วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดอบรม ในหัวข้อ ราคาศุลกากรสำหรับการนำเข้าส่งออก

ข่าวทั่วไป Monday May 9, 2011 16:16 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 พ.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง ราคาศุลกากรสำหรับการนำเข้าส่งออก(เจาะลึกทุกประเด็นเกี่ยวกับราคาศุลกากร และเทคนิคการเอาตัวรอดจากการถูกตรวจสอบ) Customs Valuation for Import and Export อบรมวันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2554 ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4 ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค (ฝั่งโฮมโปรหรือ ตลาดเสรีมาร์เก็ต) ถนนศรีนครินทร์ Rational and Significance ปัจจุบันการสำแดงราคาศุลกากรยังพบปัญหาอยู่มาก โดยเป็นเรื่องที่กรมศุลกากรมักดำเนินการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย (Customs Post Audit) และมักมีปัญหาในทางปฏิบัติมากที่สุดในขณะนำเข้าหรือส่งออก ซึ่งหากสำแดงราคาศุลกากรต่ำหรือไม่ถูกต้อง ย่อมมีผลกระทบต่อการประเมินอากร ทำให้ต้องเสียอากรเพิ่มขึ้นรวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้งนี้ผู้ประกอบการนำเข้า/ส่งออก ตัวแทนฯลฯ มักมีโอกาสอย่างมากในการสำแดงราคาศุลกากรที่ผิดพลาดเนื่องมาจากความยากและความซับซ้อนในหลักเกณฑ์การกำหนดราคาศุลกากร ทั้งนี้ ระบบการประเมินราคาศุลกากรของไทยในอุตสาหกรรมต่าง ๆ นั้นยังคงมีการปฏิบัติที่ไม่ครบถ้วนและไม่สอดคล้องตามข้อตกลงการประเมินราคา GATT โดยเฉพาะการประเมินราคาศุลกากรในวัตถุดิบและสินค้าที่นำเข้ามาเพื่อผลิตแล้วขายต่อ หรือกรณีการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งหลาย ๆ ครั้งที่เจ้าหน้าที่กำหนดราคาศุลกากรโดยใช้ “ดุลพินิจ” ที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหลักเกณฑ์ของการประเมินราคาศุลกากรของไทยที่ไม่มีการบัญญัติหลักปฏิบัติเอาไว้ชัดเจน รวมทั้งการประเมินราคาศุลกากรที่ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 กฎกระทรวงต่าง ๆ นั้นไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ดังนั้น บริษัทฯ จึงทำการจัดอบรมสัมมนาหัวข้อ “ราคาศุลกากรสำหรับการนำเข้าส่งออก” ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกในการเข้าใจถึงวิธีการประเมินราคาศุลกากรโดยเจาะลึกทุกประเด็นที่เกี่ยวกับราคาศุลกากรรวมถึงเทคนิคการเอาตัวรอดจากการถูกตรวจสอบ Training Schedule 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-16.30 น - การประเมินราคาศุลกากรตามมาตรา 7 ของ GATT/WTO - สิทธิของผู้นำเข้าภายใต้การกำหนดราคาศุลกากรและการเลือกวิธีการกำหนดราคาศุลกากร - เงื่อนไขการปรับราคาศุลกากร และแนวทางการสำแดงราคา CIF ในกรณีต่อไปนี้ - ค่าขนส่ง ค่าประกันภัยกับเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ (INCOTERM) - ค่าบำเหน็จตัวแทนและนายหน้า - ค่าภาชนะบรรจุ ค่าบรรจุหีบห่อ และค่าวัสดุหรือบริการ (ที่เกิดขึ้นก่อนการนำเข้า) - ส่วนลด ดอกเบี้ย และค่าจัดการทางการเงิน - กรณีที่ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าสิทธิ์ (Royalty Fee) กรณี เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) สิทธิบัตร (Patent) และลิขสิทธิ์ (Copyright) - ไม่สามารถคำนวณค่าสิทธิได้ในขณะผ่านพิธีการ ควรปฏิบัติอย่างไร - ประโยคที่ว่า “ค่าสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับของที่นำเข้าไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นเงื่อนไขการขาย” นั้น มีประเด็นการตีความอย่างไร พร้อมตัวอย่าง - แนวทางการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยกรณีค่าสิทธิที่ต้องนำไปรวมในราคาศุลกากร - ประเด็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายค่าสิทธิของกรมสรรพากรที่กรมศุลกากรมักเพ่งเล็ง เพื่อปรับราคาศุลกากร - การจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ขาย ผู้นำเข้าจะต้องนำดอกเบี้ยนั้นมารวมกับราคาของ เพื่อคำนวณอากรหรือไม่ - การซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศและต้องเสียค่าติดตั้ง (Installation Fee) จะต้องเสียอากรขาเข้าหรือไม่ - กรณีการนำเข้า Hardware พร้อมกับ Software ในลักษณะ Complete Set และกรณีนำเข้าแยก เสียอากรอย่างไร - การนำเข้าสินค้า Information Technology ภายใต้ข้อตกลง ITA สามารถลดความเสี่ยงข้อพิพาทราคาศุลกากรได้หรือไม่ อย่างไร - การชำระเงินทางอ้อมประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ค่าการจัดการ (Management Fee) ค่าโฆษณา (Advertising Fee) เป็นต้น ต้องนำมารวมกับราคาสินค้านำเข้าเพื่อเสียภาษีหรือไม่ - กรณีเจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจในการกำหนดราคาศุลกากร ผู้ประกอบการจะมีแนบทางการโต้แย้งอย่างไร - ปัจจุบัน กรมศุลกากรมีแนวทางการจัดเก็บภาษีจากการนำเข้า Software มาทางอินเตอร์เน็ตหรือไม่อย่างไร - กรณีของขวัญ ของตัวอย่าง ของส่งเสริมการขาย การขายฝาก ของให้เช่า และของยืมมา ของต่าง ๆ เหล่านี้ จะมีการประเมินราคาศุลกากรอย่างไร - ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายมีผลกระทบต่อการกำหนดราคาศุลกากรนั้น มีการตีความอย่างไร - เมื่ออัตราอากรเป็นศูนย์ภายใต้ความตกลง FTA กับประเทศต่าง ๆ ผู้นำเข้ายังมีความเสี่ยงต่อการสำแดงราคาศุลกากรหรือไม่ อย่างไร - เทคนิคในการบริหารความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย (Post Audit) กรณีราคาศุลกากร - กรณีศึกษาราคาศุลกากรที่อุตสาหกรรมต่าง ๆ มักผิดพลาดและศุลกากรมักเพ่งเล็ง - การระงับข้อผิดพลาดในการประเมินราคาศุลกากร การวางประกัน การสงวนสิทธิโต้แย้ง การอุทธรณ์ การฟ้องศาล และการระงับข้อพิพาทในการประเมินราคาศุลกากรขององค์การค้าโลก (WTO) - Update การกำหนดราคาศุลกากรทั้ง 6 วิธีโดยกรมศุลกากรไทย พร้อมกรณีศึกษาในแต่ละวิธี - ราคาซื้อขายที่นำเข้า (Transaction Value of Imported Goods) - ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน (Transaction Value of Identical Goods) - ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน (Transaction Value of Similar Goods) - ราคาหักทอน (Deductive Value Method) - ราคาคำนวณ (Computed Value Method) - ราคาย้อนกลับ (Fall Back Method) Instructor ดร.สิทธิชัย พรหมสุวรรณ ผู้ชำนาญการศุลกากร กรมศุลกากร Partner ของ กลุ่มบริษัทสยามเคาน์ซิล อดีตผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด Registration Fee ท่านละ 3,000 บาท + ภาษี 7 % = 3,210 บาท กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510 How to Apply สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือ แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231 E-mail: ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ Payment Method เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด) Notice of Cancellation ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน Remark การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ