กรุงเทพฯ--27 พ.ค.--ดีเคเอสเอช
เหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงนี้ดูจะเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกเป็นข่าวที่เราเห็นจนชินตา แต่สิ่งที่เห็นอย่างเด่นชัดคือระดับความรุนแรงเริ่มทวีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับในบ้านเราเองปี 2554 เหตุการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้นในหลายจังหวัด ซึ่งนำความเดือดร้อนให้กับธุรกิจร้านค้า และบ้านเรือนของประชาชน รวมไปถึงเรื่องอาหารการกิน เรือกสวนไร่นาที่ถูกทำลาย รวมทั้งการสัญจรไปมาที่ยากลำบากไปตามๆ กัน จากสถิติในปี 2553 มีการประเมินค่าความเสียหายจากน้ำท่วมคิดเป็นมูลค่าราว 3.2 — 5.4 พันล้านบาท ส่วนในปีนี้พบค่าความเสียหายจากน้ำท่วมรวมทั้งสิ้นเป็นเงินรวมกว่า 2.1 — 2.6 พันล้านบาท
ปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วมคือปริมาณน้ำฝนที่ตกต่อเนื่องกันเป็นเวลานานน้ำทะเลหนุนฝนไม่ตกตามฤดูกาล ซึ่งถือเป็นเรื่องของธรรมชาติที่ควบคุมยากอยู่แล้วแต่ปัจจัยที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์นี่สิ ที่สร้างความยากลำบากให้กับธรรมชาติเพิ่มขึ้นแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น การขยายตัวของเขตชุมชนและการทำลายระบบระบายน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อาทิ มีการปลูกสร้างที่ยื่นลงไปในทะเลบ้าง ถนนหลายสายก็ถมดิน หรือก่อสร้างขวางทางน้ำไหล, การทิ้งขยะลงแม่น้ำทำให้แม่น้ำลำคลองตื้นเขิน ปัญหาตลิ่งพังรวมไปถึงปัญหาวัชพืชที่ปกคลุมลำคลองอย่างผักตบชวา เป็นต้น ซึ่งผลก็คือ เวลาที่น้ำหลากแต่ช่องทางเดินน้ำกลับไหลไม่สะดวก ซึ่งตามมาด้วยน้ำท่วมขังนั่นเอง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งเราทำไว้กับธรรมชาติ และเมื่อธรรมชาติให้บทเรียนแก่เราทุกคน ถึงเวลาแล้วหรือยังที่พวกเราจะ หยุด ! ทำร้ายและหันมาดูแลธรรมชาติกันจริงจังสักที
อาจจะเริ่มจากตัวเราก่อน แล้วค่อยขยายความไปปลูกจิตสำนึกจากไม้อ่อน (เด็ก) ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง และสอนพวกเค้าว่า ให้เริ่มต้นช่วยกันตั้งแต่สิ่งเล็กๆ เช่น การไม่ทิ้งขยะลงพื้นถนน , แม่น้ำ-ลำคลองเพราะยุคหนึ่งมีโครงการรณรงค์เรื่องความสะอาดกันอย่างจริงจัง ที่เรียกว่าโครงการ “ตาวิเศษ” หลายคนคงอาจจะพอจำได้ แม้จะผ่านไปกว่า 10 ปี แต่คำฮิตติดหูอย่าง “อ๊ะ..อ๊ะ อย่าทิ้งขยะ ตาวิเศษเห็นนะ” ก็เป็นสิ่งเตือนใจให้เด็กยุคนั้นหยุดคิดก่อนทิ้งขยะลงพื้น ในขณะที่ปัจจุบัน ตาวิเศษเหล่านั้นก็ค่อยๆ เลือนหายไปจากความทรงจำพร้อม ๆ กับเศษขยะเต็มพื้น จะดีไหมถ้าเรากลับมาปลูกจิตสำนึกกันอีกครั้ง
หรือถ้าให้เป็นรูปธรรมหน่อยก็ต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐในการการขุด-ลอกคูคลองที่เสมือนเป็นอีกหนึ่งทางที่ช่วยลดการเกิดน้ำท่วมได้เช่นกัน ทุกวันนี้การขุดลอกคลองค่อนข้างจะเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน และสิ้นเปลืองงบประมาณมากมายมหาศาล จนแทบกลายเป็นเรื่องใหญ่ เพราะว่ามีการใช้เครื่องจักรไม่เหมาะสม ซึ่งกว่าจะขุดได้ซักทีต้องใช้เครื่องมือขุดลอกคลองแบบผสมผสาน ที่ต้องเอารถขุดแบคโฮ (ซึ่งเป็นเครื่องจักรสำหรับงานบนดิน) ไปวางบนเรือโป๊ะ แล้วขุดลอกดินไปใส่ไว้บนเรือ หรือไม่ก็เอารถขุดจอดริมตลิ่ง แล้วก็ควานขุดโกยขี้ดินขี้เลนขึ้นมากองข้างทาง ที่ต้องเสียเวลาจัดเก็บกันมากมาย ดีไม่ดีตลิ่งพังอีกต่างหาก ประสิทธิผลที่ได้ก็ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ต้องมีการปฏิบัติงานบ่อยๆ สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ การขุดลอกคลองแบบนี้ถือเป็นการกวนตะกอนใต้น้ำขึ้นมาบนผิวน้ำ เมื่อถูกกระแสน้ำพัดพากระจายไปทั่ว ทำให้เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ และยังเป็นการรบกวนการย่อยสลายตัวของสารอินทรีย์ในระบบนิเวศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตในน้ำ…เห็นหรือยังล่ะว่าการใช้เครื่องจักรที่ไม่ถูกประเภททำให้เกิดผลกระทบหลายๆอย่าง ที่เราคาดไม่ถึง
ซึ่งคิดๆ ดูแล้ว น่าจะเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา แต่ก็เป็นสิ่งที่ต้องทำเพราะไม่มีทางเลือกนั่นเอง หรืออีกทางหนึ่งก็ต้องให้หน่วยงานรัฐลงทุนซื้อเรือขุดลอกคูคลองเจ๋งๆ ซักลำ ก็ลงทุนกันลำละเป็นร้อยล้านบาท เอาเป็นว่า กว่างบประมาณรัฐ จะลงได้ถึงขนาดที่จะลอกคูคลองสำคัญกันได้ทั่วประเทศ หลายจังหวัดก็คงจมน้ำกันต่อไปอีกหลายปี
แต่เร็วๆ นี้เห็นมีบริษัทเอกชนใหญ่แห่งหนึ่งเพิ่งจะเปิดตัวเครื่องจักรนวัตกรรมใหม่สำหรับการขุด-ลอกคูคลอง ที่ดูจะทำงานง่ายกว่าเดิมมากเรียกว่า เรือขุด-ลอกคลองอเนกประสงค์ ของIMS Versi-Dredge นำเข้าโดยบริษัทดีเคเอสเอชที่มีความอเนกประสงค์ทำงานทั้งบนผิวน้ำและใต้น้ำ เพราะบนผิวน้ำใช้เทคโนโลยีไฮเทคด้วยใบมีดยักษ์ที่ทั้งตัดวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบชวาให้เป็นชิ้นเล็กๆ และพ่นออกไปเป็นอาหารให้กับสัตว์น้ำได้ด้วย ส่วนการทำงานใต้น้ำ ใช้เทคโนโลยีที่สามารถส่งปฏิกูลจากการขุดลอกแล้ว ผ่านมาทางท่อและทิ้งในบ่อบำบัดได้เลย โดยที่ไม่ต้องมาตามเก็บทีละหลายๆ จุด และลดการสร้างภาวะมลพิษทางน้ำได้อย่างยอดเยี่ยม เท่าที่เห็นแล้วก็ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพดีทีเดียว ผลก็คืองานเดินได้เร็ว พื้นที่ที่มีปัญหาก็เคลียร์ได้ไว เพราะมีเทคโนโลยีล้ำสมัยเป็นเครื่องมือทุ่นแรง ในขณะเดียวกันเรือลำนึงก็สนนราคาราวๆ ยี่สิบล้านบาท หากภาครัฐหรือเอกชนจะลงทุนไว้ใช้หรือให้เช่าก็นับว่าคุ้มค่าทีเดียว เพราะไม่เช่นนั้นก็ต้องเตรียมงบอีกหลายพันล้านบาทเพื่อเยียวยาตอนน้ำท่วมกันเรื่อยๆ ส่วนคนเดือดร้อนที่ไม่อยู่ในพื้นที่ดูแลทั่วถึง ก็ต้องนอนหลังคาชั้นสอง รอเงินบริจาคจากคนใจบุญทั้งหลายกันไป แล้วเมื่อไหร่จะแก้ไขที่ต้นเหตุกันซักทีล่ะ
ท่ามกลางความโชคร้ายย่อมมีโชคดีอยู่บ้างเพราะมนุษย์เราก็ยังพัฒนาเทคโนโลยี และความเจริญก้าวหน้ามาใช้และยิ่งหากใช้ให้ถูกที่ถูกทางด้วยแล้ว ก็เชื่อว่าการอยู่กับธรรมชาติของมนุษย์ต้องเรียนรู้ธรรมชาติ และต้องไม่เห็นแก่ตัวเมื่อเรารักธรรมชาติมากขึ้น..ธรรมชาติก็จะรักเราเช่นกัน
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด
คุณกุลธิดา ลีนะบรรจง ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร โทร.02-790-8933
ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์ : คุณศุภอัชฌ์ คุณภัทรเดช และคุณณัฐธยาน์