ภาวะตลาดทองคำวันนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 10, 2011 11:21 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 พ.ค.--เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์ ข้อมูลทองคำวันนี้ - ราคาสมาคม เปิดที่ 21,500 - 21,600 - ราคา Gold Spot เปิดที่ 1,509.80 - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท 30.17 — 30.20 - GFM11 Hi- Low 21,770 — 21,630 ปิดที่ 21,730 Gold & Silver Insight สัญญาทองคำ และ โลหะเงินตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 11.60 ดอลลาร์ หรือ 0.8% ปิดที่ 1,503.20 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,489.00-1,512.00 ดอลลาร์ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.พุ่งขึ้น 1.829 ดอลลาร์ ปิดที่ 37.116 ดอลลาร์/ออนซ์ จากการที่นักลงทุนเข้าซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป หลังจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซ นอกจากนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความไม่สงบทางการเมืองในซีเรียและอียิปต์ยังเป็นอีกปัจจัยที่กระตุ้นให้นักลงทุนเข้าซื้อทองเช่นกัน ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปิดบวก 45.94 จุด หรือ 0.36% แตะที่ 12,684.68 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดขยับขึ้น 6.09 จุด หรือ 0.45% แตะที่ 1,346.29 จุด และดัชนี Nasdaq ปิดบวก 15.69 จุด หรือ 0.55% แตะที่ 2,843.25 จุด เพราะได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงานและกลุ่มโลหะ หลังจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก รวมถึงราคาน้ำมัน ทะยานขึ้นแข็งแกร่ง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวช่วยลดผลกระทบจากข่าวสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซ สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 5.37 ดอลลาร์ หรือ 5.53% ปิดที่ 102.55 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ และสถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองในซีเรียช่วยหนุนให้มีแรงซื้อส่งเข้ามาในสัญญาน้ำมันดิบอย่างหนาแน่น กองทุน SPDR Gold Trust กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. วันที่ 10 พฤษภาคม ขายออก 3.44ตัน เปลี่ยนแปลงการถือครองจากระดับ 1205.39ตัน เข้าสู่ระดับ 1201.95ตัน USD/EU ค่าเงินยูโรดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (9 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงให้น้ำหนักกับการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าวช่วยลดผลกระทบจากการที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซ ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้น 0.31% แตะที่ 1.4352 ดอลล่าร์ต่อยูโร จากระดับของวันศุกร์ที่ 1.4308 ดอลล่าร์ต่อยูโร โดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลยูโรเช้านี้เปิดอยู่ที่ระดับ 1.4341 ดอลล่าร์ต่อยูโร USD/JPY ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น 0.52% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ 80.20 เยนต่อดอลลาร์ จากระดับของวันศุกร์ที่ 80.62 เยนต่อดอลลาร์ โดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลเยนเช้านี้เปิดอยู่ที่ระดับ 80.31 เยนต่อดอลลาร์ USD/THB ค่าเงินบาทปิดตลาดวานนี้ อยู่ที่ระดับ 30.18-30.21 บาทต่อดอลล่าร์ ซึ่งไม่มีการเคลื่อนไหวมากนักระหว่างวัน ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 30.17-30.20 บาทต่อดอลล่าร์ ข่าวเศรษฐกิจโลก - คอนเฟอเรนซ์ บอร์ด ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยอิสระชั้นนำระดับโลก เปิดเผยว่า ดัชนีแนวโน้มการจ้างงานเดือนเม.ย.ของสหรัฐลดลง 0.6% สู่ระดับ 100.5 จุด จากระดับ 101.1 จุดของเดือนมี.ค. ซึ่งเป็นการลดลงรายเดือนมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย. 2553 - สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงสู่ระดับ B จากระดับ BB- เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่ว่ากรีซอาจจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือด้านการเงินเพิ่มเติม หรืออาจต้องปรับโครงสร้างหนี้ เอสแอนพีเตือนว่า อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงอีก อันเนื่องมาจากความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงขึ้น ซึ่งหากมีการลดอันดับความน่าเชื่อถืออีก ก็จะทำให้ความน่าเชื่อถือของกรีซอยู่ในระดับต่ำสุดในกลุ่มประเทศยุโรป - อีซีบีจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกในไม่ช้านี้ หลังจากอัตราเงินเฟ้อในยูโรโซนเดือนเม.ย.พุ่งแตะ 2.8% ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกลางยุโรปกำหนดไว้ที่ 2%ส่วนในการประชุมเมื่อวันที่ 4 พ.ค.ที่ผ่านมานั้น คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของอีซีบีมีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ 1.25% โดยมีเป้าหมายที่จะประเมินผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเมื่อเดือนที่แล้ว - สถานการณ์ตึงเครียดทางการเมืองและการชุมนุมประท้วงทั้งในซีเรียและอียิปต์ จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลายคน ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาการลำเลียงน้ำมันในตะวันออกกลาง ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าจับตา อาทิตย์ที่ ข้อมูลที่น่าจับตา ตัวเลขเดิม ตัวเลข คาดการณ์ ตัวเลขจริง 9 — 10พฤษภาคม2554 วัน - - - - จันทร์ วัน ? Import Prices m/m 2.7% 1.8% อังคาร

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ