กรุงเทพฯ--26 พ.ค.--ที.อาร์.ไอ.โกลบอล
ด้วยความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย ที่เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาและการเติบโตของอุตสาหกรรมยางเอเชียในหลายภาคส่วน จึงทำให้เกิดงาน APEST 2011 ขึ้นมา เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมใหม่ของอุตสาหกรรมยางที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก ซึ่งสามารถนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดในอุตสาหกรรมยาง และยังเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้เกิดมุมมองสร้างสรรค์และนำกลับไปใฃ้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย
ดร.สนิท สโมสร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.อาร์.ไอ.โกลบอล จำกัด ผู้จัดทำนิตยสาร The Rubber International และยางไทย และในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงาน APEST 2011 งานประชุมและนิทรรศการยางเอเชีย-แปซิฟิก ประจำปี 2554 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2554 ณ โรงแรม โซฟิเทล เซ็นทารา แกรนด์ กรุงเทพ ฯ กับ แนวคิด : ความยั่งยืน...กับการมุ่งสู่อุตสาหกรรมยางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า APEST (Asia Pacific Elastomer Science and Technology) ถือเป็นงานประชุมนานาชาติชั้นนำ ซึ่งจะนำเสนอข้อมูลด้านการพัฒนาและนวัตกรรมล่าสุดด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอีลาสโตเมอร์ และยังวิเคราะห์ภาครวมอุตสาหกรรมในประเด็นและความท้าทายต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบถึงสิ่งแวดล้อม สุขภาพ ความปลอดภัยและกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ
ทั้งนี้ ในการประชุมและนิทรรศการยางเอเชียแปซิฟิก APEST ได้เชิญบุคคลชั้นนำซึ่งมีความสามารถอย่างมืออาชีพในวงการอุตสาหกรรมนี้ เข้ามาร่วมบรรยายและอภิปรายในประเด็นต่างๆซึ่งจะมีส่วนส่งเสริมให้อุตสาหกรรมยาง ซึ่งมีศูนย์กลางสำคัญในเอเชียเติบโตอย่างมีเสถียรภาพในฐานะเป็นผู้ผลิตยางและผลิตภัณฑ์จากยางในระดับโลก
งานประชุม APEST ในปี 2554 นี้จะมุ่งเน้นไปที่ความก้าวหน้าในเทคโนโลยียาง ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาของอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และเน้นย้ำความห่วงใยประเด็นสิ่งแวดล้อมของโลก ทั้งนี้ วัสดุจากนวัตกรรมและแนวทางการผลิตต่างเข้าไปมีผลต่อการจัดการวัตถุดิบ การผลิต เครื่องจักรและกระบวนการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการอย่างยั่งยืนด้วยกันทั้งสิ้น โดยมีเรื่องที่จะมานำเสนอ อภิปรายครอบคลุมในประเด็นใหม่ ๆ อย่างเช่น เรื่องพลวัตใหม่ ๆ ของการผลิตและใช้ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์และน้ำยางข้น ที่ก่อจะให้เกิดความยั่งยืน การใช้พลังงานทดแทนในอุตสาหกรรมยาง กฎเกณฑ์ต่างๆ วัสดุจากนวัตกรรม ชนิดของยาง รวมไปถึงยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์ แนวโน้มการใช้ยาง และการพัฒนาเชิงเทคนิคของผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์จากน้ำยางข้น การผสมและพัฒนาเทคโนโลยียางล้อ และผลิตภัณฑ์ด้านยานยนต์ นอกจากนี้ยังจะเน้นมุมมองด้านวิกฤตสภาวะอากาศกับอีลาสโตเมอร์ที่กี่ยวข้อง การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ โอกาส และสิ่งจูงใจต่างๆ ของการผลิตยางธรรมชาติ รวมถึงโอกาสการลงทุนในการผลิตยางและกระบวนการผลิตสินค้าจากยางเพื่อให้ก้าวทันกับอุปสงค์ภาคการผลิตยางของโลก ตลอดจน เรื่องยางรีไซเคิลและยางรีเคลม และการอภิปรายกลุ่ม
การประชุม APEST ครั้งนี้ จะประกอบไปด้วยการนำเสนอของผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคระดับนานาชาติ จำนวน 25 คน ซึ่งจะร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับความจำเป็นของอุตสาหกรรมยางในอนาคต ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมมากถึง 350 คน รวมถึงผู้จัดแสดงนิทรรศการในอุตสาหกรรมยางจากทั่วโลก ร่วมออกบูธกันอย่างคับคั่ง
“ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะมีผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ มาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนให้ความรู้ และรับรู้ความเคลื่อนไหวการประกอบธุรกิจของกลุ่มอุตสาหกรรมยางจากทั่วโลก ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และเกิดการพัฒนาของอุตสาหกรรมดังกล่าวอย่างยั่งยืนในอนาคต”
ดร.สนิท กล่าวทิ้งท้ายว่า การประชุมครั้งนี้ เราได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก สมาคมยางพาราไทย (TRA) สมาคมอุตสาหกรรมยางอินเดีย (AIRIA) กลุ่มองค์กรศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศ (IRSG) สถาบันพลาสติกและยางมาเลเซีย (PRIM) สมาคมโพลิเมอร์แห่งประเทศไทย (PST) สถาบันกลุ่มผู้ผลิตยางสังเคราะห์นานาชาติ (IISRP) สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ORRAF) สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร (DOA/RRIT) สมาคมผู้ผลิตถุงมือยางไทย (T.R.G.M.A.) สมาคมน้ำยางข้นไทย (TLA) คณะกรรมการการยางมาเลเซีย (MRB) เป็นต้น
ติดต่อสอบถามรายละเอียดการเข้าร่วมงานหรือแสดงนิทรรศการงาน APEST ได้ที่ สำนักงานเลขาธิการงานประชุม APEST201 72 อาคาร พีเอวี ชั้น 4A ถนน ลาดพร้าว ซอย 42 ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 เว็บไซต์ : www.rubbmag.com / www.rubbmag.com/eng/APEST2011.htm
หรือติดต่อ: น.ส. รุ่งนภา หนูประโคน โทร : 662-512 2128 ต่อ 18 แฟกซ์ : 662-512 2129
อีเมล์ mktg.mgr@rubbmag.com และ น.ส. สุเมตตา รัตนบุรี โทร : 662-512 2128 ต่อ 25 แฟกซ์ : 662-512 2129 อีเมล์ mktg.asst2@rubbmag.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2512-2128 ต่อ 16 เขตต์โสภณ