แอร์บัสประกาศผู้เข้ารอบสุดท้ายของโครงการ Fly Your Ideas 2011 นักศึกษาจากทั้ง 5 ทวีปมีโอกาสที่จะได้รับเงินรางวัลกว่า 30,000 ยูโร

ข่าวท่องเที่ยว Monday May 23, 2011 14:40 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--23 พ.ค.--โทเทิ่ล ควอลิตี้ พีอาร์ แอร์บัสประกาศผล 5 ทีมที่เข้ารอบสุดท้ายสำหรับการประกวดโครงการ Fly Your Ideas (FYI) ของแอร์บัส โดยทีมที่เข้ารอบทั้งหมดมาจากประเทศ ชิลี, สาธารณรัฐประชาชนจีน, อินเดีย, มาเลเซีย และสวีเดน สำหรับผู้ชนะเลิศโครงการ Fly Your Ideas จะทำการประกาศโดยแอร์บัส ณ งานปารีส แอร์โชว์ เลอโบเช่ ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 23 มิถุนายน 2554 นี้ การแข่งขันระดับโลกครั้งนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือน กันยายน 2553 ที่ผ่านมา ซึ่งมีนักศึกษาเข้าแข่งขันมากกว่า 2,600 คน จาก 75 ประเทศทั่วโลก ในการพัฒนาแนวคิดใหม่ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการรักษาสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งมีทีมที่เข้าร่วมโครงการ Fly Your Ideas 2011 และร่วมส่งผลงานเข้าประกวดทั้งหมด 315 ทีม ภายใต้หัวข้อการแข่งขันที่ว่า “วงจรชีวิตของสิ่งแวดล้อม” (‘The Environmental Life Cycle’) นักศึกษาจะต้องนำเสนอแนวความคิดที่เกี่ยวเนื่องกับวงจรชีวิตสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งเป็นสิ่งที่แอร์บัสใช้ในการพัฒนาเครื่องบินในส่วนการจัดการทางสิ่งแวดล้อม โดยเลือกมา 1 ขั้นตอนจากทั้งหมด 5 ขั้นตอนได้แก่ การออกแบบ, ห่วงโซ่ซัพพลาย, การผลิต, การปฏิบัติการของเครื่องบิน, และเครื่องบินที่สิ้นสุดอายุการใช้งาน ชาร์ล แชมปิยง รองประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารด้านวิศวกรรม และ ประธานจัดการแข่งขัน FYI กล่าวว่า “กระผมประทับใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับผลงานทุกๆชิ้นที่ส่งเข้าประกวดที่ล้วนแต่คุณภาพและมาตรฐาน สำหรับทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายนั้นสามารถแสดงให้เห็นถึงความมีศักยภาพที่สูงในด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์” ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย ได้แก่: ชิลี — ทีม คอนดอร์, มหาลิทยาลัยยูนิเวอร์ซิดัด เทคนิก้า เฟดเดอริโก้ ซานต้า มาเรีย - การออกแบบที่ไม่เคยมีมาก่อนที่เอาเก็บรวบรวมพลังงานจากการเบรค และนำพลังงาานที่ได้กลับมาใช้ใหม่ สาธารณรัฐประชาชนจีน — ทีม วิง ออฟ ฟินิกส์, มหาวิทยาลัยอากาศยาน และอวกาศหนานจิง — คำแนะนำในการให้ภาคพื้นดินนำเอาพลังงานลมที่ได้จากการสั่นของเครื่องบินมาใช้ในระบบ อินเดีย — ทีม 03, สถาบันเทคโนโลยีแห่งอินเดียร็อคกี - ทีมนี้นำเสนอการป้องกันไม่ให้น้ำแข็งเกาะเครื่องบิน ด้วยการใช้พอลิเมอร์กันน้ำในการป้องกัน มาเลเซีย — ทีม เอ็มเซีย ออน มาร์ส, มหาวิทยาลัยกัวลาลัมเปอร์สถาบันเทคโนโลยีการบินของมาเลเซีย — แนวความคิดในการใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติที่ได้จากไฟเบอร์ของต้นนุ่น สำหรับความร้อนในเครื่องบินและฉนวนกันเสียงที่นำมาใช้ในห้องโดยสารบนเครื่องบิน สวีเดน — ทีม SSE, วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งสตอกโฮล์ม — การคิดค้นแผนการการให้คะแนน ECO สำหรับการบินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 30,000 ยูโรหรือกว่า 1.2 ล้านบาท และสำหรับรองชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 15,000 ยูโรหรือ 6 แสนบาท และมากไปกว่านั้น ทีมชาวสเปน ‘ทีมอีโคลูชั่น’ จากมหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิดัด พอนทิฟิเซีย โคมิลลาส เดอมาดริด ได้ถูกประกาศให้เป็นผู้ชนะเลิศในรางวัล Best Video Prize สำหรับความคิดสร้างสรรค์และมีความเป็นเอกลักษณ์ในการนำเสนอผลงาน ชาร์ล แชมปิยง กล่าวเพิ่ม “การทำวิจัยและนวัตกรรมของแอร์บัสเป็นปัจจัยที่สำคัญระยะยาว และทางแอร์บัสยังคงนำเสนอนวัตกรรมที่ดีที่สุดทางด้านการบินและยังคงพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมในเครื่องบิน สำหรับการประกวดโครงการ Fly Your Ideas ทำให้เราได้ร่วมงานกับว่าที่ผู้เชี่ยวชาญแห่งอุตสาหกรรมการบินในอนาคต ด้วยการเปิดพื้นที่ในการแสดงความคิดสร้างสรรค์เพื่อเป็นแรงบันดาลใจและแรงผลักดันให้กับเยาวชนรุ่นใหม่” ทีมที่เข้ารอบสุดท้ายประกอบด้วยนักศึกษานานาชาติที่มาจากหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น เกี่ยวกับเครื่องจักรกล, เคมี, วัสดุและแร่ธาตุ, และวิศวกรรมอากาศยาน รวมไปถึงสาขาธุรกิจและการบริหารการจัดการ, ศิลปกรรมศาสตร์และการออกแบบ และสาขาเศรษฐศาสตร์ ตัวเลขของทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นหลากหลายสัญชาติ โดยทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย อย่างทีมจากสวีเด่น ประกอบด้วยนักศึกษาจาก สวีเดน, ตุรกี, อเมริกา, ยูเครน และซิมบับเว สำหรับทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจะต้องเตรียมการนำเสนอผลงาน ที่ได้รับการช่วยเหลือจาก ผู้ให้คำปรึกษาของแอร์บัส ซึ่งเป็นผู้ที่ให้การสนับสนุนตั้งแต่เริ่มรอบที่ 2 รวมไปถึงบรรดานักวิชาการจากสถาบันการศึกษาของแต่ละทีม โดยตลอดการแข่งขัน อาสาสมัครผู้ให้คำปรึกษาของแอร์บัสจากทั่วโลกได้ร่วมงานกับผู้เข้าแข่งขันเพื่อให้คำแนะนำและให้การสนับสนุนด้านความคิดสร้างสรรค์ โดยเป็นคำแนะนำที่ไม่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ทางด้านเทคนิค ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งห้าทีมจะมาพร้อมกันที่ ปารีส ในวันที่ 22 มิถุนายน 2554 เพื่อทำการนำเสนอผลงานครั้งสุดท้ายต่อหน้าบรรดาคณะกรรมการโครงการ Fly Your Ideas ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวแทนจากทางแอร์บัสและผู้ที่มีประสบการณ์สูงในอุตสาหกรรมการบิน สำหรับงานประกาศรางวัลจะมีขึ้นในวันที่ 23 มิถุนายน 2554 ที่นิทรรศการการบินนานาชาติกรุงปารีส ณ เลอโบเช่ (Le Bourget) ประเทศฝรั่งเศส ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ และความคืบหน้าของการแข่งขัน สามารถเยี่ยมชมได้ที่www.airbus-fyi.com ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ เมธาวรินทร์ มณีกูลพันธ์ + 66 2 260 5820 ต่อ 115 วุฒิณี เลณบุรี +66 2 260 5820 ต่อ 120 สำหรับข้อมูลความเป็นมา, ข้อมูลผลงานผู้เข้ารอบสุดท้าย, วีดีโอรอบสุดท้าย, รูปภาพ และประวัติของคณะกรรมการ สามารถเยี่ยมชมได้ที่: www.airbus-fyi.com และ www.airbus.com ตารางเวลา FYI 2011: ? ลงทะเบียน: ปิดลงทะเบียนวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 ? รอบที่ 1 นำเสนอแผนงาน ปิด 10 ธันวาคม 2553 ? รอบที่ 2 ส่งแผนงาน: มกราคม 2554—15 เมษายน 2554 ? รอบที่3 พัฒนาแผนงาน: 16พฤษภาคม 2554—17มิถุนายน 2554 ? รอบสุดท้าย พรีเซ็นต์แผนงาน(สด): 22 และ 23 มิถุนายน 2254(ในงานปารีส แอร์โชว์“เลอโบเช่”ประเทศฝรั่งเศส) คณะกรรมการตัดสิน FYI จากบุคคลภายนอก: บาร์บาร่า คาซซานี่ ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอของสายการบิน GO สายการบินต้นทุนต่ำแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งภายหลังควบรวมกับ สายการบินอีซีย์เจ็ทของสหราชอาณาจักร ทั้งยังเป็นประธานในคณะทำงานเพื่อเข้าชิงสิทธิการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคในปี 2012 ซึ่งลอนดอนประสบความสำเร็จในการขอเป็นเจ้าภาพ ปีเตอร์ ฮอร์ร๊อค บรรณาธิการข่าวด้านข่าวต่างประเทศของ สำนักข่าว บีบีซี แอนดรูว์ ปาร์เกอร์ รองประธานอาวุโส ด้านสิ่งแวดล้อม และรัฐกิจสัมพันธ์ ของสายการบิน เอมิเรตส์ ศาสตราจารย์เวอร์เนอร์ ประธานบริหารของศูนย์อวกาศยานเยอรมัน (German Aerospace Center) (DLR) ซึ่งมีบทบาทหน้าที่เฉกเช่นเดียวกับตัวแทนอวกาศประเทศเยอรมัน คณะกรรมการตัดสิน FYI จากแอร์บัส: ชาร์ล แชมปิยง รองประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารด้านวิศวกรรม และ ประธานจัดการแข่งขัน FYI อานเดรีย เดปปาเนะ รองประธานด้านสิ่งแวดล้อม แมรี่ พริตตี้แมน รองประธานด้านการตลาด แอร์บัส อเมริกา ริชาร์ด ทิสซะเร่ รองประธานระดับอาวุโส Airbus Innovation Cell ลินด์ซีย์ มิ หัวหน้าด้านการสื่อสาร แอร์บัส ประเทศจีน คียรัน เรา รองประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารด้านการตลาด และการขาย ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ เมธาวรินทร์ มณีกูลพันธ์ + 66 2 260 5820 ต่อ 115 วุฒิณี เลณบุรี +66 2 260 5820 ต่อ 120

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ