ผลการสำรวจนิด้าโพล เรื่อง "เกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้ง'54 ครั้งที่ 1"

ข่าวทั่วไป Friday May 27, 2011 15:07 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 พ.ค.--นิด้าโพล นิด้าโพลชี้ ประชาชน เลือก “เพื่อไทย” เฉือน “ประชาธิปัตย์” กลุ่ม “พลังเงียบ” ยังเป็นตัวแปรหลัก“รักษ์สันติ” พรรคการเมืองหน้าใหม่มาแรง ศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “การเลือกตั้งสมัยหน้า และความนิยมของประชาชนต่อพรรคการเมือง” ระหว่างวันที่ 2-3 พฤษภาคม 2554 จากประชาชนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวน 1,203 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกภูมิภาค ทุกระดับการศึกษาและกลุ่มอาชีพ ผลการสำรวจสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สมัครฯ จากพรรคการเมืองที่ประชาชนคาดว่าจะเลือก ในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง ผู้สมัครฯ จากพรรคการเมืองที่คาดว่าจะเลือก ร้อยละ พรรคเพื่อไทย 23.36 พรรคประชาธิปัตย์ 20.20 พรรคภูมิใจไทย 2.99 อื่นๆ เช่น พรรครักษ์สันติ พรรคมาตุภูมิ 0.58 ยังไม่ตัดสินใจ 52.87 จากผลการสำรวจของนิด้าโพลพบว่า ประชาชนร้อยละ 23.36 คาดว่าจะเลือกผู้สมัครฯ จากพรรคเพื่อไทย โดยประชาชนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นฐานสนับสนุนเสียงพรรคเพื่อไทยมากที่สุด รองลงมาร้อยละ 20.20 ประชาชนคาดว่าจะเลือกผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งยังคงได้รับคะแนนความนิยมจากประชาชนในภาคใต้มากที่สุด และ “กลุ่มพลังเงียบ” อีกร้อยละ 52.87 ที่ยังไม่ตัดสินใจ และยังคงเป็นตัวแปรสำคัญสำหรับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งต่อไป 2. พรรคการเมืองที่ประชาชนคาดว่าจะได้รับเสียงสนับสนุนมากที่สุด ในระบบบัญชีรายชื่อ หรือ Party List พรรคที่คาดว่าจะได้รับเสียง สนับสนุนมากที่สุด ร้อยละ ในระบบบัญชีรายชื่อ หรือParty List พรรคเพื่อไทย 35.41 พรรคประชาธิปัตย์ 24.69 พรรคภูมิใจไทย 3.33 อื่นๆ เช่น พรรครักษ์สันติ พรรคมาตุภูมิ 0.33 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ 36.24 จากการสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 35.41 ระบุว่าพรรคเพื่อไทย น่าจะได้รับเสียงสนับสนุนในระบบบัญชีรายชื่อ หรือ Party List มากที่สุด รองลงมาร้อยละ 24.69 เป็น พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 3.33 เป็นพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 0.33 อื่นๆ เช่น พรรครักษ์สันติ พรรคมาตุภูมิ ที่เหลือร้อยละ 36.24 ยังไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ 3. ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับรูปแบบการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งต่อไป รูปแบบการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งต่อไป ร้อยละ รัฐบาลแบบพรรคผสม 43.14 รัฐบาลแบบพรรคเดียว 42.39 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ 14.46 จากการสำรวจพบว่า ประชาชนคาดว่า การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่จะเป็นแบบพรรคผสม ร้อยละ 43.14 ใกล้เคียงกับที่คาดว่าจะเป็นรัฐบาลแบบพรรคเดียว ร้อยละ 42.39 ส่วนร้อยละ 14.46 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ 4. ความนิยมของประชาชนที่มีต่อพรรคการเมืองหน้าใหม่ พรรคการเมืองหน้าใหม่ ร้อยละ พรรครักษ์สันติ 14.38 พรรคการเมืองใหม่ 10.72 พรรคมาตุภูมิ 8.73 ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ 66.17 จากการสำรวจพบว่า พรรครักษ์สันติเป็นพรรคการเมืองหน้าใหม่ที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด ร้อยละ 14.38 รองลงมาเป็นพรรคการเมืองใหม่ ร้อยละ 10.72 ถัดมาเป็นพรรคมาตุภูมิ ร้อยละ 8.73 อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่อีกร้อยละ 66.17 ไม่ทราบรายชื่อพรรคการเมืองหน้าใหม่ หรือไม่แน่ใจว่าจะได้รับความนิยมมากน้อยเพียงใด รายละเอียดรายงานผลการสำรวจฉบับสมบูรณ์ download ได้จาก http://nidapoll.nida.ac.th หรือเสนอแนะข้อคิดเห็นได้ที่ สำนักงานศูนย์สำรวจความคิดเห็นของประชาชน “นิด้าโพล” โทร. 02 727 3308 โทรสาร 02 727 3316 Email: nida_poll@nida.ac.th www.twitter.com/nidapoll และ www.facebook.com/nidapoll บทวิเคราะห์จากนักวิชาการ รศ.ดร.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน ประธานสภาคณาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และประธานที่ประชุมสภาอาจารย์แห่ง ประเทศไทย (ปอมท.) กล่าวถึงผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในครั้งนี้ว่า บ่งบอกถึงการตัดสินใจที่ชัดเจนของประชาชน และชี้ให้เห็นว่า ประชาชนอยู่ในฐานเสียงของพรรคใดพรรคหนึ่งอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวว่า “ตัวเลขที่น่าสนใจ คือกลุ่มที่ยังไม่ได้ตัดสินใจ ซึ่งมีอยู่ร้อยละ 52.87 กลุ่มนี้จะเป็นตัวแปรสำคัญสามารถชี้ขาดการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ และในตัวเลขนี้อาจจะมีกลุ่มที่เป็น Vote No กับอีกกลุ่มที่เป็นพันธมิตรฯ ซึ่งเคยเป็นแนวร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน แต่ภายหลังตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งเชื่อว่าไม่น่าจะเป็นกลุ่มใหญ่ โดยในตัวเลข 52.87 นี้ มีโอกาสเทคะแนนเสียงไปให้พรรคเพื่อไทย หรืออาจจะเทไปให้พรรคประชาธิปัตย์ หรืออาจกระจายคะแนนไปยังพรรครักษ์สันติได้เช่นกัน” ส่วนรูปแบบการจัดตั้งรัฐบาลนั้น รศ.ดร. ทวีศักดิ์ยังให้ทัศนะต่อไปว่า “ในการเลือกตั้งคงเป็นไปไม่ได้ที่พรรคการเมืองใดจะได้รับความนิยมสูงจนสามารถจัดตั้งรัฐบาลแบบพรรคเดียว แต่เชื่อว่าการจัดตั้งรัฐบาลสมัยหน้า น่าจะเป็นรัฐบาลผสม ส่วนจะเป็นพรรคเพื่อไทย หรือประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ก็ขึ้นอยู่กับพรรคทางเลือก ที่จะเลือกจับขั้วกับใคร อย่างไรก็ตามพรรคการเมืองหน้าใหม่ยังไม่ใช่พรรคทางเลือก เพราะประชาชนยังไม่รู้จัก และพรรคหน้าใหม่เองก็ยังไม่มีการลงพื้นที่ หรือนำเสนอนโยบาย อย่างชัดเจน ทำให้พรรคที่มีพื้นที่และฐานเสียงดีอยู่แล้วมีโอกาสมากกว่า แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าพรรคการเมืองหน้าใหม่จะสามารถทำให้ประชาชนร้อยละ 66.17 ซึ่งเป็นพลังเงียบรู้จักได้มากน้อยแค่ไหน และนโยบายรวมทั้งทีมงานมีความสามารถพอที่จะสร้างกระแสให้ประชาชนเลือกได้มากแค่ไหน แต่ถ้าไม่สามารถสร้างกระแสได้ ร้อยละ 66.17 อาจจะเป็น Vote No หรืออาจจะเทคะแนนให้กับพรรคการเมืองเดิมก็เป็นได้ กลุ่มพลังเงียบจึงเป็นปัจจัยสำคัญของคะแนนการเลือกตั้งครั้งนี้”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ