่อการศึกษานานาชาติ ณ กรุงปักกิ่ง (2548) และนคร เซี่ยงไฮ้ (2549) และล่าสุดท่านได้มีบทบาทสำคัญในบันทึกเหตุการณ์การศึกษาขั้นสูง ซึ่งเป็นหัวเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาระบบการจัดอันดับทางการศึกษาให้น่าเชื่อถือ และเป็นหลักสูตรการศึกษาที่ทันสมัยที่สุดในสหรัฐฯ
กลุ่ม A, B หรือ D: พืชศาสตร์ — ศ. ดร. ราล์ฟ เอส. ควอตราโน่ ศ.ประจำคณะศิลปศาสตร์และหัวหน้าคณะชีววิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์ หลุยส์ ท่านโด่งดังไปทั่วโลกด้านพืชศาสตร์ รูปแบบพัฒนาการของเมล็ดพันธุ์ และวิธีที่เมล็ดทำให้เซลล์มีคุณสมบัติหรือลักษณะพิเศษของพืชที่โตเต็มที่ในช่วงพัฒนาการของเมล็ดพันธุ์ ตัวอย่างพืชพื้นฐานที่อยู่ในงานทดลอง ได้แก่ วัชพืช และเมล็ดธัญพืชที่กำลังเติบโต
กลุ่ม A หรือ B: แพทยศาสตร์และสุขภาพ — ศ. ดร. แลร์รี่ ชาปิโร่ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารด้านการแพทย์และคณบดี มหาวิทยาลัยวอชิงตัน คณะแพทยศาสตร์ ซึ่ง U.S. News และ World report จัดอันดับให้เป็นหนึ่งในห้าคณะแพทยศาสตร์ที่ขึ้นชื่อมากที่สุดในประเทศ มากกว่า 1 ทศวรรษมาแล้วที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นคณะที่โดดเด่นมากที่สุดในสหรัฐฯ นอกจากนี้ ดร. ชาปิโร่ เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านพันธุกรรมเด็กที่มีชื่อเสียงระดับโลก
กลุ่ม C, D, E หรือ F: เศรษฐศาสตร์ — ชานซ์เซลเลอร์ มาร์ค ไร้ท์ตั้น ประธานบริหาร หนึ่งในมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยชั้นนำของสหรัฐฯ ที่มีงบประมาณประจำปี 1.6 พันล้านเหรียญดอลลาร์ และการวิจัยที่ได้รับเงินสนับสนุนรายปีมากกว่า 550 ล้านเหรียญดอลลาร์ ท่านเป็นอดีตประธาน MIT ช่วงก่อนปี 2538 และได้รับ “รางวัลอัจฉริยะ” จากแม็คอาร์เธอร์ สำหรับงานวิจัยที่โดดเด่นด้านเคมี ท่านเป็นอดีตประธานสมาคมมหาวิทยาลัยอเมริกา (มหาวิทยาลัย 62 แห่งชั้นนำในทวีปอเมริกาเหนือ) และหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ขั้นสูง
กลุ่ม A, B หรือ F: การแก้ไขปัญหาสังคม — ศ. ดร. โกตาม่า ยาดามะ ได้รับการยกย่องในเอเชียกลางในความพยายามริเริ่มความคิดให้บริการทางสังคมและโครงสร้างพื้นฐานนโยบายสาธารณะในประเทศด้อยพัฒนา ด้วยความท้าทายด้านการให้บริการมนุษยชนที่ยากลำบาก ท่านร่วมงานกับพันธมิตรมหาวิทยาลัยวอชิงตันและสถาบันสังคมแบบเปิดแห่งชาติในการอบรมผู้นำรุ่นใหม่ๆ เพื่อที่จะมาช่วยเหลือประเทศของพวกเขาในการสร้างระบบบริการทางสังคม ท่านยังเป็นทูตประจำกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ (McDonnell International Scholars Academy) ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กลุ่ม A, B หรือ E: วิศวกรรมศาสตร์และชีวแพทยศาสตร์ — ศ. ดร. แฟรงค์ ยิน ดำรงตำแหน่งประธาน หนึ่งในคณะที่โดดเด่นที่สุดของอเมริกา และเป็นผู้เชี่ยวชาญที่รู้จักกันเป็นอย่างดีทั่วโลกด้านเครื่องยนต์กลไก เซลล์ไฟฟ้าและเนื้อเยื่ออ่อน
กลุ่ม A, B หรือ F: ศิลปกรรม - คาร์มอน โคแลนจีโล คณบดีคนแรกแห่งสถาบันการศึกษาการออกแบบและทัศนศิลป์ แซม ฟอกซ์ แห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ซึ่งจะเป็นต้นแบบแห่งชาติในด้านการสร้างสรรค์ การศึกษา และงานแสดงนิทรรศการงานสหวิทยาการและความร่วมมือ ท่านมีความชำนาญทางด้านผลกระทบของสื่อดิจิตอลต่อศิลปะร่วมสมัยและการศึกษาด้านศิลปกรรม การศึกษาแบบสหวิทยาการและศิลปะร่วมสมัย
กลุ่ม A, B หรือ F: การบริหารธุรกิจ — ศ. ดร. มาเฮรดรา อาร์. กุปตา คณบดีวิทยาลัยธุรกิจโอลิน และศ.การบัญชีและการบริหาร ดร. กุปตาร่วมงานกับมหาวิทยาลัยฟูดาน ประเทศจีนในการนำเสนอหลักสูตร EMBA อันดับหนึ่งแก่ชาวจีน ณ นครเซี่ยงไฮ้ โดยหลักสูตรดังกล่าวใกล้เคียงกับหลักสูตร EMBA ของวิทยาลัยโอลิน ณ นครเซนต์ หลุยส์โดยใช้อาจารย์และหลักสูตรเดียวกัน ท่านดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบรรณาธิการ The Accounting Review, Journal of Management Accounting research, Canadian Accounting Review และ Accounting Horizons และเป็นที่ปรึกษาทั้งบริษัทรัฐและเอกชนและเป็นวิทยากรตามงานประชุมเชิงปฏิบัติการและการประชุมต่างๆ ทั่วโลก
กลุ่ม A, B, C หรือ F: สุขภาพ — ศ. ดร. เอ๊ดวาร์ด เอฟ. ลอเลอร์ คณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ สถาบันจอร์ช วอร์เรน บราวน์ ดร.ลอเลอร์มีประวัติโดดเด่นทางวิชาการด้านนโยบายเพื่อสุขภาพ ด้วยความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งเรื่องการดูแลสุขภาพ โครงการสวัสดิการสังคม และการฟื้นฟูสุขภาพ ระบบสุขภาพระดับสากล และการเจริญเติบโต
กลุ่ม A, B, C หรือ F: สิ่งแวดล้อมและพืชศาสตร์ — ศ. ดร. เอ็ดเวิร์ด เอส. มาเซียส รองอธิการบดีบริหารมหาวิทยาลัย คณบดีภาควิชาวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ ท่านมีความเชี่ยวชาญทางด้านมลภาวะทางอากาศ และกรณีศึกษามลภาวะทางอากาศ ณ แกรนด์แคนยอน ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงโด่งดัง อีกทั้ง ท่านยังเป็นผู้นำการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย และเป็นผู้สนับสนุนหลักด้านพืชศาสตร์ เคมี และการวิจัยทางชีววิทยา
กลุ่ม A, B, E หรือ F: ศิลปกรรมศาสตร์ - เจฟฟ์ ไพค์ คณบดีวิทยาลัยศิลปกรรมและสถาบันศิลปกรรมและการออกแบบ แซม ฟ็อก ท่านศึกษาด้านผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิตอลต่อศิลปกรรมศาสตร์และการออกแบบ และเป็นผู้สนับสนุนการเรียนการสอนของนักศึกษาศิลปกรรมระดับวิทยาลัยและปริญญาตรี อีกทั้งยังเป็นผู้สนับสนุนนโยบายการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อให้นักศึกษาศิลปกรรม ได้เรียนรู้เพิ่มในวิชาแขนงอื่น อาทิ การบริหาร วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
กลุ่ม A, B หรือ F: กฎหมายสากล — ศ. ดร. เค้นท์ ดี. ซีเวอร์รุด นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต คณบดีสถาบันนิติศาสตร์ ท่านเป็นนักวิชาการทางด้านการเจรจาต่อรอง การว่าความคดีซ้อน การประกันภัย และกระบวนการทางแพ่ง นอกจากนี้ ท่านยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารในสถาบันนิติศาสตร์ และล่าสุดท่านเพิ่งจะพ้นวาระตำแหน่งประธานสมาคมคณบดีด้านกฏหมายอเมริกัน
กลุ่ม A, B, E หรือ F: เศรษฐศาสตร์ — ศ. ดร. ปิง หวัง ประธานศิลปศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ ท่านมีความเชี่ยวชาญในด้านทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค เศรษฐศาสตร์การเงิน เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสุขภาพและสังคม การเติบโตและการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก
กลุ่ม B, E หรือ F: ศิลปศาสตร์ & วิทยาศาสตร์ — ศ. ดร. เจมส์ วี. เวิร์ช ผู้อำนวยการกองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติแม็คดอนเนลล์ (McDonnell International Scholars Academy) ด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ดร. เวิร์ชเป็นผู้นำหนึ่งในหลักสูตรกองทุนเล่าเรียนนานาชาติที่แหวกแนวมากที่สุดในโลก ซึ่งได้แก่ กองทุนเล่าเรียนเพื่อนักศึกษานานาชาติ แม็คดอนเนลล์ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ณ นครเซนต์หลุยส์ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านความทรงจำร่วมและเอกลักษณ์ร่วม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ