สถานการณ์ราคาน้ำมันประจำสัปดาห์ และแนวโน้มในสัปดาห์นี้ ที่ 16-20 พ.ค. 54

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 18, 2011 14:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 พ.ค.--ปตท. ฝ่ายบริหารความเสี่ยงราคาและวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันว่า ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ที่ 9-13 พ.ค. 54 น้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง จากสัปดาห์ก่อน 4.47 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล อยู่ที่ระดับ 108.13 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล น้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 3.16 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล อยู่ที่ 114.58 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล และน้ำมันดิบเวสเท็กซัส (WTI) ปรับตัวลดลง 5.27 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรลอยู่ที่ 100.71 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันเบนซินลดลง 6.36 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล อยู่ที่ 127.55 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 7.17 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล อยู่ที่ 125.74 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล โดยปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาได้แก่ (-) หน่วยงานด้านพลังงานชั้นนำลดอุปสงค์น้ำมันโลกปี 54 อาทิ International Energy Administration (IEA) ปรับลดประมาณการณ์อัตราการเติบโตอุปสงค์น้ำมันโลกปี 2554 มาอยู่ที่ 1.3 MMBD (-0.13 MMBD จากคาดการณ์ครั้งก่อน) โดยอุปสงค์น้ำมันโลกจะอยู่ที่ 89.2 MMBD และ Energy Information Administration (EIA) ปรับลดอัตราการเติบโตอุปสงค์มาอยู่ที่ 1.4 MMBD (-0.12 MMBD จากการคาดการณ์ครั้งก่อน) โดยคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกปี 54 อยู่ที่ 88.08 MMBD อย่างไรก็ตาม OPEC คงประมาณการณ์เดิมที่ 1.4 MMBD โดยอุปสงค์อยู่ที่ระดับ 88.08 MMBD (-) ธนาคารกลางจีนเพิ่มอัตราส่วนเงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์ 0.5 % อยู่ที่ 21% มีผลบังคับใช้ 18 พ.ค. 54 ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นับเป็นการปรับเพิ่มครั้งที่ 5 ภายในปีนี้ และเป็นครั้งที่ 8 ตั้งแต่ ต.ค. 53 (-) สหภาพยุโรปประเมินว่ากรีซไม่สามารถระดมทุนจากตลาดเงินในปี 2555 ตามที่คาดการณ์ไว้เพราะสภาพเศรษฐกิจโดยรวมยังไม่กระเตื้อง และอาจต้องขอความช่วยเหลือทางการเงิน (-) ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานอัตราการว่างงานเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 0.2% (M-O-M) มาอยู่ที่ 9% (-) Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรอง น้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 6 พ.ค. 54 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน อยู่ที่ 370.3 MMB (+3.8 MMB), Gasoline อยู่ที่ 205.8 MMB (+1.3 MMB) อย่างไรก็ตาม Distillates อยู่ที่ 144.3 MMB (-0.8 MMB) (+) ยอดเกินดุลการค้าของจีนในเดือน เม.ย. 54 อยู่ที่ระดับ 11.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่าส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 156 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (+29.9% Y-O-Y) (+) General Administration of Customs รายงานปริมาณนำเข้าน้ำมันดิบของจีนเดือน เม.ย. 54 ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 5.24 MMBD (+1.7% Y-O-Y) (+) บริษัท Alon USA Energy แถลงปัญหาน้ำท่วมจากแม่น้ำ Mississippi และ Atchafalaya ยังเป็นอุปสรรคในการขนส่งน้ำมันดิบไปยังโรงกลั่นทางตอนใต้ของสหรัฐฯ (+) Platts รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของประเทศกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมัน หรือ OPEC (ไม่รวมอิรัก) ในเดือน เม.ย. 54 ลดลง 0.34 MMBD อยู่ที่ 26.18 MMBD โดยประเทศที่ผลิตลดลงได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย, ลิเบีย, และ แองโกลา (หากรวมอิรัก ปริมาณการผลิตอยู่ที่ 28.84 MMBD) สำหรับแนวโน้มสัปดาห์นี้ ในระยะสั้นคาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI และ Brent จะแกว่งตัวอยู่ที่ระดับ 97-103 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล และ 110-115 เหรียญสหรัฐฯ /บาร์เรล ตามลำดับ โดยราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลงจากการอ่อนตัวของค่าเงินยูโรหากกรีซต้องปรับโครงสร้างหนี้เพื่อแก้ปัญหาทางการเงินและราคาน้ำมันที่ทรงตัวในระดับสูงส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกอีกทั้ง ปัญหาเงินเฟ้อกดดันให้ธนาคารกลางต้องใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตาม หลังการประกาศอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปเดือน เม.ย. 54 ดีกว่าที่คาดการณ์โดยอยู่ที่ 0.8% ซึ่งเศรษฐกิจประเทศเยอรมนีเติบโตถึง 4.9% นอกจากนี้ความต้องการใช้น้ำมันของประเทศเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market) มีแนวโน้มแข็งแกร่งโดยเฉพาะจีนที่มีรายได้จากการส่งออกที่สูงขึ้น ส่งผลให้การนำเข้าน้ำมันดิบต่อวันเพิ่มขึ้นถึง 3% ในเดือน เม.ย. 54 และ Bank of America ประเมินอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ Emerging Market ในปี 2554 ที่ระดับ 6.5% อาจทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวลดลงไม่มากนัก นอกจากนี้ปัจจัยด้านการเมืองเป็นประเด็นน่าติดตามโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันอาทิ โครงการนิวเคลียร์ของอิหร่านที่เมือง Busher พร้อมจะเดินเครื่องใน 2-3 สัปดาห์นี้ และ ปฎิบัติการของกลุ่มก่อการร้ายในประเทศปากีสถาน ทั้งนี้ให้ติดตามปริมาณสำรองน้ำมันดิบของสหรัฐฯที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โทร. 0 2537-1630 โทรสาร 0 2537 2171

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ