ภาวะตลาดทองคำวันนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 19, 2011 10:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 พ.ค.--เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์ ข้อมูลทองคำวันนี้ - ราคาสมาคม เปิดที่ 21,400 - 21,500 - ราคา Gold Spot เปิดที่ 1,498.40 - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท 30.19 — 30.23 - GFM11 Hi- Low 21,640 — 21,600 ปิดที่ 21,620 Gold & Silver Insight สัญญาทองคำ และ โลหะเงินตลาด COMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 15.80 ดอลลาร์ หรือ 1.1% ปิดที่ 1,495.80 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังจากเคลื่อนตัวในช่วง 1,484.60-1,499.70 ดอลลาร์ ขณะที่สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ค.พุ่งขึ้น 1.606 ดอลลาร์ ปิดที่ 35.097 ดอลลาร์/ออนซ์ เนื่องจากนักลงทุนเข้าซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ หลังจากราคาน้ำมันดิบและธัญพืชพุ่งขึ้นอย่างร้อนแรง นอกจากนี้ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินของบางประเทศ ยังเป็นอีกปัจจัยที่หนุนสัญญาทองคำพุ่งขึ้นด้วย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปิดบวก 80.60 จุด แตะที่ 12560.18 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดบวก 11.70 จุด แตะที่ 1340.68 จุด ดัชนี Nasdaq ปิดบวก 31.79 จุด แตะที่ 2815.00 จุด เนื่องจากนักลงทุนขานรับผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทเดลล์ อิงค์ นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากการพุ่งขึ้นของหุ้นกลุ่มพลังงาน หลังจากราคาน้ำมันดิบทะยานขึ้นเหนือระดับ 100 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นผลมาจากสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่ปรับตัวลงอย่างเหนือความคาดหมายในรอบสัปดาห์ที่แล้ว สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนมิ.ย.พุ่งขึ้น 3.19 ดอลลาร์ หรือ 3.29% ปิดที่ 100.10 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากสำนักงานสารนิเทศด้านพลังงานของสหรัฐเปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่แล้วปรับตัวลดลงอย่างเหนือความคาดหมาย ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าความต้องการพลังงานในสหรัฐยังคงแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินของบางประเทศ กองทุน SPDR Gold Trust กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. วันที่ 19 พฤษภาคม ขายออก 0.91ตัน เปลี่ยนแปลงระดับการถือครอง 1192.25 ตัน เข้าสู่ระดับ 1191.34 ตัน USD/EU ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินเยนและฟรังค์สวิส ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (18 พ.ค.) เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วนี้ๆ หลังจากรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายของเฟดระบุว่า เจ้าหน้าที่เฟดหลายคนได้แสดงความวิตกกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่เป็นผลมาจากการพุ่งขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ค่าเงินยูโรขยับขึ้น 0.01% แตะที่ 1.4238 ดอลล่าร์ต่อยูโร จากระดับ 1.4237 ดอลล่าร์ต่อยูโร โดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลยูโรเช้านี้เปิดอยู่ที่ระดับ 1.4295 ดอลล่าร์ต่อยูโร USD/JPY ค่าเงินเยนร่วงลง 0.33% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 81.69 เยนต่อดอลลาร์ จากระดับของวันอังคารที่ 81.42 เยนต่อดอลลาร์ โดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลเยนเช้านี้เปิดอยู่ที่ระดับ 81.59 เยนต่อดอลลาร์ USD/THB ค่าเงินบาทปิดตลาดวานนี้ อยู่ที่ระดับ 30.23-30.27 บาทต่อดอลล่าร์ ซึ่งไม่มีการเคลื่อนไหวมากนักระหว่างวัน ค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 30.19-30.23 บาทต่อดอลล่าร์ ข่าวเศรษฐกิจโลก - สำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐ (EIA) เปิดเผยว่า สต็อกน้ำมันดิบในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 13 พ.ค.ปรับตัวลดลง 15,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 370.3 ล้านบาร์เรล ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะพุ่งขึ้น 1 ล้านบาร์เรล ขณะที่สต็อกน้ำมันกลั่นลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล แตะที่ 143.1 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 700,000 บาร์เรล - แองเจิล เกอร์เรีย เลขาธิการองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (OECD) กล่าวในการประชุมเศรษฐกิจบรัสเซลส์ครั้งที่ 12ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจมีแต่ความเสี่ยง และความเสี่ยงเกือบทั้งหมดเป็นความเสี่ยงขาลง โดยที่ปัจจัยเสี่ยงขาลงที่เขากล่าวถึงคือ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูง ภัยพิบัติทางธรรมชาติในญี่ปุ่น และสถานการณ์การคลังที่ย่ำแย่ของสหรัฐ ซึ่งทั้งหมดอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงอย่างมาก และก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซาในประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศ - แอนดริว ดริสคอลล์ นักวิเคราะห์จาก CLSA Asia-Pacific Markets กล่าวในการสัมภาษณ์กับนสพ.ไชน่า ซีเคียวริตีส์ เจอร์นัล ว่า ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์จะยังคงผันผวนในอีกหลายเดือนข้างหน้าและคาดว่า ราคาสินค้าโภคภัณฑ์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือทรงตัวที่ระดับสูงในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ - สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเปิดเผยในวันนี้ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสแรกของญี่ปุ่นหดตัวลง 3.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี และหดตัวลง 0.9% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ซึ่งเป็นการหดตัวติดต่อกันสองไตรมาส นายคาโอรุ โยซาโนะ รัฐมนตรีเศรษฐกิจและนโยบายการคลังของญี่ปุ่นกล่าวว่า การจีดีพีไตรมาสแรกหดตัวลงอย่างหนักนั้น ส่วนใหญ่เป็นผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นายโยซาโนะได้แสดงความเชื่อมั่นว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นจะสามารถกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง - รายงานการประชุมของเฟดระบุว่า เจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของเฟดได้แสดงความวิตกกังวลเรื่องเงินเฟ้อที่เป็นผลมาจากการพุ่งขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่าเฟดอาจจะใช้นโยบายคุมเข้มด้านการเงินก่อนที่มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบสอง (QE2) จะหมดอายุลงในเดือนมิ.ย.นี้ - นายบินี สมาจี คณะกรรมการบริหารของธนาคารกลางยุโรปกล่าวย้ำว่า การปรับโครงสร้างหนี้จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อธนาคารพาณิชย์ของกรีซ ขณะที่นายวิคเตอร์ คอนสแตนซิโอ รองประธานธนาคารกลางยุโรปกล่าวว่า การปรับโครงสร้างหนี้ควรจะเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับกรีซ - มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวของธนาคารรายใหญ่สุด 4 แห่งของออสเตรเลีย เนื่องจากความอ่อนไหวของธนาคารต่อการระดมเงินผ่านช่องทาง Wholesale Funding ที่มีความผันผวน โดยมูดีส์ได้ลดอันดับเครดิตหุ้นกู้ระยะยาวไม่มีหลักประกันของ เอเอ็นแซท แบงก์กิ้ง กรุ๊ป, คอมมอนเวลท์ แบงก์ ออฟ ออสเตรเลีย, เนชั่นแนล ออสเตรเลีย แบงก์ และเวสท์แพค แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น สู่ระดับ Aa2 จากเดิม Aa1 ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าจับตา อาทิตย์ที่ ข้อมูลที่น่าจับตา ตัวเลขเดิม ตัวเลข คาดการณ์ ตัวเลขจริง 18 —19พฤษภาคม2554 วัน ? Crude Oil Inventories 3.8M 1.4M 0.0M พุธ ? FOMC Member Fisher Speaks ? FOMC Meeting Minutes วัน ? Unemployment Claims 434K 421K พฤหัสฯ ? Existing Home Sales 5.10M 5.21M ? Philly Fed Manufacturing Index 18.5 20.2 ? Mortgage Delinquencies 8.22%

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ