กองทัพเรือรวมใจ ร่วมเทิดไท้องค์ราชันย์ ๘๐ พรรษา มหามงคล

ข่าวทั่วไป Tuesday August 21, 2007 09:19 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ส.ค.--สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
ปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ ปีแห่งการเฉลิมฉลองสำคัญยิ่งใหญ่ของปวงชนชาวไทย ในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ทุกเหล่าทัพ รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้จัดโครงการและกิจกรรมอย่างยิ่งใหญ่ตลอดทั้งปี เพื่อร่วมเฉลิมฉลองแด่พ่อหลวงของแผ่นดินผู้ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์องค์ใดในโลก สำหรับกองทัพเรือได้จัดการแสดงขบวนเรือพระราชพิธีพยุยาตราชลมารค เนื่องในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๙ ซึ่งนับเป็นอีกวาระหนึ่งที่กองทัพเรือได้มุ่งมั่น ทุ่มเทอย่างเต็มที่ จนการแสดงขบวนเรือพระราชพิธีฯ ซึ่งเป็นการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า เปี่ยมไปด้วยความยิ่งใหญ่อลังการแห่งความจงรักภักดีสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี คงความศักดิ์สิทธิ์ตามราชประเพณีทุกประการ
สำหรับในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ นับเป็นอีกวาระหนึ่งที่ดวงใจแห่งความจงรักภักดีของพสนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าผนึกกำลังกันอย่างพร้อมเพียง ในการร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
กองทัพเรือ นอกจากจะได้สนับสนุนงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสมหามงคลนี้อย่างเต็มที่แล้ว กองทัพเรือ ยังได้ระดมสรรพกำลังทั้งหมด รวมใจ ร่วมเทิดไท้องค์ราชันย์ โดยจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ซึ่งโครงการและกิจกรรมดังกล่าวมีทั้งหมด ๗ โครงการ
๑. โครงการก่อสร้างสะพานฯ ป้อมพระจุล
๒. โครงการลดละเลิกบุหรี่
๓. โครงการจัดสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง
๔. โครงการกิจกรรมกาชาดคอนเสิร์ต
๕. โครงการหอประวัติอุทกศาสตร์ประเทศไทย
๖. โครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วย รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า
๗. โครงการวิถีชีวิตข้าราชการกองทัพเรือ ตามแนวทางพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง
๑. โครงการก่อสร้างสะพานฯ ป้อมพระจุล
๑. ชื่อโครงการ โครงการก่อสร้างสะพานชมภูมิประเทศ บริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า
๒. หลักการและเหตุผล มูลนิธิพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕ และ ทร. ได้ร่วมกันปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้าให้เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญในอดีต และแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศน์ป่าชายเลนจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจนเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป แต่เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีข้อจำกัดในการเดินทางมาเยี่ยมชม กล่าวคือสามารถเดินทางได้โดยรถยนต์เท่านั้น มูลนิธิ ฯ จึงได้ขอรับการสนับสนุน งบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เพื่อนำมาก่อสร้างสะพานชม ภูมิประเทศต่อจากอาคารอเนกประสงค์ออกไปในบริเวณแม่น้ำ โดยคาดว่าการก่อสร้าง ฯ จะแล้วเสร็จประมาณ พ.ค.๕๐ ซึ่งมูลนิธิ ฯ ได้พิจารณาร่วมกับ พล.ร.อ.วิเชษฐ การุณยวณิช ประธานมูลนิธิ ฯ แล้ว เห็นควรบรรจุโครงการก่อสร้างสะพานชมภูมิประเทศนี้ เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ของ ทร.
๓. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและขยายโอกาสด้านการท่องเที่ยวให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดย ทางเรือ เป็นการอำนวยความสะดวกและดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นและเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อ ทร.
๔. วิธีการดำเนินงาน ทร. ได้อนุมัติหลักการ แบบ และตำบลที่งานก่อสร้างสะพาน ฯ โครงสร้าง คอนกรีต เสริมเหล็กยาวประมาณ ๑๑๐.๐๐ เมตร กว้าง ๒.๕๐ เมตร ปลายสะพานก่อสร้างศาลาพัก ขนาด ๖.๐๐ ๖.๐๐ เมตร พร้อมบันไดทางขึ้น - ลง และโซ่กันตก หลังคาโครงสร้างไม้เนื้อแข็ง มุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ พร้อมระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ในพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า โดยให้ ชย.ทร. สนับสนุนเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการทำแบบ ประมาณการ และดำเนินการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง กบ.ทร. ประสานกับกรมขนส่งทางน้ำและพานิชนาวี กระทรวงคมนาคมเพื่อขออนุญาตก่อสร้าง
๕.ระยะเวลาในการดำเนินงาน ๑๘๐ วัน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในประมาณเดือน พ.ค.๕๐
๖. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน ๗,๐๐๐,๐๐๐.-บาท
๗. ผู้รับผิดชอบโครงการ มูลนิธิ พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ ๕
๘.ผลที่คาดว่าจะได้รับ สามารถพัฒนาและขยายโอกาสด้านการท่องเที่ยวให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางโดย ทางเรือ เป็นการอำนวยความสะดวกและดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นและเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อ ทร.
๒. โครงการลดละเลิกบุหรี่
๑. ชื่อโครงการ โครงการ ลด ละเลิก บุหรี่ กำลังพลกองทัพเรือ
๒. หลักการและเหตุผล ปัจจุบัน ทร.มีนโยบายการสร้างเสริมสุขภาพกำลังพล ทร. โดยได้รับการสนับสนุน งป.จาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ ส่งผลให้เกิดกระแส การตื่นตัวของกำลังพล และครอบครัวในการหันมาดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการ ออกกำลังกาย แต่อย่างไรก็ตามกำลังพลบางส่วนยังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการบั่นทอนสุขภาพ เช่น อุบัติเหตุ การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ เป็นต้น และจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี ๒๕๔๔๗ ที่ทรงมีความห่วงใยต่อสุขภาพและการศึกษาของเยาวชนไทย เมื่อปี ๒๕๔๗ โดยเฉพาะการรณรงค์ไม่ให้เยาวชนสูบบุหรี่ กล่าวคือ การสูบบุหรี่จะมีผลระบบประสาทหู ประสาทตา สมอง หัวใจ ฯลฯ บั่นทอนการพัฒนาการเรียนรู้ของเยาวชน ในการนี้ ผบ.ทร.ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญขององค์บุคคล เช่นเดียวกัน และมุ่งหวังให้กำลังพลของ ทร.มีสุขภาพดี ตระหนักถึงอันตราย ผลกระทบอันเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ จึงริเริ่มโครงการ ลด ละเลิกสูบบุหรี่ เพื่อให้กำลังพลสมัครใจเข้าร่วมโครงการ สำหรับเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป
๓. วัตถุประสงค์
๓.๑ เพื่อรณรงค์ให้กำลังพล ทร. ได้เห็นถึงอันตรายและสมัครใจที่จะเข้าร่วมโครงการ
๓.๒ เพื่อให้กำลังพลที่สมัครใจ ได้ ลด ละ และสามารถเลิกบุหรี่ได้ในที่สุด
๓.๓ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในสถานที่ทำงาน หรือสถานที่ปฏิบัติงานต่าง ๆ ทั้งในที่ตั้งปกติ ในเรือหรืออื่น ๆ ให้เป็นสถานที่ทำงานปลอดบุหรี่
๓.๔ เพื่อตอบสนองนโยบาย ผบ.ทร.ในการมุ่งเน้นสร้างคุณภาพชีวิตของกำลังพล
๔. วิธีการดำเนินงาน
๔.๑ แต่งตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการต่าง ๆ
๔.๒ สำรวจข้อมูลกำลังพลที่สูบบุหรี่ และรณรงค์ให้กำลังพลสมัครใจเข้าร่วมโครงการ
๔.๓ พิธีเปิดโครงการโดย ผบ.ทร. และผู้แทนหน่วยต่างๆ ใน ทร.
๔.๔ จัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการลดละเลิกสูบบุหรี่ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ใน ทร.
๔.๕ จัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการลดละเลิกบุหรี่ สำหรับผู้แทนหน่วยใน ทร.เพื่อเป็นวิทยากรกระบวนการจำนวน ๔ ครั้ง ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล สัตหีบ สงขลา และพังงา
๔.๖ หน่วยขึ้น ทร.จัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ การแจ้งให้กำลังพลในสังกัดทราบนโยบาย การสำรวจข้อมูลกำลังพลที่สูบบุหรี่ รวบรวมกำลังพลที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ จัดสถานที่ทำงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. ๒๕๓๕ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.๒๕๓๕ จัดกิจกรรมให้ผู้สมัครใจเข้าร่วมโครงการ นิเทศงานและประเมินผลของหน่วย
๔.๗. จัดตั้งศูนย์ประสานงานโครงการนี้ในหน่วยกรมแพทย์ทหารเรือ ได้แก่ กองเวชกรรมป้องกัน พร. รพ.ทหารเรือกรุงเทพ พร. รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ ฐท.สส.
๔.๘ จัดตั้งคลินิกเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ของ ทร.
๔.๙ ประเมินผลการดำเนินงาน
๔.๑๐ จัดงานมอบใบประกาศเกียรติคุณ แก่กำลังพลที่สามารถลด ละ เลิก บุหรี่ และสถานที่หน่วยราชการที่ปฏิบัติตาม พรบ.คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ และพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.๒๕๓๕
๔.๑๑ สรุปและรายงานผลการปฏิบัติงาน
๕.ระยะเวลาในการดำเนินงาน ๑ ต.ค.๔๙ - ๓๐ ก.ย.๕๐
๖. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้ ขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จำนวน ๓๒๒,๕๐๐.-บาท ดังนี้
๖.๑ ค่าวิทยากรอบรม ๒๑,๖๐๐.-บาท
๖.๒ ค่าใช้สอย
๖.๒.๑ ค่าอาหารว่างในการประชุม ๕๐ คน X ๒๕.- บาท X ๖ ครั้ง / ปี เป็นเงิน ๗,๕๐๐.-บาท
๖.๒.๒ ค่าอาหารว่างน้ำดื่มในพิธีเปิดโครงการ ๒๕ .- บาท X ๑,๐๐๐ คน เป็นเงิน ๒๕,๐๐๐.-บาท
๖.๒.๓ การอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการสำหรับบุคลากรสายแพทย์ ใน ทร.
- ค่าพิธีเปิด-ปิด เป็นเงิน ๔๐๐.-บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ๔๐.-บาท X ๗๐ คน X ๒ วัน เป็นเงิน ๕,๖๐๐.-บาท
- ค่าอาหารว่าง ๒๕.-บาท X ๗๐ คน X ๒ ครั้ง X ๒ วัน เป็นเงิน ๗,๐๐๐.-บาท
๖.๒.๔ การอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องลดละเลิกบุหรี่สำหรับวิทยากรกระบวนการ
- ค่าพิธีเปิด-ปิด ๔๐๐.-บาท X ๔ ครั้ง เป็นเงิน ๑,๖๐๐.-บาท
- ค่าอาหารกลางวัน ๔๐.-บาท X ๖๐ คน X ๔ ครั้ง เป็นเงิน ๙,๖๐๐.-บาท
- ค่าอาหารว่าง ๒๕.-บาท X ๖๐ คน X ๒ มื้อ X ๔ ครั้ง เป็นเงิน ๑๒,๐๐๐.-บาท
๖.๓ ค่าวัสดุ
๖.๓.๑ ประชาสัมพันธ์
- แผ่นพับประชาสัมพันธ์ แผ่นละ ๑.-บาท X ๑๐,๐๐๐แผ่น เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐.-บาท
- แผ่นสติกเกอร์ประชาสัมพันธ์ แผ่นละ ๔.-บาท X ๑๐,๐๐๐แผ่น เป็นเงิน ๔๐,๐๐๐.-บาท
- แผ่นผ้าประชาสัมพันธ์ แผ่นละ ๒๐๐.-บาท X ๑๐๐แผ่น เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐.-บาท
- วัสดุอุปกรณ์ เป็นเงิน ๑๐,๐๐๐.-บาท
๖.๓.๒ พิธีเปิดโครงการ (ทำเวทีและป้าย)
- พื้นที่ กรุงเทพ ฯ เป็นเงิน ๑๕,๐๐๐.-บาท
- พื้นที่ สงขลา เป็นเงิน ๗,๕๐๐.-บาท
- พื้นที่ พังงา เป็นเงิน ๗,๕๐๐.-บาท
๖.๓.๓ ค่าวัสดุอุปกรณ์ผู้อบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ สำหรับบุคลากรสายแพทย์ ใน พร.
๗๐ คน X ๓๐๐.-บาท เป็นเงิน ๒๑,๐๐๐.-บาท
๖.๓.๔ ค่าวัสดุอุปกรณ์ผู้อบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ สำหรับวิทยากรกระบวนการ
๖๐ คน X ๓๐๐.-บาท X ๔ ครั้ง เป็นเงิน ๗๒,๐๐๐.-บาท
๖.๓.๕ รางวัลในงานมอบใบประกาศเกียรติคุณ
๓๐ คน X ๔๐๐.-บาท/สถานที่ X ๒ ครั้ง เป็นเงิน ๒๔,๐๐๐.-บาท
๖.๓.๖ ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการติดตามประเมินผล เป็นเงิน ๕,๐๐๐.-บาท
๗. ผู้รับผิดชอบโครงการ พล.ร.ท.ศุภกร บูรณดิลก ผช.เสธ.ทร.ฝกพ. / กพ.ทร. / พร.
๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๘.๑ กำลังพลกลุ่มเป้าหมายประมาณ ๒,๕๐๐ คน มีพฤติกรรมการลดละเลิกบุหรี่ที่ถูกต้อง สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้เพิ่มขึ้น
๘.๒ สถานที่ทำงานทุกแห่งใน ทร. เป็นสถานที่ที่ปฏิบัติตาม พรบ.คุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.๒๕๓๕ และ พรบ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.๒๕๓๕
๓. โครงการจัดสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง
๑. ชื่อโครงการ โครงการจัดสร้างเรือเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษาฯ
๒. หลักการและเหตุผล โครงการนี้มีที่มากว่า ๔๐ ปีแล้ว เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ โดยตรง กล่าวคือเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หลังจากที่เสด็จประพาสยุโรป และทอดพระเนตรกิจการต่อเรือยนต์รักษาฝั่งที่สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีแล้ว ทรงมีพระราชดำริว่า " กองทัพเรือน่าจะต่อเรือยนต์เร็วรักษาฝั่งเช่นนี้ได้ เพื่อที่จะให้เกิดความชำนาญงาน และรู้จักใช้เทคนิคต่าง ๆ อันจะเป็นการประหยัดมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ เพื่อเป็นการสนองพระราชดำริดังกล่าว ทร. กองทัพเรือจึงได้มอบให้ อร. ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว โดยทรงมีพระมหากรุณาธิคุณและพระราชทานความช่วยเหลือในเรื่องต่าง ๆ มาโดยตลอด โดยนับตั้งแต่ปี พ.ศ ๒๕๑๔ - ๒๕๓๐ ทร. ได้ต่อเรือประเภทนี้ขึ้นอีก จำนวน ๘ ลำ คือ เรือ ต.๙๒ - ต.๙๙ โดยมีการปรับปรุงเรือให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ เม.ย.๔๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งแก่ เกี่ยวกับการใช้เรือของ ทร. ความว่า " เรือรบขนาดใหญ่มีราคาแพงและมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานสูง กองทัพเรือจึงควรใช้เรือที่มีขนาดเหมาะสม และสร้างได้เอง ซึ่งเมื่อสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.๙๑ ได้แล้ว ควรขยายแบบเรือให้ใหญ่ขึ้นและสร้างเพิ่มเติม " กับได้มีพระราชดำรัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธ.ค.๔๖ เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงโดยได้ทรงยกตัวอย่างโครงการต่อเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.๙๑ ที่กองทัพเรือได้สร้างขึ้นในอดีตด้วย ซึ่งในห้วงเวลาดังกล่าว ทร.อมีแผนปลดประจำการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.๑๑ เนื่องจากใช้งานมานานประมาณ ๔๐ ปีแล้ว ทร.จึงได้นำพระราชดำริฯ มาดำเนินการพัฒนาแบบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดใหม่ ให้มีคุณสมบัติครบถ้วน และสอดคล้องกับแนวพระราชดำรัสดังกล่าว โดยขยายแบบให้ใหญ่ขึ้น และเมื่อวันที่ ๓๑ มี.ค. ๔๖ ทร. ได้รับอนุมัติจาก กห. ให้ดำเนินโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เป็นโครงการเริ่มใหม่ เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.๑๑ ซึ่งมีแผนจะปลดประจำการ ๖ ลำ โดยจะสร้างคราวละ ๑ ลำ แต่รัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรี เห็นความสำคัญของโครงการฯ จึงได้อนุมัติให้ ทร. ดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งพร้อมกัน ๓ ลำ ในวงเงินรวมประมาณ ๑,๙๑๒.- ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการรวม ๓ ปี ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ - ๒๕๕๐ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่จะทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๐
๓. วัตถุประสงค์
๓.๑ เพื่อสนองพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลเดช และเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธ.ค.๒๕๕๐
๓.๒ เพื่อเสริมสร้างกำลังทางเรือ และพัฒนาศักยภาพทางด้านเทคนิคตลอดจนบุคลากรของ ทร. ในการต่อเรือขนาดใหญ่ สำหรับใช้ในราชการ ทำให้เกิดการประหยัดมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ
๓.๓ เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.๑๑ ซึ่ง สังกัด กตอ.กร. มีภารกิจในการลาดตระเวนป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ป้องกันและคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน รวมถึงการถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์
๔. วิธีการดำเนินงาน
๔.๑ ทร. ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง โดยมี รอง เสธ.ทร. ฝยก. และ รอง เสธ.ทร. ฝขว. เป็นประธานกรรมการบริหารโครงการ และมีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนหน่วยเกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ กับแต่งตั้งกรรมการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการจัดจ้างสร้างเรือ
๔.๒ การออกแบบเรือ การจัดจ้างสร้างเรือ การติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ และการทดลองเรือ โดยดำเนินโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ - ๒๕๕๐ รวมเวลา ๓ ปี สรุปการดำเนินการได้ดังนี้
- อร. ได้พัฒนาแบบของเรือ ต.๙๙ ซึ่งได้ออกแบบเรือเบื้องต้นแล้ว ๑๔๒ แบบ และได้จัดเจ้าหน้าที่ไปร่วมการทดลองแบบจำลองเรือ (Model Test) ณ สถาบัน Hamburg Ship Model Basin สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
- ในการออกแบบเรือ ผบ.ทร. และคณะได้รับพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูล แบบเรือและข้อมูลการออกแบบเบื้องต้น และเข้าเฝ้ากราบบังคมทูล ข้อมูลแนวทางการพิจารณาแบบเรือ และการออกแบบเรือ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ และได้ทรงพระกรุณาพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยในเรื่อง ขนาด รูปทรงของเรือ น้ำหนัก และการออกแบบ เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและมีสมรรถนะสูงสุด
- การสร้างเรือ แม้ว่า อร. จะมีขีดความสามารถในการสร้างเรือได้เอง แต่ภารกิจหลักนั้นคือการซ่อมทำเรือ ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมขีดความสามารถการสร้างเรือของเอกชน ทางคณะกรรมการบริหารโครงการฯ จึงได้กำหนดให้ อร. ดำเนินการสร้างเรือเอง ๑ ลำ ณ อู่ทหารเรือธนบุรี และว่าจ้างอู่เรือเอกชนสร้างเรือตามแบบที่ กองทัพเรือ กำหนดอีก ๒ ลำ พร้อมส่งมอบวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างเรือ (Package Deal) ให้กับ อร. เพื่อให้เรือทั้ง ๓ ลำ มีอุปกรณ์เหมือนกัน และง่ายต่อการบำรุงรักษา
- ทร. จะสร้างเรือและติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ของเรือทั้ง ๓ ลำ และดำเนินการทดสอบทดลอง ให้แล้วเสร็จสิ้นก่อนวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายได้ทัน การเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา
- การสร้างเรือของ อร. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางกระดูกงู ในวันศุกร์ที่ ๙ ก.ย.๔๘ ณ อู่ทหารเรือธนบุรี โดยมีความก้าวหน้าในการสร้างเรือจนถึงปัจจุบันในส่วนของตัวเรือ ในภาพรวมประมาณร้อยละ ๕๖ สำหรับในส่วนของโครงสร้างเรือเหนือดาดฟ้าใหญ่ (Superstructure) นั้น ตามแผนงานสร้างเรือจะเริ่มสร้างประมาณ มิ.ย.๔๙
- การว่าจ้างอู่เรือเอกชนสร้างเรือจำนวน ๒ ลำ นั้นเป็นการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ โดย บริษัท มาร์ซัน ได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่กองทัพเรือกำหนด และได้ลงนามในสัญญาจ้างสร้างเรือเมื่อ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
- การจัดหาระบบอาวุธปืนและเครื่องควบคุมการยิง ทร. ได้พิจารณาคัดเลือกปืนกลขนาด ๓๐ มิลลิเมตร รุ่น DS-30M ของบริษัท MSI-DSL ประเทศสหราชอาณาจักร และเครื่องควบคุมการยิง แบบ OPTRONIC รุ่น MIRADOR ของบริษัท THALES ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยจะติดตั้งในเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งทั้ง ๓ ลำ และเมื่อวันที่ ๒๓ ม.ค.๔๙
- สพ.ทร. ได้ทำสัญญาจัดซื้อระบบอาวุธปืนและเครื่องควบคุมการยิงดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว และจะส่งมอบและติดตั้งระบบอาวุธได้ประมาณ ก.ค.๕๐
๕.ระยะเวลาในการดำเนินงาน ใช้ระยะเวลาการสร้างเรือรวมทั้งสิ้น ๒๒ เดือน มีแผนงานที่สำคัญ ประกอบด้วย การสร้าง Superstructure และการสร้างตัวเรือจะแล้วเสร็จประมาณ ธ.ค.๔๙ จากนั้นจึงติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ และทำการทดสอบทดลองในทะเลประมาณ ส.ค.- ต.ค.๕๐ โดยจะสร้างเรือแล้วเสร็จและพร้อมส่งมอบเรือประมาณ
พ.ย.๕๐
๖. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้ ครม. ได้อนุมัติให้ ทร. ดำเนินโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งพร้อมกัน ๓ ลำ ในวงเงินรวมประมาณ ๑,๙๑๒.- ล้านบาท ๗. ผู้รับผิดชอบโครงการ กองทัพเรือ
๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ สามารถเสริมสร้างกำลังทางเรือ และพัฒนาศักยภาพทางด้านเทคนิคตลอดจนบุคลากรของ ทร. ในการต่อเรือขนาดใหญ่ สำหรับใช้ในราชการและถวายความปลอดภัยแด่พระบรมวงศานุวงศ์
ทำให้เกิดการประหยัดมากกว่าการจัดหาจากต่างประเทศ ซึ่งจะเกิดภาพลักษณ์ที่ดีแก่ ทร.โดยส่วนรวม
๔. โครงการกิจกรรมกาชาดคอนเสิร์ต
๑. ชื่อโครงการ การจัดการแสดงกาชาดคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติ
๒. หลักการและเหตุผล ทร.ได้จัดให้มีการแสดงกาชาดคอนเสิร์ตขึ้นครั้งแรกในปี ๒๕๐๔ ตามพระราช-ประสงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ องค์สภานายิกาสภากาชาดไทย เพื่อหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย ให้การช่วยเหลือรักษาพยาบาลเพื่อนมนุษย์ ผู้เจ็บป่วยทั้งมวลให้ได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตลอดไป นอกจากนี้ยังเป็นการเผยแพร่ดนตรีแนวเพลงคลาสสิกของวงดุริยางค์ราชนาวี ให้เป็นที่แพร่หลายแก่บุคคลทั่วไปด้วย สำหรับในปี ๒๕๕๐ ซึ่งนับเป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเห็นสมควรนำการแสดงกาชาดคอนเสิร์ต ฯ ดังกล่าว บรรจุไว้เป็นหนึ่งในโครงการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสดังกล่าวนี้ด้วย
๓. วัตถุประสงค์
๓.๑ เพื่อหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย
๓.๒ เพื่อเผยแพร่ดนตรีแนวเพลงคลาสสิกให้เป็นที่แพร่หลายแก่บุคคลทั่วไป รวมทั้งประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีของ ทร. โดยส่วนรวม
๓.๓ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
๔. วิธีการดำเนินงาน คณะกรรมการทำการประชุมเพื่อเตรียมการจัดงานในเดือน พ.ย.๔๙ โดยมี ผช.เสธ.ทร.ฝขว.เป็นประธานเตรียมการ โดยมีแนวความคิดที่จะเผยแพร่ดนตรีเพลงคลาสสิกโดยเพิ่มในส่วนเพลงพระราชนิพนธ์บรรเลงและขับร้อง และอาจจะพิจารณากิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติม
๕. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
กำหนดการแสดง ๓ รอบ คือ
๑. รอบนิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไป วันที่ ๑๘ ก.ค.๕๐ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
๒. รอบซ้อมใหญ่ วันที่ ๑๙ ก.ค.๕๐ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
๓. การแสดงคอนเสิร์ต วันที่ ๒๐ ก.ค.๕๐ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
๖. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้
ทร.ออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด รวมทั้งการหารายได้จากหน่วยงานเอกชนสนับสนุน
๗. ผู้รับผิดชอบโครงการ กพร.ทร.
๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๘.๑ สามารถสนองพระราชปณิธานในองค์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย
๘.๒ เพื่อเผยแพร่ดนตรีแนวเพลงคลาสสิกให้เป็นที่แพร่หลายแก่บุคคลทั่วไป รวมทั้งประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่ดีของ ทร. โดยส่วนรวม
๘.๓ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
๕. โครงการหอประวัติอุทกศาสตร์ประเทศไทย
๑. หลักการและเหตุผล
๑.๑ เพื่อเป็นศูนย์รวมองค์ความรู้และแหล่งข้อมูลด้านอุทกศาสตร์ ด้านวิศวกรรมชายฝั่ง เวลามาตรฐานของประเทศไทยตามมาตรฐานสากล ความปลอดภัยในการเดินเรือ การเดินเรือ และงานด้านสมุทรศาสตร์ ฯลฯ ของประเทศไทย
๑.๒ เพื่อแสดงผลงานทางอุทกศาสตร์ ตลอดจนวิวัฒนาการของการพัฒนางานของกรมอุทกศาสตร์ ทั้งด้านองค์วัตถุ องค์บุคคล ตั้งแต่อดีตต่อเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
๑.๓ เพื่ออนุรักษ์ซึ่งสิ่งของมีค่าทางประวัติศาสตร์ของกรมอุทกศาสตร์ โดยได้รวบรวมเอกสาร เครื่องมือเครื่องใช้ ภาพถ่าย และเหตุการณ์ที่สำคัญ ซึ่งอยู่กระจัดกระจายตามที่ต่างๆมาจัดแสดงให้คนรุ่นหลังได้ทราบและเข้าใจ รวมทั้งเกิดความภาคภูมิใจ ที่ ได้สืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน และต่อไปในอนาคต
๑.๔ กรมอุทกศาสตร์เป็นหน่วยงานหนึ่งของกองทัพเรือ ที่ได้มีโอกาสถวายงานให้แก่ราชวงศ์ ในกิจการงานเกี่ยวกับอุทกศาสตร์ อีกทั้งหลายๆครั้ง ได้มีโอกาสสนองงานในพระราชดำริที่ทรงคุณประโยชน์ต่อพสกนิกรและประเทศชาติ และพระราชกรณียกิจต่างๆ ซึ่งสมควรได้รับการเผยแพร่ให้ประชาชน บุคคลทั่วไป ได้ทราบและภาคภูมิใจ
๑.๕ เพื่อธำรงไว้ซึ่งเกียรติประวัติ เกียรติภูมิของชาวอุทกศาสตร์ในอดีต-ปัจจุบัน ที่ได้มีส่วน จรรโลง สร้างสรรค์งานอุทกศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโลกทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
๒. วัตถุประสงค์
เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี และวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
๓. วิธีการดำเนินงาน
การจัดทำหอประวัติอุทกศาสตร์ประเทศไทย ได้ แบ่งการดำเนินงานออกเป็นขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
- จัดตั้งกองทุนหอประวัติอุทกศาสตร์ฯ
- การประชุมหารือ และแบ่งมอบหน้าที่ของคณะทำงานจัดทำหอประวัติอุทกศาสตร์ฯ
- การรวบรวมเอกสารหลักฐาน เครื่องมือเครื่องใช้ ประวัติศาสตร์ พร้อมภาพถ่าย รวมทั้งการจัดทำรายละเอียดการนำเสนอ
- การจัดจ้าง บริษัท เพื่อออกแบบและก่อสร้างหอประวัติอุทกศาสตร์ฯ
- งานออกแบบ และตกแต่งภายใน
- การเตรียมความพร้อมในการเปิดหอประวัติอุทกศาสตร์ฯในปี พ.ศ.๒๕๕๐
๔. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
- การประชุมหารือ และเตรียมงาน เม.ย.๔๙ - ก.ค.๔๙
- ขออนุมัติจัดจ้างและการก่อสร้าง ส.ค.๔๙ - พ.ย.๔๙
- การตกแต่งภายใน ธ.ค.๔๙
- พิธีเปิดอย่างเป็นทางการ ๑๖ ม.ค.๕๐
๕. งบประมาณและทรัพยากรที่จะต้องใช้
งบประมาณในการจัดจ้างออกแบบสร้างและตกแต่งหอประวัติอุทกศาสตร์ฯ ในวงเงินประมาณ ๑,๓๐๐,๐๐๐.- บาท
๖. ผู้รับผิดชอบโครงการ อศ./กองทุนหอประวัติอุทกศาสตร์ประเทศไทย
หน.โครงการ พล.ร.ท.เสน่ห์ สุนทรมงคล
๗. กรรมาธิการโครงการ โดยการจัดตั้งคณะทำงานจัดทำหอประวัติอุทกศาสตร์ฯ มีการแบ่งตามหน้าที่ให้กองต่าง ๆ รับผิดชอบ โดยมี พล.ร.ท.สมนึก อาศรัย เป็น ประธานคณะทำงานฯ และ พล.ร.ต.ณรงค์ นาคธน เป็นเลขานุการฯ ทำหน้าที่ ควบคุมกำกับดูแลตามขั้นตอน
๘. ผลประโยชน์ที่จะได้รับ
๘.๑ เป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและราชวงศ์จักรี ที่ทรงมีต่อกรมอุทกศาสตร์และงานด้านอุทกศาสตร์
๘.๒ เป็นการเผยแพร่ผลงานด้านอุทกศาสตร์ตลอดจนเป็นแหล่งความรู้ให้กับข้าราชการของ อศ. ทุกระดับและบุคคลทั่วไป
๘.๓ เป็นการอนุรักษ์เอกสารประวัติศาสตร์พร้อมทั้งอุปกรณ์เครื่องมือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบ เรียนรู้ และมีความภาคภูมิใจในกิจการอุทกศาสตร์ประเทศไทย
๖. โครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วย รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า
๑. ชื่อโครงการ โครงการก่อสร้างอาคารผู้ป่วย รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า
๒. หลักการและเหตุผล รพ. สมเด็จพระปิ่นเกล้า พร. มีหน้าที่ให้บริการ ด้านสาธารณสุข (การรักษาความเจ็บป่วย การส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค ) ให้แก่ประชาชน และกำลังพลกองทัพเรือ จากสถิติผู้ป่วยนอก ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ ราย ต่อปี ผู้ป่วยในประมาณ ๒๕,๐๐๐ รายต่อปี และการเข้ารวมโครงการประกันสุขภาพตามนโยบาย รัฐบาล รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า พร. มีความจำเป็น ต้องคง การให้บริการที่มีมาตรฐานและปลอดภัยในทุกด้าน ปัจจุบัน อาคารผู้ป่วยใน และอาคารผู้ป่วยนอก ของ รพ. สมเด็จพระปิ่นเกล้า พร. ส่วนใหญ่ เป็นอาคารเก่าอายุ การใช้งาน มากกว่า ๔๐ปี ลักษณะเป็นอาคาร ๒ ชั้น อยู่กระจัดกระจาย ในพื้นที่ของ รพ.สมเด็จพระปิ่นเกล้า ขาดความเชื่อมโยงในด้านศูนย์การบริการ อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการ มีสภาพทรุดโทรม และเสื่อมสภาพ ไม่สามารถซ่อมทำให้กลับเข้าสู่สภาพพร้อมใช้โดยปลอดภัยได้ (จากการประเมิน ของ กรมช่างโยธา ทหารเรือ) ปัจจุบันได้พิจารณางดใช้แล้ว ๒ อาคาร คือ อาคาร กุมารเวชกรรม และ อาคารพิเศษ ๑ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง และสามารถเคลื่อนย้ายการให้บริการได้ โดยผู้ป่วยกุมารย้ายไปให้การรักษาที่อาคาร ๑๐๐ ปี ชั้น ๕ ส่วนอาคารอื่นๆ จำเป็นต้องคงให้การบริการผู้ป่วยทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ถึงแม้จะมีความเสี่ยง เนื่องจากยัง ไม่สามารถหาอาคารใหม่รองรับได้ ได้แก่ อาคารผู้ป่วยสูติ-นรีเวชกรรม ,อาคารผู้ป่วยฉุกเฉิน ,อาคาร ศัลยกรรม หญิง/ชาย และอาคารทันตกรรมบางส่วน
๓. วัตถุประสงค์
๓.๑ เพื่อพัฒนางานบริการด้านสาธารณสุข แก่ประชาชน และ กำลังพลกองทัพเรือได้รวดเร็ว ปลอดภัยด้านมาตรฐานโครงสร้างสิ่งแวดล้อม
๓.๒ เพื่อให้การบริการรักษาพยาบาล เป็นลักษณะ One stop service ทำให้ผู้รับการบริการ เกิดพึ่งพอใจ มากขึ้น
๓.๓ เพื่อให้มีอาคารด้านบริการ รักษาพยาบาลที่มั่นคง ปลอดภัย และสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
๓.๔ เพื่อให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านรักษาพยาบาล มีมั่นใจในความปลอดภัย ขณะปฏิบัติงาน
๓.๕ เพื่อเพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะ ในเขตพื้นที่อาคารด้านหน้า โดยรอบของอนุสาวรีย์ ซึ่งช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียว ให้ รพ.ฯ และชุมชนโดยรอบ
๔. วิธีการดำเนินงาน
๔.๑ พร. แต่งตั้งคณะทำงาน โครงการสร้างอาคารฯ เพื่อจัดประชุม หารือ เรื่อง หลักการและเหตุผล กำหนด ตำบลที่ พื้นที่ใช้สอย ในแต่ละอาคาร โดยพิจารณา โครงการเป็น 2 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ ๑ ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยใน ๑๑๕ ปี บริเวณ อาคารศัลยกรรม ชาย/ หญิงและอาคารศัลยกรรม ๒ เป็นอาคาร ๙ ชั้น พื้นที่ใช้สอย ๒๑,๖๐๐ ตารางเมตร
- ระยะที่ ๒ ก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอก บริเวณ หน้าอาคาร ๕ ชั้น เป็นอาคาร ๕ ชั้นพื้นที่ใช้สอย ๑๓,๐๐๐ ตารางเมตร และเชื่อมงานบริการ กับอาคาร ๕ ชั้นเดิม
๔.๒ เสนอขออนุมัติหลักการจาก ทร. และประสานงาน กับหน่วยที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนจากโครงการก่อสร้าง ฯ ตลอดจนประสานงานกับ กรมช่างโยธาทหารเรือ เพื่อ ช่วยเหลือในการออกแบบ พื้นฐาน แบบร่างอาคาร , ตำบลที่ก่อสร้าง และประมาณการงบประมาณ
๕.ระยะเวลาในการดำเนินงาน
๕.๑ ระยะที่ ๑ ปีงป. ๔๘ - ๕๐ (๓ ปี)
๕.๒ ระยะที่ ๒ (ขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านงบประมาณที่มีอยู่) ประมาณ ปี งป.๔๙-๕๐ ( ๒ ปี )
๖. งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้ พิจารณาใช้เงินรายรับสถานพยาบาลร่วมกับเงินงบประมาณ และเงินบริจาคในการ ดำเนินการก่อสร้าง รวมทั้งสิ้นประมาณ ๗๗๕ ล้านบาท แบ่งเป็น
๖.๑ ระยะที่ ๑
- งบประมาณอาคารและโครงสร้างรวมที่จอดรถใต้ดิน ประมาณ ๓๒๕ ล้านบาท
- Infrastructure, เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ประมาณ ๑๕๐ ล้านบาท
๖.๒ ระยะที่ ๒
- งบประมาณอาคารและโครงสร้าง ประมาณ ๒๐๐ ล้านบาท
- Infrastructure, เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ประมาณ ๑๐๐ ล้านบาท
๗. ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ. สมเด็จพระปิ่นเกล้า พร.
๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๘.๑ สามารถพัฒนางานบริการด้านสาธารณสุข แก่ประชาชน และ กำลังพลกองทัพเรือได้รวดเร็ว ปลอดภัยด้านมาตรฐานโครงสร้างสิ่งแวดล้อม
๘.๒ สามารถให้การบริการรักษาพยาบาล เป็นลักษณะ One stop service ทำให้ผู้รับการบริการ เกิดพึ่งพอใจ มากขึ้น
๘.๓ มีอาคารด้านบริการ รักษาพยาบาลที่มั่นคง ปลอดภัย และสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
๘.๔ บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านรักษาพยาบาล มีมั่นใจในความปลอดภัย ขณะปฏิบัติงาน
๘.๕ สามารถเพิ่มพื้นที่สวนสาธารณะ ในเขตพื้นที่อาคารด้านหน้า โดยรอบของอนุสาวรีย์ ซึ่งช่วยเพิ่มพื้นที่ สีเขียวให้ รพ.ฯ และชุมชนโดยรอบ
๗. โครงการวิถีชีวิตข้าราชการกองทัพเรือ ตามแนวทางพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง
๑. ชื่อโครงการ/กิจกรรม โครงการวิถีชีวิตข้าราชการกองทัพเรือตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
๒.๑ เพื่อให้กำลังพลของกองทัพเรือและครอบครัว สามารถดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน ยึดถือหลักการตามแนวปรัชญา "การพึ่งพาตนเอง" ในทางสายกลางบนพื้นฐานของความมั่นคง และยั่งยืนในการดำรงชีวิตที่ส่งผลให้สามารถพึ่งพาตนเองได้
๒.๒ เพื่อส่งเสริมให้กำลังพลของกองทัพเรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวให้ดีขึ้น ด้วยการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหารายได้เสริมนอกเวลาราชการ
๒.๓ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และสร้างมาตรการควบคุมมิให้กำลังพลของกองทัพเรือและครอบครัว มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้น รวมทั้งช่วยลดปัญหาการเป็นหนี้สินในอนาคต
๓. ลักษณะของโครงการ/กิจกรรม
๓.๑ สร้างศูนย์การเรียนรู้ รวมทั้งจัดการอบรมกำลังพลของกองทัพเรือและครอบครัว ให้มีความรู้ความเข้าใจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้
๓.๒ ให้กำลังพลของกองทัพเรือและครอบครัว มีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และมีความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งมีความสามารถในการถ่ายทอดวิธีการดำเนินงานให้กับผู้อื่นได้
๓.๓ คัดเลือกหน่วย และกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการและความพร้อมที่จะสามารถดำเนินงานคัดเลือกเป็นบ้านตัวอย่างได้ โดยให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้จัดทำแผนแม่บทของหน่วย
๓.๔ การจัดสรรพื้นที่ภายในหน่วย โดยดำเนินการมุ่งเน้นการผลิตพืชผลให้พอเพียงกับความต้องการบริโภคในครัวเรือนหลักใหญ่สำคัญคือ การลดค่าใช้จ่ายโกยการสร้างสิ่งอุปโภคในพื้นที่ดินของหน่วย เช่น การปลูกข้าว ไม้ผล พืช ผัก การเลี้ยงปลา ไก่ และการพัฒนาแหล่งน้ำ ฯลฯ
๓.๕ ต้องอาศัยความร่วมมือ การประสานงานกันทั้งหน่วยงานในกองทัพเรือ รวมทั้งหน่วยงานของภาครัฐ เอกชน และชุมชน ในด้านต่าง ๆ โดยรวมพลังในรูปกลุ่มสนับสนุนกัน เพื่อทำการผลิต การตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านการสวัสดิการ การศึกษา และการพัฒนาแหล่งน้ำ ฯลฯ
๓.๖ การดำเนินงาน โดยอาศัยกระบวนการในรูปกลุ่มสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งตั้งอยู่บนหลัก "รู้รัก สามัคคี" ขจัดข้อขัดแย้งไปสู่ความประนีประนอม และการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง
๔. ระยะเวลาดำเนินการ
๔.๑ เริ่มต้น (วัน/เดือน/ปี) ๑ มกราคม ๒๕๕๐
๔.๒ สิ้นสุด (วัน/เดือน/ปี) ๓๑ ธันวาคม ๒ค๕๐
๕. การดำเนินการ
๕.๑ แต่งตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการต่าง ๆ ของหน่วย โดยคัดเลือกจากหัวหน้า/ผู้แทนหน่วยที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
๕.๒ สำรวจข้อมูลกำลังพล และพื้นที่สำหรับดำเนินการของหน่วยต่าง ๆ เพื่อประกอบการพิจารณาในการคัดเลือก
๕.๓ สร้างศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและศึกษาของกำลังพลของกองทัพเรือและครอบครัว
๕.๔ ดำเนินการทำพิธีเปิดโครงการ/กิจกรรมในภาพรวม โดยเรียนเชิญผู้บัญชาการทหารเรือ/ผู้แทน และเชิญหน่วยต่าง ๆ ร่วมพิธี
๕.๕ ส่งเสริมการจัดการความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่กำลังพลของกองทัพเรือและครอบครัวในทุกพื้นที่ รวมทั้งการจัดอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
๕.๖ จัดทำหลักสูตรเศรษฐกิจพอเพียงในลักษณะต่าง ๆ เพื่อการอบรมกำลังพลของกองทัพเรือและครอบครัว
๕.๗ ให้หน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างและส่งเสริมให้กำลังพลในสังกัดได้รับทราบนโยบาย รวมทั้งการสำรวจข้อมูลพื้นฐาน การรณรงค์ให้กำลังพลเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม ตลอดจนการขยายผลให้เป็นรูปธรรมได้ตามวัตถุประสงค์
๕.๘ ศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างความเหมาะสม และดำเนินการประเมินผลอย่างต่อเนื่อง
๖. งบดำเนินการ
๖.๑ งบประมาณ ทร.รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการประมาณ ๑.๕ ล้านบาท
๖.๒ งบอื่น ๆ -
๗. พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ภายในหน่วยของหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือที่ได้รับการคัดเลือก และหน่วยเฉพาะกิจกองทัพเรือ
๘. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๘.๑ เพื่อให้กำลังพลของกองทัพเรือและครอบครัว มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีอาชีพที่มั่นคง ดำรงชีวิตภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๘.๒ เพื่อให้หน่วยงานมีความเข้มแข็งน่าอยู่และมีความเจริญพัฒนา
๘.๓ เพื่อให้กำลังพลของกองทัพเรือและครอบครัว สามารถอุ้มชูตนเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตนเอง อยู่ได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน ยึดถือหลักการตามแนวปรัชญา "การพึ่งพาตนเอง" ในทางสายกลางบนพื้นฐานของความมั่นคงและยั่งยืนในการดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง "ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล และมีระบบคุ้มกันที่ดี"
๘.๔ เพื่อช่วยลดปัญหาการเป็นหนี้สินของกำลังพลของกองทัพเรือและครอบครัวในอนาคต
๙. การติดตามประเมินผล อย่างต่อเนื่องทุก ๓ เดือน จนสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ