กรุงเทพฯ--2 มิ.ย.--Aziam Burson-Marsteller
เอชพีต่อยอดซอฟต์แวร์บริหารจัดการข้อมูลลดความเสี่ยง และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรเผยผลวิจัยล่าสุด องค์กรร้อยละ 70 ขาดแนวทางการดำเนินงานแบบองค์รวมในการจัดการข้อมูลที่มีความสำคัญเชิงธุรกิจ
เอชพีพัฒนาพอร์ทโฟลิโอซอฟต์แวร์การบริหารจัดการข้อมูลให้ล้ำสมัยยิ่งขึ้น เพื่อสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ ลดความเสี่ยง
พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพและความง่ายดายในการบริหารจัดการข้อมูลทางธุรกิจองค์กรแบบ Instant-On Enterprise จะนำไอทีเข้าไปใช้ในทุกกระบวนการทำงานเพื่อให้มีความโปร่งใส ตลอดจนสามารถดูข้อมูลทั่วทั้งองค์กรได้แบบเรียลไทม์
จึงสามารถให้บริการแก่ลูกค้า พนักงาน พันธมิตร และประชาชนได้ตามต้องการโดยทันที ทั้งนี้ เพื่อตอกย้ำแนวคิดดังกล่าว เอชพีจึงได้นำแนวทางการดำเนินงานแบบองค์รวม (holistic approach) มาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูล ส่งผลให้ผู้บริหารสามารถควบคุมและบริหารข้อมูลได้สะดวกขึ้น นำไปสู่การตัดสินใจที่ดียิ่งขึ้น ทั้งยังบริหารต้นทุนและปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ และจัดสรรข้อมูลให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานในเวลาที่เหมาะสม
ผลสำรวจที่จัดทำโดยโคลแมน พาร์คเคส(1) เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ระบุว่า
- การบริหารจัดการข้อมูลขององค์กรต่างๆ กำลังอยู่ในสภาวะวิกฤติ
- องค์กรร้อยละ 77 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกระบุว่า การเติบโตอย่างรวดเร็วของคอนเท้นท์ทำให้โลกไอทีมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นสาเหตุของปัญหาการจัดเก็บข้อมูล และต้นทุนในการจัดเก็บข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย
- ขณะเดียวกัน บริษัทร้อยละ 62 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยอมรับว่า กำลังเผชิญความกดดันในการลดต้นทุนทางด้านระบบสารสนเทศ
- การบริหารจัดการข้อมูลแต่เดิมเป็นเพียงส่วนหนึ่งในหน่วยงานไอที แต่ปัจจุบันเป็นที่ต้องการอย่างแพร่หลายทั่วทั้งองค์กร ทั้งยังกล่าวได้ว่าไม่มีใครเป็นเจ้าของข้อมูลแต่เพียงผู้เดียว
- องค์กรร้อยละ 37 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมอบหมายให้ฝ่าย
ไอทีเป็นผู้ดูแลและบริหารจัดการข้อมูล ขณะที่ร้อยละ 31 ให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/คณะกรรมการบริษัทเป็นดูแลข้อมูลขององค์กร
- องค์กรต่างๆ ไม่มีแนวทางการบริหารจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพรอบด้าน ครบวงจร และสอดคล้องกับนโยบายการบริหารสารสนเทศของตนอย่างแท้จริง
- บริษัทร้อยละ 77 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่มีแนวทางการดำเนินงานแบบองค์รวมสำหรับนำมาใช้ในการบริหารจัดการข้อมูล
- บริษัทร้อยละ 82 ในภูมิภาคดังกล่าวไม่มีนโยบายการดูแลและรักษาข้อมูลอย่างเป็นทางการ เคร่งครัด และเป็นสากล
- มีบริษัทเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่เตรียมจัดทำและดำเนินการตามนโยบายในลักษณะดังกล่าว
เอชพีมุ่งช่วยเหลือองค์กรต่างๆ ขจัดปัญหาความอัดแน่นของข้อมูล โดยเปิดตัวพอร์ทโฟลิโอโซลูชั่นการบริหารจัดการข้อมูลที่ครอบคลุมวงจรการทำงานครบทุกระยะ ตั้งแต่การระบุ ติดตาม ป้องกัน รักษา ค้นหา และดำเนินการ สำหรับพอร์ทโฟลิโอดังกล่าวประกอบด้วยโซลูชั่นการจัดการข้อมูลหลากหลายประเภท ดังนี้
- โซลูชั่น HP Information Management Services คือโซลูชั่นแบบ
ครบวงจรที่ใช้สำหรับการจัดการข้อมูลได้ครบทุกช่วงวงจรการทำงานของข้อมูล ครอบคลุมตั้งแต่การระบุ การสร้าง จนถึงการลบ และการปลดระวาง นอกจากนี้ เอชพียังมีบริการให้คำปรึกษาหลากหลายประเภท อาทิ บริการจัดทำเวิร์คช้อปเรื่อง IM Transformation Experience โดยเอชพีมีผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านกฎหมาย ไอที ธุรกิจ และประธานด้านไอทีที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล โดยบุคคลเหล่านี้จะช่วยวางนโยบายพร้อมกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ดีที่สุดได้โดยทันที ทั้งยังสามารถจัดทำกลยุทธ์ด้านสารสนเทศแบบองค์รวมระยะยาวได้เป็นอย่างดี
- โซลูชั่น HP Integrated Archive Platform (IAP) สามารถปรับขยายให้มีสมรรถนะในการบริหารจัดการข้อมูลได้สูงถึงวันละ 1 เพตาไบต์ ทั้งยังสามารถดูแลผู้ใช้งานได้ถึงวันละ 300,000 คน และบริหารข้อความจากอีเมล์ได้วันละ 20 ล้านข้อความ จึงตอบสนองความต้องการขององค์กรขนาดใหญ่ได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ เอชพียังนำเสนอโซลูชั่น IAP แบบเสมือน หรือ HP Virtual IAP ที่สนับสนุนระบบ VMware vSphere? เพื่อรองรับความต้องการด้านการจัดการข้อมูลขององค์กรขนาดกลางและเล็ก หรือเอสเอ็มอีที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้อีกด้วย
- โซลูชั่น HP TRIM Enterprise Records Management เพิ่มสมรรถนะด้วยระบบการจัดเก็บข้อมูลพร้อมๆ กันในหลากหลายสถานที่ โดยสามารถจัดทำกำหนดการจัดเก็บข้อมูลที่มีความซับซ้อนในหลากหลายประเทศและหลากหลายองค์กรระดับข้ามชาติได้โดยอัตโนมัติ และด้วยนโยบายการจัดเก็บข้อมูลที่ปรับให้สอดคล้องกับการใช้งานในแต่ละพื้นที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหาร ทั้งยังช่วยลดต้นทุน และทำให้
การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ มีความง่ายดายยิ่งขึ้น และด้วยประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยลดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังทำให้มีการอัพเดทระเบียนข้อมูลขนาดใหญ่ให้เป็นปัจจุบันได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
- โซลูชั่น HP Database Archiving ซึ่งผนวกรวมกับโซลูชั่น HP TRIM เพื่อให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการข้อมูลของตนได้จากแพลทฟอร์มเดียว ตลอดจนมีการเชื่อมต่อรูปแบบใหม่เพื่อเข้าถึงข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบเก่าที่อยู่ระหว่างกระบวนการปลดระวางแอพพลิเคชั่นอีกด้วย
- ซอฟต์แวร์ HP Data Protector เพิ่มประสิทธิภาพในการกู้คืนข้อมูล (Granular Recovery Extension) ให้แก่ระบบ VMware vSphere? ทั้งยังสนับสนุนการทำ snapshot สำหรับผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูล HP 3PAR arrays รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มิใช่ของเอชพี จึงช่วยลดต้นทุนในการเป็นเจ้าของถึงร้อยละ 70 นอกจากนี้ ยังเพิ่มการกู้คืนข้อมูลแบบ snapshot ขั้นที่ 2 ซึ่งจะมีอยู่ในผลิตภัณฑ์จัดเก็บข้อมูล
HP StorageWorks P4000 ทั้งนี้ แนวทางการทำงานดังกล่าวจะเป็นไปอย่างอัตโนมัติโดยไม่ต้องทำ scripting จึงช่วยลดต้นทุนและประหยัดทรัพยากรที่ใช้ในการรักษาข้อมูลระดับสำคัญ
- ซอฟต์แวร์ HP Data Protector Reporter ช่วยให้องค์กรต่างๆ มีความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบสำรองข้อมูลอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งยังเพิ่มความสามารถทางด้านการวิเคราะห์และการจัดทำรายงานระดับองค์กรในหลากหลายสถานที่ทั่วโลก ด้วยระบบรายงานการสำรองข้อมูลจากศูนย์กลางแบบอัตโนมัติ ทำให้ระบบการดำเนินงานต่างๆ และระบบโครงสร้างพื้นฐานมีการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายลดลงถึงร้อยละ 30
- ซอฟต์แวร์ HP Storage Essentials ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบริหารระบบโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูลระดับองค์กรแบบทั่วไปและแบบเสมือน ทั้งยังทำให้การจัดเก็บข้อมูลสอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจได้มากขึ้น และด้วยโปรแกรม HP Storage Essentials Backup Manager ซึ่งเป็นฟังก์ชั่นเสริม (plug-in) เข้ากับซอฟต์แวร์ HP Data Protector จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถติดตามกระบวนการสำรองข้อมูลหรือแบ็คอัพทั้งระบบได้อย่างครบถ้วน โดยมีการนำเสนอสถานะของข้อมูลอย่างสมบูรณ์ ชัดเจน และเป็นเอกภาพ
มร. เดเมี่ยน วอง ผู้จัดการทั่วไป หน่วยธุรกิจเอชพีซอฟต์แวร์ บริษัท ฮิวเลตต์-แพคการ์ด ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ข้อมูลถือเป็นสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ ดังนั้น องค์กรต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีภาพรวมของข้อมูลระดับองค์กรที่สมบูรณ์และครบถ้วน ทั้งนี้ ด้วยโซลูชั่นและซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ที่เป็นการพัฒนาต่อยอดจากพอร์ทโฟลิโอด้านการบริหารจัดการข้อมูลของเอชพี จะทำให้ลูกค้าลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการข้อมูล ขณะเดียวกันยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการแบบองค์รวมที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น”