วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดอบรม ในหัวข้อ การใช้มาตรการทางวินัย ในการจัดการปัญหาด้านแรงงาน โดยชอบด้วยกฎหมาย และ เป็นธรรมทั้งลูกจ้าง และนายจ้าง

ข่าวทั่วไป Wednesday May 11, 2011 15:16 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 พ.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง การใช้มาตรการทางวินัยในการจัดการปัญหาด้านแรงงานโดยชอบด้วยกฎหมาย และ เป็นธรรมทั้งลูกจ้าง และนายจ้าง Rule and Regulation for Labor Management Issues อบรมวันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2554 ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ (KEEN Conference)ชั้น 4 ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค (ฝั่งโฮมโปรหรือ ตลาดเสรีมาร์เก็ต) ถนนศรีนครินทร์ Rational and Significance ในทุกกิจการ เมื่อแรกรับบุคคลเข้าทำงาน ส่วนใหญ่เกือบจะไม่มีปัญหา แต่หลังจากทำงานร่วมกันมาระยะหนึ่ง ลูกจ้างบางคน ก็เริ่มมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน มีการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ไม่เหมาะสม มีการฝ่าฝืนข้อกำหนด ที่กำหนดให้ประพฤติปฏิบัติ ฝ่าฝืนข้อห้ามที่ห้ามมิให้ประพฤติปฏิบัติ ในเบื้องต้น ควรใช้มาตรการในทางบวก ในการระวัง ดูแล และ ป้องกัน หากเกินกำลัง จึงต้องใช้มาตรการเยียวยาแก้ไข หากฝ่ายนายจ้าง ไม่มีความเข้าใจในการใช้มาตรการทางวินัยในการเยียวยาแก้ไข เมื่อถึงคราวที่จะต้องลงโทษลูกจ้าง ก็ทำไม่ถูกต้อง เมื่อลูกจ้างฟ้องศาลแรงงาน ก็ปรากฏว่าฝ่ายนายจ้างเป็นฝ่ายแพ้คดีเป็นส่วนใหญ่ (แพ้คดีประมาณ 80%) จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญสำหรับฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ ฝ่ายการพนักงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายกฎหมาย รวมทั้งผู้บริหารทุกระดับ โดยวิทยากรได้คัดเลือกคำพิพากษาฎีกาต่างๆ ในส่วนที่ฝ่ายนายจ้างชนะคดี (ที่มีอยู่ประมาณ 20%) มาเป็นตัวอย่างให้คำแนะนำ สำหรับนำมาใช้ในกรณีจำเป็น เพื่อแก้ปัญหาที่ได้ผลและถูกต้อง Training Schedule 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-16.30 น 1. ความหมายของวินัยในการทำงาน 2. การใช้มาตรการทางวินัยเชิงสร้างสรรรค์ 3. ความหมายของการสอบสวน 4. เทคนิคการสอบสวนข้อเท็จจริง ที่ทำให้ได้ความจริง และ มีความยุติธรรม 5. เทคนิคการสอบสวนที่ดีมีอย่างไร 7. เทคนิคการเตรียมการสอบสวนที่รอบคอบ 8. เทคนิคการรวบรวมพยานหลักฐาน - ประเภทของพยาน พยานบุคคล พยานเอกสาร วัตถุพยาน 9. เทคนิคการจัดทำรายงานการสอบสวน 10. ขั้นตอนการใช้มาตรการในการลงโทษ - ข้อบังคับ/ตัวบทกฎหมาย/คำพิพากษาฎีกา/ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง แตกต่างกันอย่างไร - ทำไมเหตุที่มีอยู่จริง ไม่ระบุในคำสั่งเลิกจ้าง นายจ้างจะนำมาอ้างใช้ต่อสู้คดีไม่ได้ - การสั่งพักงานเพื่อรอผลคดี ทำไมจึงมักทำให้นายจ้างเสียหายร้ายแรง - สอบสวนแล้วไม่ผิดตามข้อกล่าวหา ทำไมจึงลงโทษตามการแจ้งข้อหาที่เพิ่มในภายหลังได้ - การกำหนดโทษไว้ล่วงหน้าในความผิดแต่ละครั้งทำไมจึงมักทำให้นายจ้างเสียหายร้ายแรง - ความผิดเหมือนกัน เหตุใดศาลฎีกายอมให้นายจ้างลงโทษต่างกันได้ และ ถือว่าเป็นธรรมแล้ว - เพียงความประพฤติส่วนตัวที่ไม่เหมาะสม ทำไมศาลฎีกายอมให้เลิกจ้างได้ - หลักเกณฑ์การออกหนังสือเตือนได้นั้น มีอย่างไร - ลักษณะคำเตือนที่รัดกุม ถูกต้องตามแนวของศาลฎีกา 6 ประการ มีอะไรบ้าง - วิธีแจ้งคำเตือนเป็นหนังสือที่ลูกจ้างมิได้ลงนามรับทราบ แต่มีผลสมบรูณ์ มีอย่างไร - การเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงาน 5 ประการ มีอย่างไร 11. เหตุลดหย่อนโทษ 12. คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัยที่ต้องให้ความสนใจ 13. ทำผิดครั้งเดียว ทำไมจึงลงโทษหลายสถานได้ - ลงชื่อทำงานล่วงเวลา (นอกเวลาทำงาน) แต่ไม่มาทำ ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่ได้หรือไม่ - มีใบรับรองแพทย์มายืนยันการป่วยเจ็บ แต่นายจ้างไม่เชื่อ ทำไมจึงเลิกจ้างได้ - อ้างเหตุเลิกจ้างไม่ตรงความผิด ทำไมศาลฎีกาให้เลิกจ้างได้ - ทำไมทำผิดนอกสถานที่ทำงาน นอกเวลางาน และ ไม่เกี่ยวกับงาน ศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรม - ทำไมการทะเลาะวิวาทที่มิได้บาดเจ็บร้ายแรง ศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - ต่อยหัวหน้า นอกโรงงาน ทำไมศาลฎีกาให้เลิกจ้างได้ - ผู้บังคับบัญชามิได้กระทำความผิด เพียงแต่บกพร่องในการดูแลลูกน้องเท่านั้น ทำไมศาลฎีกาให้เลิกจ้างได้ - ลูกจ้างพูดจาไม่สุภาพต่อนายจ้าง ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - ลูกจ้างมิได้กระทำความผิด แต่นายจ้างไม่ไว้วางใจ ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - เพียงหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - ขาดงาน 2 วัน แม้มีเหตุผลอันสมควร ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - หลับในเวลาทำงานเพียง 2 ชั่วโมง ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - นายจ้างเพิ่งเลิกจ้างลูกจ้างที่ทำผิดมาเกิน 1 ปีแล้ว ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - เพียงทำงานไม่ได้มาตรฐานเท่านั้นหรือ ที่ศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - เล่นการพนัน นอกโรงงาน ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - เพียงหยอกล้อกันในเวลาทำงาน ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - เพียงนำของมาขายในเวลาทำงาน ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - ไม่มาทำงานเพียง 1 วันเท่านั้น ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - เพียงไม่เข้าร่วมประชุมแค่ครั้งเดียว ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - เพียงขอลดหย่อนชำระหนี้ น้อยกว่าหนี้จริง ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - ลงเวลามาทำงานทุกวัน ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเพราะละทิ้งหน้าที่เป็นธรรมแล้ว - ทำผิดระเบียบที่ไม่ร้ายแรง ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - ลูกค้าให้เงินโดยเสน่หา มิได้เรียกร้องใดๆ ทำไมจึงถือว่า เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ - ทำเงินขาดบัญชีเพียงเล็กน้อย ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - ลูกจ้างไปทำงานผิดสถานที่เท่านั้น ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - ศาลมีคำพิพากษาเป็นที่สุดให้รอการลงโทษ ทำไมศาลฎีกาถือว่าเลิกจ้างเป็นธรรมแล้ว - จากคำพิพากษาฎีกาต่างๆ ที่วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวข้างต้นแม้จะมีน้อยกว่ากรณีที่นายจ้างแพ้คดีก็ตาม แต่ถ้าหากท่านมี - ความเข้าใจถูกต้อง ท่านสามารถนำมาใช้จัดการกับพนักงานที่มีปัญหาที่ไม่ต้องการจ้างได้โดยชอบตามกฎหมาย ช่องทาง - สำหรับจัดการตามกฎหมายมีอยู่ และเมื่อเป็นคดีกัน ท่านก็เป็นฝ่ายได้เปรียบ หากรู้เท่าทันในกฎหมาย โดยนำมาใช้ในเวลาและจังหวะที่เหมาะสม Instructor อ.รุ่งเรือง บุตรประคนธ์ - ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน - อาจารย์สอนปริญญาโทในวิชากฎหมายแรงงาน และคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงาน - ผู้ศึกษาค้นคว้าคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานมามากกว่า 45,000 คดี - ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและกฎหมายแรงงานให้แก่กิจการภาคเอกชน Registration Fee ท่านละ 3,200 บาท + ภาษี 7 % = 3,424 บาท กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510 How to Apply สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือ แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ