รายงานสถานการณ์อุทกภัย ภัยแล้ง ปริมาณน้ำฝน และสภาวะอากาศ วันที่ 4 พฤษภาคม 2550 เวลา 07.00 น.

ข่าวทั่วไป Friday May 4, 2007 09:27 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 พ.ค.--ปภ.
สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอรายงานสถานการณ์อุทกภัย ภัยแล้ง ปริมาณน้ำฝน และสภาวะอากาศ (ข้อมูล ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2550) ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์อุทกภัยจากอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นในอ่าวไทย ระหว่างวันที่ 28 เมษายน - 3 พฤษภาคม 2550 ได้เกิดพายุดีเปรสชั่นพัดเข้าสู่บริเวณอ่าวไทยทำให้เกิดฝนตกหนักเป็นเหตุให้บางพื้นที่ของ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีน้ำท่วมขังใน 7 อำเภอ 35 ตำบล 1 เทศบาล ได้แก่ อำเภอบางสะพาน (7 ตำบล) อำเภอทับสะแก (6 ตำบล) อำเภอปราณบุรี (6 ตำบล) อำเภอบางสะพานน้อย (5 ตำบล) อำเภอเมือง (5 ตำบล) อำเภอกุยบุรี (6 ตำบล) และ อำเภอหัวหิน (เทศบาล)
1) ความเสียหาย
ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 712 ครัวเรือน 2,660 คน ถนน 48 สาย 20 แห่ง ทำนบ/ฝาย 58 ท่อระบายน้ำ 19 แห่ง ความเสียหายอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม
2) สถานการณ์ปัจจุบัน
ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ อำเภอบางสะพาน (เนื่องจากระบายน้ำไม่ทันและมีน้ำทะเลหนุน) จำนวน 7 ตำบล ได้แก่ ตำบลกำเนิดนพคุณ ตำบลแม่รำพึง ตำบลพงศ์ประศาสน์ ตำบลทองมงคล ตำบลรอนทอง ตำบลชัยเกษม และตำบลธงชัย ระดับน้ำสูง 0.10 ม. แนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง
แนวโน้มสถานการณ์หากไม่มีฝนตกหนักเพิ่มในคืนนี้ คาดว่าระดับน้ำที่ท่วมขังจะลดลง เข้าสู่ภาวะปกติในเช้าวันพรุ่งนี้
การให้ความช่วยเหลือ
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ อบต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว
2. ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 20 (146/2550) เรื่อง พายุดีเปรสชั่น ประกาศ ณ วันที่ 4 พฤษภาคม 2550 เวลา 06.00 น ดังนี้
พายุดีเปรสชั่นในทะเลอันดามัน เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (4 พฤษภาคม 2550) มีศูนย์กลางอยู่ห่างจากจังหวัดตากไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 700 กิโลเมตร หรือ ที่ละติจูด 14.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 93.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 55 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้ยังคงเคลื่อนตัวทางเหนือค่อนทางตะวันตกอย่างช้า ๆ คาดว่าจะเคลื่อนเข้าประเทศพม่าในระยะต่อไป ลักษณะดังกล่าว จะทำให้บริเวณด้านตะวันตกของประเทศตั้งแต่ภาคเหนือลงไปถึงภาคใต้มีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากได้บางพื้นที่บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรีประจวบคีรีขันธ์และชุมพร จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณจังหวัดดังกล่าวมาระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากที่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมในอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง โดยจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติในวันพรุ่งนี้ ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตกจะยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นและคลื่นลมในทะเล อันดามันยังคงมีกำลังแรงต่อไปอีก 1-2 วัน
3. ปริมาณน้ำฝน ตั้งแต่ 01.00 น. วันที่ 3 พ.ค.50 ถึง 01.00 น. วันที่ 4 พ.ค. 50 ดังนี้
จังหวัดเพชรบูรณ์ (อ.วิเชียรบุรี) 30.5 มม. จังหวัดหนองคาย (อ.เมือง) 20.6 มม.
จังหวัดราชบุรี (อ.เมือง) 92.3 มม. จังหวัดชลบุรี (อ.สัตหีบ) 79.5 มม.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อ.หัวหิน) 119.0 มม. จังหวัดภูเก็ต (อ.เมือง) 38.3 มม.
กรุงเทพมหานคร (เขตบางขุนเทียน) 57.0 มม.
4. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ
อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (3 พฤษภาคม 2550) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯทั้งหมด 46,113 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 67 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด มากกว่าปี 2549 (43,665 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 2,448 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 3 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำภูมิพลและอ่างเก็บน้ำสิริกิติ์มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 8,718 และ 5,825 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 65 และ 61 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำ ทั้งสองอ่างฯรวมกัน จำนวน 14,543 ล้านลูกบาศก์เมตร
5. สถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 3 พฤษภาคม 2550) ดังนี้
5.1 พื้นที่ประสบภัย รวม 31 จังหวัด 232 อำเภอ 27 กิ่งฯ 1,330 ตำบล 6,973 หมู่บ้าน ดังนี้
ลำดับที่ ภาค จังหวัด พื้นที่ประสบภัย
1 ภาคเหนือ 10 กำแพงเพชร ลำปาง ตาก ลำพูน พิจิตร เชียงใหม่ พิษณุโลก แม่ฮ่องสอน นครสวรรค์ และอุทัยธานี
2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มุกดาหาร ยโสธร ชัยภูมิ บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ หนองบัวลำภู สกลนคร อุดรธานี ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี มหาสารคาม สุรินทร์ และร้อยเอ็ด
3 ภาคกลาง 3 สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และลพบุรี
4 ภาคตะวันออก 2 สระแก้ว และปราจีนบุรี
รวม 31 รวม 31 จังหวัด 232 อำเภอ 27 กิ่งฯ 1,330 ตำบล 6,973 หมู่บ้าน
5.2 ราษฎรเดือดร้อน จำนวน 2,141,931 คน 672,825 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบ จำนวน 127,913 ไร่ (จำนวนครัวเรือนที่เดือดร้อน คิดเป็นร้อยละ 8.51 ของครัวเรือนทั้งหมด 7,906,880 ครัวเรือน ใน 31 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง)
5.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) การจัดหาน้ำเพื่อการเกษตร
(1) การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 1,725 เครื่อง แยกเป็น
- จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 888 เครื่อง
- กรมชลประทาน ได้สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ รวม 766 เครื่อง แยกเป็นเพื่อการเพาะปลูก 699 เครื่อง เพื่อการอุปโภคบริโภค 67 เครื่อง
(2) จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างทำนบ/ฝายเก็บกักน้ำ (ชั่วคราว) 13,562 แห่ง
(3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 3,581 แห่ง
2) การปรับปรุงซ่อมแซมและสร้างภาชนะเก็บน้ำ
- การปรับปรุงซ่อมแซมภาชนะเก็บน้ำ
ถังเก็บน้ำ คสล. 1,041 แห่ง ถังปูนฉาบ 509 แห่ง
ถังไฟเบอร์ 912 แห่ง เป่าล้างบ่อบาดาล 1,747 แห่ง
หอถังระบบประปาหมู่บ้าน 986 แห่ง หอถังระบบประปาภูเขา 999 แห่ง
- การสร้างภาชนะเก็บน้ำ
ถังเก็บน้ำ คสล. 147 แห่ง ถังปูนฉาบ 171 แห่ง
ถังเหล็ก 165 แห่ง ถังไฟเบอร์ 159 แห่ง
โอ่งซีเมนต์ 1,149 แห่ง หอถังระบบประปาหมู่บ้าน 177 แห่ง
หอถังระบบประปาภูเขา 10 แห่ง บ่อน้ำตื้น 127 แห่ง
3) การแจกจ่ายน้ำอุปโภค/บริโภค ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,917 คัน
แจกจ่ายน้ำ 77,235 เที่ยว จำนวน 650,562,567 ลิตร
4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว จำนวน 554,796,982 บาท แยกเป็น
(1) งบทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) 496,550,047 บาท
(2) งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 42,982,142 บาท
(3) งบอื่นๆ 15,264,793 บาท
6. สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศ ดังนี้
เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย ดินถล่ม ฝนตกหนักอันเกิดจากอิทธิพลพายุดีเปรสชั่นในทะเลอันดามัน ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและด้านตะวันตก โดยเฉพาะจังหวัดตาก กำแพงเพชร สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี พิษณุโลก แพร่ น่าน แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา ในระยะเวลา 3-4 วันนี้ (3-6 พ.ค.2550 และขอให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 8,9,10 และจังหวัดที่อาจจะได้รับผลกระทบ แจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวังอันตรายอันเกิดจากภัยธรรมชาติ และขอให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
7. ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์คืบหน้าประการใด จักได้ติดตามและรายงานให้ทราบต่อไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ