ฟรอสต์มั่นใจ”ไทยวิงก์”หนุนศักยภาพอุตสาหกรรมการบินไทยเต็มที่

ข่าวท่องเที่ยว Thursday June 2, 2011 16:12 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--2 มิ.ย.--ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน หลังจากที่บอร์ดการบินไทยอนุมัติสายการบินต้นทุนต่ำซึ่งเป็นการลงทุนของการบินไทยทั้งหมดโดยใช้ชื่อว่า “ไทยวิงก์” (Thai Wings) ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆนานา แต่คำถามที่น่าสนใจคือผลดีผลเสียของการจัดตั้งไทยวิงนั้นมีอะไรบ้างหากคำนึงนโยบายและกฎหมายที่เป็นไปได้ นายบัณฑร เสาวรรณ นักวิเคราะห์ด้านอุตสาหกรรมการบิน บริษัท ฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลกได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “ไทยวิงก์นั้นได้ถูกวางแผนการตลาดให้อยู่ระหว่างสายการบินต้นทุนต่ำกับสายการบินระดับพรีเมี่ยมและให้บริการในเส้นทางระดับภูมิภาค หากถามว่าเครื่องบินรุ่นไหนที่เหมาะสมกับการโมเดลธุรกิจนี้ก็คงตอบไม่ได้เลยว่าจะเป็นโบอิ้งหรือแอร์บัสเพราะความหลากหลายนั้นมีอยู่ ซึ่งโดยทั่วไปเครื่องบินที่เหมาะสมกับสายการบินระดับภูมิภาคนั้นควรจะเป็นเครื่องบินที่ใช้เครื่องแบบTurbo prop ที่มีความเร็วช้ากว่าเครื่องบินโดยสารทั่วไปแต่ประหยัดกว่าในเชิงของค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการ” "เครื่องบิน Bombardier Dash-8 กับ ATR อาจจะเป็นเครื่องบินที่เหมาะสมที่สุดกับสายการบินไทยวิงก์ แต่ว่าในการปฏิบัติการนั้นจะต้องเดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้าน การนำเครื่องบินแอร์บัส A318 หรือ A319 มาใช้ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน ซึ่งเป้าหมายหลักก็คือการใช้เครื่องบินประมาณ 80-110 ที่นั่ง เพื่อที่จะมีผู้โดยสารได้เต็มลำตลอดเวลา เครื่องบินจะต้องเป็นเครื่องบินใหม่และมีเที่ยวบินมากพอเพื่อเพิ่มความถี่ของการให้บริการ” นายบัณฑร กล่าว ทั้งนี้ สายการบินควอนตัสของประเทศออสเตรเลียได้สร้างโมเดลธุรกิจที่คล้ายคลึงกันเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งมีสายการบินควอนตัสเป็นสายการบินแม่ และมีสายการบินควอนตัสลิงค์ เป็นสายการบินภูมิภาคและเป็นบริษัทลูกของสายการบินควอนตัส นอกจากนั้นยังมีสายการบินเจ็ตสตาร์เป็นสายการบินโลว์คอส ซึ่งกำเนิดขึ้นโดยสายการบินควอนตัส ผู้บริหารระดับ CEO ของควอนตัส Mr. Alan Joyce ก็เคยเป็น CEO ของสายการบินเจ็ตสตาร์มาก่อน ซึ่งถ้าสายการบินต้นทุนต่ำนั้นกำลังเจริญเติบโตอย่างมากในปัจจุบัน ก็หมายความว่าสายการบินพรีเมี่ยมก็ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อการแข่งขันที่มีมากขึ้น สายการบินควอนตัสแสดงให้เห็นว่าการใช้ผู้บริหารจากสายการบินโลว์คอส มาบริหารสายการบินระดับพรีเมี่ยมนั้นก็เป็นการกระทำที่เป็นไปได้และมีผลดี นอกจากนี้นายบัณฑรยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ความจริงแล้วการบินไทยควรจะมีสายการบินภูมิภาคมาตั้งนานแล้วเหมือนที่สายการบินควอนตัสมี เพื่อเติมเต็มช่องว่างของระดับการบริการ และมากไปกว่านั้น การบินไทยควรที่จะขายหุ้นของนกแอร์ทิ้งแล้วสร้างสายการบินภูมิภาคและสายการบินต้นทุนต่ำขึ้นมาพร้อม ๆ กัน เพราะเหตุผลที่ว่า นกแอร์สร้างความไม่ชัดเจนให้กับโมเดลธุรกิจของการบินไทย ส่วนเรื่องของสายการบินต้นทุนต่ำก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้แบรนด์ของต่างชาติ เพราะ คนไทยเองก็มีความรู้ความสามารถที่จะสร้างแบรนด์ บริหารจัดการ และ ดูแลธุรกิจการบินได้ดีเท่ากับที่อื่น และหากทำเช่นนั้นได้เป็นผลสำเร็จ ประเทศไทยก็จะมีโมเดลธุรกิจการบินที่เหมือนกับประเทศอื่นที่พัฒนาแล้ว” ความท้าทายที่แท้จริงก็คือการหาผู้โดยสารให้เต็มลำตลอดเวลา ซึ่งถ้าบริษัทไม่มีจุดแข็งและจุดขาย รวมไปถึงความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเครื่องบิน การให้บริการ และ ราคา ก็ไม่สามารถดึงดูดลูกค้าได้ หากการบินไทยต้องการที่จะมีบริษัทลูกก็ควรจะโปรโมทให้ทุกคนรับทราบว่าสายการบินนี้เป็นบริษัทลูกของการบินไทย เพราะนั่นคือจุดแข็ง การให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อมก็สามารถนำมาใช้ในการโปรโมตจุดแข็งของบริษัท ซึ่งถ้าใช้เครื่องบินแบบ Turbo prop ก็สามารถนำปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ได้ เพราะสิ่งนี้จะเพิ่มความแตกต่างให้กับสายการบินโดยสิ้นเชิง คนส่วนมากอาจมองว่าล้าหลังและล่าช้า แต่ในความเป็นจริงเครื่องยนต์ชนิดนี้มีความคล้ายคลึงกับเครื่องยนต์เทอร์โบแฟน แต่ขึ้นอยู่กับว่าจะโปรโมทให้ประชาชนเข้าใจถึงจุดนี้ได้อย่างไร “การมีสายการบินไทยวิงนั้นเป็นเรื่องที่ดี และควรจะปฏิบัติ เพราะนั่นจะเป็นการเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทยด้วย นอกเหนือจากนั้นการบินไทยยังสามารถจะเพิ่มช่องทาง รายได้ โดยการสร้างบริษัทลูกในสายงานที่เกี่ยวข้องอื่น เช่น การซ่อมบำรุง การขนส่งสินค้าเต็มรูปแบบโดยใช้ Full Freighter Aircraft เป็นต้น” นายบัณฑรกล่าวทิ้งท้าย รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาดูที่ http://www.frost.com หรือติดต่อ Corporate Communications — Thailand Tel: 02 637 7414 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02 637 7414 Frost & Sullivan Thailand

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ