NAVTEQ เผยการ ใช้ระบบนำทางก่อให้เกิดผลดีต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังช่วยประหยัดปริมาณการใช้น้ำมันและค่าใช้จ่าย

ข่าวเทคโนโลยี Thursday May 19, 2011 16:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 พ.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ NAVTEQ ผู้ให้บริการชั้นนำของโลกด้านแผนที่ดิจิทัล ข้อมูลจราจร เส้นทางและสถานที่ เพื่อใช้กับระบบนำทาง รวมถึงบริการด้านระบบบอกตำแหน่ง (location-based service) และโฆษณาระบุพิกัดบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile advertising) ทั่วโลก เปิดเผยผลจากการศึกษาผู้บริโภคที่ใช้ระบบนำทางขณะเดินทาง ซึ่งในอดีต รายงานการศึกษาด้านนี้มักจะเน้นไปที่การศึกษากรณีการ “หลงทาง” และประโยชน์ที่ผู้ขับขี่จะได้รับจากการใช้ระบบนำทาง ดังนั้น การศึกษาชิ้นนี้ จึงเป็นการศึกษาชิ้นแรกๆ ที่ครอบคลุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาล่าสุด ทีมงานแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ขับขี่ที่ไม่มีระบบนำทาง ผู้ขับขี่ที่เดินทางด้วยระบบนำทาง และสุดท้ายคือกลุ่มที่ใช้ระบบนำทางพร้อมด้วยระบบที่สามารถบอกสภาพการจราจรได้ โดยผลลัพธ์ที่ออกมาระบุว่า ผู้ที่ใช้ระบบนำทาง 1) เดินทางด้วยระยะทางที่สั้นลง และ 2) ใช้เวลาในการขับขี่น้อยลง โดยเป็นการศึกษาวิจัยที่จัดขึ้นที่ ดุสเซลดอร์ฟ และ มิวนิค อันเป็น 2 เมืองสำคัญของประเทศเยอรมัน นอกจากนั้น การศึกษายังแสดงให้เห็นว่าการขับขี่โดยใช้อุปกรณ์ระบบนำทางยังเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงได้ถึง 12% จากการวัดการเผาผลาญเชื้อเพลิงต่อลิตรในระยะทาง 100 กิโลเมตร โดยการใช้เชื้อเพลิงของผู้ขับขี่ที่ใช้ระบบนำทางลดลงจาก 8.3 เป็น 7.3 ลิตรต่อ 100 กม. ด้วยปริมาณที่ลดลงดังกล่าว ทำให้ผู้ขับขี่สามารถประหยัดเงินค่าน้ำมันได้กว่า 6,000 บาทต่อปี[1] และจากการศึกษายังพบอีกว่า การประหยัดพลังงานที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงกว่า .91 ตัน(เมตริก) ต่อปี ต่อผู้ขับขี่ 1 คน หรือลดลง 24% ต่อปีเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ระบบนำทาง หรือหากคิดเป็นจำนวนหน่วยกรัม ต่อ กิโลเมตร การเดินทางโดยใช้ระบบนำทางสามารถลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ได้เท่ากับ 25 กรัม ต่อกิโลเมตร ต่อรถ 1 คัน ทางทีมงานได้ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อเก็บข้อมูลและติดตามการใช้เส้นทาง ตลอดจนความเร็วในการขับขี่ให้กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยได้รับการติดตั้งระบบนำทางมาก่อน ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาในโครงการดังกล่าว เกิดขึ้นจากการเก็บข้อมูลการเดินทางกว่า 2,100 ชุด คิดเป็นระยะการเดินทางรวมกันทั้งหมดกว่า 20,000 กิโลเมตร หรือระยะเวลาเกือบ 500 ชั่วโมงบนท้องถนน นอกจากนั้น การศึกษายังระบุประเด็นที่น่าสนใจต่างๆ ดังนี้ ลดระยะทางและเวลาที่ใช้ในการเดินทาง ยิ่งใช้มาก เชี่ยวชาญมากขึ้นก็จะช่วยลดระยะทางและเวลามากขึ้น: เนื่องจากเกิดการเรียนรู้ Learning Curve ทำให้ผู้ที่ใช้ระบบนำทางสามารถประหยัดเวลาในการเดินทางและระยะทางได้อย่างมาก การแสดงข้อมูลการจราจรยิ่งทำให้ระยะเวลาและระยะทางในการขับขี่ลดลงมากขึ้น: จำนวนที่ลดลงมากที่สุดเกิดขึ้นในช่วงที่กลุ่มตัวอย่างใช้ระบบการรายงานจราจร โดยเฉพาะในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน (7.00-8.59 น. และ 16.00 — 18.59 น.) การเดินทางในเส้นทางที่ไม่ใช่เส้นทางประจำ ยิ่งทำให้ระยะทางและเวลาในการเดินทางลดลง: เมื่อเดินทางในเส้นทางอื่นๆนอกเหนือจากเส้นทางที่เดินทางอยู่เป็นประจำ การใช้อุปกรณ์ระบบนำทางทำให้ระยะเวลาในการเดินทางและระยะทางที่ใช้ลดลงเป็นอย่างมาก “การใช้กระบวนทัศน์ในการศึกษาที่แม่นยำ ทำให้เรามั่นใจว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้น สามารถชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆทั่วโลกได้เช่นกัน เพียงแต่ยังไม่มีการทดสอบจากการใช้งานในชีวิตประจำวัน โดยประโยชน์ที่ผู้เดินทางจะได้รับจากการใช้ระบบนำทางนั้น นอกจากจะทำให้การเดินทางเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้นแล้ว ยังส่งผลดีถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน” มร. โอกิ เรดซิก รองประธานฝ่ายขายและพัฒนาธุรกิจ NAVTEQ เอเชียแปซิฟิค กล่าว การศึกษาดังกล่าว ดำเนินการโดย NuStats ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับมากว่า 25 ปี ทั้งยังเป็นผู้นำในการสำรวจประชากรและการสำรวจเชิงคุณภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคม การเคลื่อนย้าย และการเดินทาง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมของ NAVTEQ กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซท์ http://corporate.navteq.com ข่าวประชาสัมพันธ์ของ NAVTEQ และข่าวอื่นๆกรุณาเยี่ยมชม http://press.navteq.com ร่วมติดตามข่าวสารของ NAVTEQ บนเฟสบุ๊คได้ที่ facebook.com/NAVTEQCompany และทวิตเตอร์ได้ที่ @NAVTEQ [1] การศึกษาประโยชน์ของระบบนำทางโดย NAVTEQ (เมษายน 2009) สกุลเงินบาทด้านบน ได้มาจากการแปลงค่าสกุลเงินที่ได้จากการศึกษา ผลของการศึกษาสามารถปรับใช้กับประเทศไทยได้ บนสมมติฐานที่ว่าผลของการศึกษาครั้งนี้ สอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลก
แท็ก mobile   ข้อมูล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ