กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง
อำพลฟูดส์ รุดหน้าชิงสัดส่วนพื้นที่การตลาด ส่ง 3 สินค้านวัตกรรมใหม่ตอบโจทย์ผู้บริโภค หวังโกยรายได้ ไตรมาสหลัง กว่า 150 ล้านบาท
“นวัตกรรมอำพลฟูดส์” AMPOL FOOD INNOVATION 3 นวัตกรรมเพื่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม โจทย์ใหม่อำพลฟูดส์ ขับเคลื่อนยอดขายไตรมาส 3 และ 4 โดยนวัตกรรมเพื่อผู้บริโภคเป็นสินค้านวัตกรรมใหม่ ทั้งส่วนของไอศกรีมหวานเย็น ICEDREAM กะทิกลิ่นใบเตย และซอสปรุงรสผัดกระเพรา
นายเกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัทอำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด กล่าวว่า ในไตรมาสที่ 3 นี้ เรายังคงตอบโจทย์ในแง่ของความต้องการของผู้บริโภคหลังจากที่เราได้ออกตัวสินค้ากะทิอบควันเทียนตราชาวเกาะไปได้ 2 ปี กะทิอบควันเทียนได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี แต่จากผลการสำรวจก็ยังพบว่าขนมไทยในหลากหลายชนิดใช้กะทิใบเตย เราจึงตอบโจทย์ในแง่ความต้องการของตลาด ด้วยการคิดค้นกระบวนการผลิตจึงออกมาเป็นกะทิใบเตย ตราชาวเกาะ
ไอศกรีมหวานเย็น ICEDREAM ไอศกรีมซึ่งอุดมไปด้วยคุณค่าจากน้ำผลไม้แท้ 20 % ไขมัน 0% เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่เราตั้งเป้าว่ายอดขายจะทะลุถึง 71 ล้านบาท ภายในสินปีนี้ ด้วยคุณสมบัติที่โดดเด่น ผมคาดหวังว่าจะสามารถครองใจผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว เพราะด้วยรูปลักษณ์ที่ทันสมัย สะอาด ปราศจากวัตถุกันเสีย ทำให้สินค้าตัวนี้มีความแตกต่างจากสินค้าอื่นๆ ในท้องตลาดอย่างชัดเจน อีกทั้งไอศกรีมหวานเย็นตัวดังกล่าวมีความพิเศษที่ว่าคุณสามารถเลือกรับประทานไอศกรีมที่บ้าน หรือที่ทำงานก็สะดวก เพราะไม่ต้องซื้อจากตู้แช่ แต่สามารถซื้อจากซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านค้าชั้นนำ แล้วกลับไปแช่ที่บ้าน หรือที่ทำงาน ก็รับประทานได้แล้ว นอกจากนั้นหากแช่แข็งแล้วนำออกมานอกตู้เย็นแล้วลืมรับประทาน หากเป็นไอศกรีมธรรมดาที่ ซื้อจากตู้แช่ก็คงจะไม่สามารถแช่ให้กลับมาสภาพดังเดิมได้ แต่ ICEDREAM สามารถแช่ให้แข็งได้ดังเดิม รสชาติยังอร่อยเหมือนเดิมเช่นกันครับ นายเกรียงศักดิ์ กล่าว
หลังจากสินค้าในกลุ่มน้ำแกงพร้อมปรุงตรารอยไทย ติดตลาดทั้งในและต่างประเทศแล้ว วันนี้อำพลฟูดส์ขยายไลน์การผลิตออกมาในส่วนของน้ำซอสปรุงรส โดยน้ำซอสแรกที่ได้ออกมาช่วงชิงพื้นที่ทางการตลาด คือ ซอสปรุงรสผัดกระเพรา ซึ่งคุณเกรียงศักดิ์ ได้กล่าวว่า ซอสปรุงรสผัดกระเพราจะสามารถช่วงชิงพื้นที่ทางการตลาดได้ถึง 5% ในตลาดซอสผัด
ด้าน CSR บริษัทอำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ยังคงขับเคลื่อนโครงการกล่องวิเศษอย่างต่อเนื่อง จาก 2 ปี ของโครงการกล่องวิเศษมอบโต๊ะและเก้าอี้นักเรียน กว่า 5000 ชุด และยังคงดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง
คุณเกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กล่าวเสริมว่า นอกเหนือจากโครงการกล่องวิเศษ ทางบริษัทยังมีโครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอีกมาก โดยเฉพาะด้านการส่งเสริมสิ่งแวดล้อมภายในและนอกโรงงาน กับโครงการ GREEN FACTORY ซึ่งขณะนี้ดำเนินการไปแล้วกว่า 80% เหลือเพียงส่วนของบ่อหมักแก๊สชีวภาพ ซึ่งลงทุน ไปกว่า 60 ล้านบาท หมักของเสีย รวมทั้งวัสดุที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิตของโรงงาน นอกจากจะได้แก๊สชีวภาพเพื่อนำกลับมาใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนในโรงงานแล้ว ยังช่วยนอกจากปล่อยของเสีย และกลิ่นออกนอกโรงงาน นับว่าเป็นโครงการที่เราได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากกระทรวงพลังงาน และอีกหนึ่งโครงการที่เราดำเนินไปแล้วคือ โครงการ WOOD PLASLET หรือแท่งชีวมวล ซึ่งทางบริษัท ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี คิดนวัตกรรมตัวนี้ในการอัดกากใยมะพร้าวที่มีน้ำหนักเบาให้เป็นแท่ง จากของเหลือในตัวมะพร้าว กลายมาเป็นแท่งชีวมวล ซึ่งนำไปเผาแปลเปลี่ยนพลังงานความร้อนไปเป็นพลังงานไฟฟ้าใช้ภายในโรงงานช่วยลดค่าไฟไปได้กว่า 30 ล้านบาทต่อปี
ผลิตภัณฑ์กะทิสำเร็จรูปตรา “ชาวเกาะ” เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์จากอำพลฟูดส์ และเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากลดคาร์บอนจากคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (TBCSD) ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด พยายามผลักดันเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ใส่ใจในทุกกระบวนการผลิต วัตถุดิบที่เข้ามาในโรงงานเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่มีส่วนเหลือทิ้งที่จะออกไปทำลายสิ่งแวดล้อม
การที่ผลิตภัณฑ์กะทิสำเร็จรูปตรา “ชาวเกาะ” ได้รับมอบฉลากผลิตภัณฑ์ลดคาร์บอน มิได้เป็นเพียงการช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ สู่ชั้นบรรยากาศจากกระบวนผลิตถึง 20 % เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นการร่วมอนุรักษ์และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
นวัตกรรมสุดท้ายที่อำพลฟูดส์ทำเพื่อสังคม คือ นวัตกรรมเพื่อสังคม โดยผนึกกำลังกับมูลนิธิทันตนวัตกรรม และหน่วยงานพันธมิตรอีก 4 หน่วยงานในการคิดค้นเจลลี่โภชนาการ หรืออาหารเจลลี่อ่อนเพื่อผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก
ในปัจจุบันโรคมะเร็งช่องปากถือเป็นโรคของช่องปากที่ร้ายแรงที่สุด มักพบว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในระยะท้ายแล้วมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงถึงร้อยละ 45 โรคมะเร็งช่องปากจัดอยู่ในกลุ่มมะเร็งที่ศรีษะและลำคอ ปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งช่องปากและมะเร็งคอหอยในระยะต้นจะใช้วิธีผ่าตัดร่วมกับการฉายรังสี แม้จะได้ผลดีในระยะแรก แต่ผู้ป่วยมักประสบปัญหาความพิการของอวัยวะบดเคี้ยวตามมา และผลข้างเคียงจากการฉายรังสีก็มักทำให้เกิดแผลในปาก ประสาทการรับรสเปลี่ยนไป ต่อมน้ำลายผลิตน้ำลายน้อยลงและเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี รับประทานอาหารไม่ได้ ต้องพึ่งพาการให้อาหารทางสายยาง (tube feeding) ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญ ดังนั้นการพัฒนาหาผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ป่วยมะเร็งสามารถรับประทานได้ทางปาก กลืนง่ายให้พลังงาน จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
?
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2622-3434 Pr@Ampolfood