กรุงเทพฯ--10 พ.ค.--ปตท.
ฝ่ายบริหารความเสี่ยงราคาและวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันว่า ราคาน้ำมันดิบสัปดาห์ที่ 2-6 พ.ค. 54 น้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เฉลี่ยลดลงจากสัปดาห์ก่อน 5.65 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล อยู่ที่ระดับ 112.60 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 7.03 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล อยู่ที่ 117.74 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล และน้ำมันดิบเวสเท็กซัส (WTI) ปรับตัวลดลง 6.65 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรลอยู่ที่ 106.16 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันเบนซินลดลง 0.58 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล อยู่ที่ 133.91 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 5.29 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล อยู่ที่ 132.91 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล ทั้งนี้ตลาดน้ำมันสิงคโปร์ปิดทำการในวันที่ 2 พ.ค. 54 เนื่องจากหยุดชดเชยวันแรงงาน โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาได้แก่
(-) เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเงินยูโรเฉลี่ยแข็งค่าขึ้นจากสัปดาห์ก่อน โดยในวันที่ 5 พ.ค. 54 ดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น
ประมาณ 2% ภายหลังจากการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยโดยคงไว้ที่ระดับ
1.25% ส่งผลให้นักลงทุนเข้าซื้อดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นทำให้สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่เดือน ส.ค. 53
(-) Markit/CIP รายงานดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Purchasing Manager Index) ของอังกฤษในเดือน มี.ค.
54 ลดลงจากเดือนก่อน 2.4 จุด อยู่ที่ระดับ 54.6 จุด ลดลงสูงสุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 53
(-) ดัชนีชี้วัดการผลิตภาคอุตสาหกรรม (Purchasing Manager Index) ของญี่ปุ่นในเดือน มี.ค. 54 ลดลงจากเดือนก่อน
6.5 จุด อยู่ที่ระดับ 46.4 จุด ลดลงสูงสุดเป็นประวัติการณ์
(-) สำนักงานสถิติแห่งชาติของสเปน (The National Statistic Research) รายงานอัตราการว่างงานไตรมาสแรกของปี 54
อยู่ที่ระดับ 21.3% สูงสุดในรอบ 14 ปี
(-) กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานอัตราการว่างงาน เดือน เม.ย. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.2% อยู่ที่ระดับ 9%
(-) Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่29 เม.ย. 54 เพิ่มขึ้น 3.4 MMB อยู่ที่ระดับ 366.6 MMB เป็นระดับสำรองสูงสุดตั้งแต่เดือน ต.ค. 53
(-) กระทรวงพลังงานรัสเซียรายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือน เม.ย. 54 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.05 MMBD อยู่ที่
ระดับ 10.24 MMBD
(+)OPEC ผลิตน้ำมันดิบในเดือน เม.ย. 54 ลดลง 0.60 MMBD อยู่ที่ระดับ 28.42 MMBD เนื่องจากความไม่สงบใน
ประเทศลิเบีย และการปิดการซ่อมบำรุงแหล่งผลิตในแองโกลา
(+)กระทรวงพลังงานอินเดียรายงานอินเดียกลั่นน้ำมันในเดือน มี.ค. 54 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.15 MMBD อยู่
ที่ระดับ 3.15 MMBD
(+)1 พ.ค. 54 กลุ่มต่อต้านรัฐบาลโคลัมเบียวางระเบิดท่อขนส่งน้ำมันดิบ Cano Limon-Covenus (80 KBD) เป็นครั้งที่ 3
ตั้งแต่ปลายเดือน ก.พ. 54
สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI และ Brent มีแนวรับที่ 94 USD/BBL และแนวต้านที่ 102 USD/BBL และ 104 USD/BBL และ113 USD/BBL ตามลำดับ โดยช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบทำสถิติลดลงรายวันสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีสาเหตุหลักจากการเทขายทำกำไรของนักลงทุนและผู้ค้าในตลาด เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจโลก และความกังวลของนักลงทุนต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูงอาจส่งผลให้อุปสงค์ชะลอตัวอย่างรุนแรง (Demand Destruction) ส่งผลให้มีการปรับฐาน (Correction) ของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์มาอยู่ในระดับที่ต่ำลง นอกจากนี้รัฐบาลจีนอาจเพิ่มมาตรการคุมเข้มทางการเงินเข้มข้นขึ้นเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นกว่าระดับ 4% ขณะที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 5.4% อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีสัญญาณฟื้นตัวจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) รายงานยอดใช้บัตรเครดิตในเดือน มี.ค. 54 เพิ่มขึ้น 6,020 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (M-O-M) อยู่ที่ 2.43 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 4,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเหตุการณ์เสียชีวิตของ นาย Osama bin Laden อาจกระตุ้นให้เกิดการตอบโต้ของผู้ก่อการร้าย ให้ติดตามตัวเลขทางเศรษฐกิจสำคัญที่จะประกาศในสัปดาห์นี้ อาทิ Jobless Claims, Retail Sales, Producer Price Index และ Consumer Price Index ของสหรัฐฯ และติดตามสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศผู้ผลิตน้ำมันอย่างใกล้ชิดเนื่องจากส่งผลทางจิตวิทยาต่อนักลงทุนเกี่ยวกับอุปทานน้ำมัน และส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา
โทร. 0 2537-1630 ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
โทรสาร 0 2537 2171