กรุงเทพฯ--10 มิ.ย.--กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย
ปิดม่านแล้ว “กรุงเทพธุรกิจ โพลล์” เปิดผลโหวต 5 นโยบายหลักของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ซึ่งออนไลน์ผ่าน www.bangkokbiznews.com ตลอด 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ภาพรวมโดยสรุปนโยบายของ “ป.ช.ป.” ได้รับเสียงโหวต “เห็นด้วย” มากกว่า “ไม่เห็นด้วย” เป็นต่อ “เพื่อไทย” ที่ส่วนใหญ่ผลโหวต “ไม่เห็นด้วย” มากกว่า
จากการที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้จัดเวทีเสวนาโต๊ะกลมขึ้นในนาม “กรุงเทพธุรกิจฟอรั่ม” ซึ่งมีเนื้อหาหลักว่าด้วย “8 นโยบายสาธารณะ” สำคัญที่มีผลกระทบต่อประชาชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มากขึ้น โดยเปิดโอกาสให้ผู้กำหนดนโยบายจากพรรคการเมืองต่างๆ มาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมเชิญนักวิชาการ นักธุรกิจ ข้าราชการ รวมถึงประชาชนทั่วไป ร่วมสะท้อนความคิดเห็นอย่างรอบด้านต่อนโยบายนั้นๆ ถึงผลดี ผลเสียในแต่ละทางเลือก เพื่อช่วยกันหาทางออกให้กับประเทศ ให้ได้ข้อสรุปที่ก่อเกิดประโยชน์ร่วมกัน โดย 8 หัวข้อสัมมนาโต๊ะกลมที่จัดขึ้นในแต่ละครั้งนั้น เป็นการนำเสนอแนวนโยบายของแต่ละพรรคที่ครอบคลุมเรื่อง (1) ความมั่นคงด้านการคลัง (2) โครงการโรดแมพพลังงานที่ยั่งยืน และความเสี่ยงด้านพลังงาน (3) ระบบการศึกษาไทย (4) สาธารณสุข และสุขภาวะของคนไทย (5) ประเด็นสิ่งแวดล้อม (6) โครงการเมกะโปรเจกต์ (7) ปัญหา “คอรัปชั่น” และสุดท้าย (8) ขีดแข่งขันของธุรกิจไทย นั้น
นางสาวเฉลา กาญจนา บรรณาธิการบริหาร หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ กล่าวว่า ตามที่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้จัดเวทีสัมมนาโต๊ะกลมในนาม “กรุงเทพธุรกิจฟอรั่ม” มาอย่างต่อเนื่องตลอดเดือนมิถุนายนทีผ่านมานั้น ประสบความสำเร็จน่าพอใจเพราะมีตัวแทนนักการเมืองหลายพรรคต่างร่วมนำเสนอแนวนโยบายพัฒนาประเทศของตนกันอย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันยังได้ภาคีอื่น เช่น นักธุรกิจ นักวิชาการ มาร่วมตั้งข้อสังเกตถึงความเป็นไปได้ของแนวนโยบายทางการเมืองที่เป็นรูปธรรม พร้อมเสนอแนะนักการเมืองอย่างตรงไปตรงมาและเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชน กรุงเทพธุรกิจจึงได้เปิดพื้นที่แสดงความคิดเห็นผ่าน “โพลล์” ในนาม “กรุงเทพธุรกิจโพลล์” ด้วยการสรุปประเด็นด้านนโยบายของพรรคการเมืองด้านต่างๆ
5 นโยบาย เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ Error! Hyperlink reference not valid.วันที่ 25 พฤษภาคม 2554 จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมานั้น โดยให้ประชาชนโหวตว่า “เห็นด้วย” หรือ “ไม่เห็นด้วย”
ทั้งนี้ ประเด็นด้านนโยบายสำคัญ 5 ด้านของพรรคการเมืองแต่ละพรรค ประกอบด้วย นโยบายด้านเศรษฐกิจ ด้านคุณภาพชีวิต ด้านการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ด้านสาธารณสุข และด้านสิ่งแวดล้อม ปรากฏว่า ทุกโพลล์นโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการโหวต “เห็นด้วย” มากกว่า “ไม่เห็นด้วย” ขณะที่นโยบายของพรรคเพื่อไทย ได้รับการโหลตว่า “ไม่เห็นด้วย” มากกว่า “เห็นด้วย” โดยมีรายละเอียดผลโหวต ดังนี้
โพลล์นโยบายด้าน “เศรษฐกิจ” พรรคประชาธิปัตย์ได้รับการโหวต “เห็นด้วย” ร้อยละ 60 จากจำนวนผู้โหวต 1,478 เสียง พรรคเพื่อไทยได้รับการโหวต “เห็นด้วย” ร้อยละ 36 จากจำนวนผู้โหวต 1,478 เสียง
โพลล์นโยบายด้าน “คุณภาพชีวิต” พรรคประชาธิปัตย์ได้รับการโหวต “เห็นด้วย” ร้อยละ 72 จากจำนวนผู้โหวต 960 เสียง พรรคเพื่อไทยได้รับการโหวต “เห็นด้วย” ร้อยละ 52 จากจำนวนผู้โหวต 1,015 เสียง
โพลล์นโยบายด้าน “การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่” ปชป. ได้รับการโหวตเห็นด้วยร้อยละ 75 จากจำนวนผู้โหวต 1,044 เสียง ส่วนพรรคเพื่อไทย ได้รับการโหวตเห็นด้วยร้อยละ 45 โพลล์ จากจำนวนผู้โหวต 1,140 เสียง
ทางด้านนโยบาย “สาธารณสุข” ปชป. ได้รับการโหวตเห็นด้วยในนโยบายร้อยละ 73 จากจำนวนผู้โหวต 751 เสียง ส่วนเพื่อไทย ได้รับการโหวตเห็นด้วยในนโยบายร้อยละ 43 จากจำนวนผู้โหวตเท่ากัน 751 เสียง
นโยบายสุดท้ายด้าน “สิ่งแวดล้อม” ปชป.ได้รับการโหวตเห็นด้วยในนโยบายร้อยละ 74 จากจำนวนผู้โหวต 1,065 เสียง และพรรคเพื่อไทยได้รับการโหวตเห็นด้วยในนโยบายร้อยละ 47 จากจำนวนผู้โหวต 1,157 เสียง
“เราใช้เวลาออนไลน์เพียง 2-3 วันต่อ 1 นโยบาย จึงถือว่าได้รับเสียงตอบรับจากประชาชนด้วยดี และเป็นเสียงสะท้อนที่มีคุณค่า แฝงด้วยพลังความร่วมมือร่วมใจ อยากเห็นประเทศเจริญก้าวหน้าในทิศทางที่เหมาะสม กรุงเทพธุรกิจจะนำไปขยายผลต่อไป” นางสาวเฉลา กล่าว
เผยผล “กรุงเทพธุรกิจ โพลล์”
สำหรับหัวข้อประเด็นที่ให้ประชาชนร่วมโหวตแสดงความคิดเห็นต่อแนวนโยบายของพรรคการเมือง ในอันที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด ประกอบด้วย
นโยบายด้าน “เศรษฐกิจ”
พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย
- เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ 25% ในเวลา 2 ปี พร้อมเพิ่มทักษะฝีมือแรงงาน - เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท เท่ากัน ทั่วประเทศ เพิ่มเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 15,000บาท
- ปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยอย่างครบวงจร มีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 1 ล้านราย - ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 23
- เพิ่มทุนกองทุนหมู่บ้านอีกหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท รวม 8 หมื่นหมู่บ้าน - สร้างงาน 1 แสนอัตรา
- เน้นเมกะโปรเจกต์ เพื่อสร้างความได้เปรียบของประเทศ
ได้รับการโหวต : 1,478 เสียง ได้รับการโหวต : 1,478 เสียง
เห็นด้วย 60% เห็นด้วย 36%
ไม่เห็นด้วย 40% ไม่เห็นด้วย 64%
นโยบายด้าน “คุณภาพชีวิต”
พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย
-ย้ายท่าเรือคลองเตยไปสัตหีบ เพื่อลดความแออัดของเมือง และทำเป็น “มหาอุทยานริมน้ำเจ้าพระยา” -ขยายเส้นทางรถไฟฟ้าให้ได้ 400 กม. รอบ กทม. ค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย
-เร่งพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทั้งรถไฟฟ้า รถโดยสารประจำทาง เรือเร็ว และเรือข้ามฟาก -จัดทำผังเมืองใหม่ให้ กทม. เป็นเมืองที่น่าอยู่ ปลอดภัยจากน้ำท่วม มีที่อยู่อาศัยเหมาะสม
-ให้ ธอส.ปล่อยกู้วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ให้กับผู้ซื้อบ้านหลังแรก ดอกเบี้ย 0% ระยะ 2 ปีแรก -สร้างที่พักอาศัยตามแนวรถไฟฟ้าให้บัณฑิตจบใหม่เริ่มต้นทำงานและเดินทางกลับบ้านอย่างสะดวก
-เน้นโครงการที่ทำให้ประเทศมีรายได้ เพื่อทำให้ประชาชนมีกิน
ได้รับการโหวต : 960 เสียง ได้รับการโหวต : 1,015 เสียง
เห็นด้วย 72% เห็นด้วย 52%
ไม่เห็นด้วย 28% ไม่เห็นด้วย 47%
นโยบายด้าน “การก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่”
พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย
-ทุ่มงบหมื่นล้านบาทต่อปี พัฒนา 60 จังหวัดเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือ “มนต์เสน่ห์แห่งเอเชีย” -สร้างเมืองใหม่ใกล้กรุงเทพฯ รองรับการเป็นศูนย์กลางอาเซียน
-พัฒนาแหลมฉบังเป็นเมืองท่าสมบูรณ์แบบ (Harbour City) และพลิกโฉมมาบตาพุดเป็นเมืองอุตสาหกรรมสะอาด -แก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก โดยถมทะเล 10 กม. และสร้างเขื่อนรอบ กทม.
-เชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน แนวเหนือจรดใต้ 2 ระยะ รวม 3.8 แสนล้านบาท -พัฒนาเซ้าเทิร์นซีบอร์ดเพื่อสร้างความเติบโตของประเทศ
-เชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน แนวเหนือจรดใต้ 2 ระยะ รวม 3.8 แสนล้านบาท -พัฒนาระบบชลประทาน 25 ลุ่มน้ำ เพื่อการเกษตร
-สร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง และขยายสู่จันทบุรี-ตราด
ได้รับการโหวต : 1,044 เสียง ได้รับการโหวต : 1,140เสียง
เห็นด้วย 75% เห็นด้วย 45%
ไม่เห็นด้วย25% ไม่เห็นด้วย 55%
นโยบายด้าน “สาธารณสุข”
พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย
-ยกระดับสถานพยาบาลเป็นโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) -บูรณาการกองทุนสุขภาพทั้งหมด ให้มีบัตรใบเดียวรักษาได้ไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่ควรมี
-โรงพยาบาลสังกัดอยู่กับท้องถิ่นก็ได้ ไม่จำเป็นต้องสังกัดเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข -นำระบบจ่าย 30 รักษาทุกโรคกลับมาใช้ เพื่อคืนศักดิ์ศรีให้ผู้รับบริการ
-ให้ความสำคัญกับท้องถิ่นในการกระตุ้นให้เกิดการสร้างสุขภาพ -พิจารณาภาระงานของเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขและให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม
-รวมเป็นกลุ่มจังหวัดเพื่อความคุ้มในการจัดตั้งโรงพยาบาลขนาดใหญ่ -จัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ อสม. และโรงพยาบาล
-โรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล ต้องสามารถสร้างรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากงบที่ได้รับจัดสรร -รัฐต้องอุดหนุนระบบสุขภาพเบื้องต้นให้เด็กควบคู่ไปกับเรื่องการศึกษา
-สร้างงานในชนบทเพื่อให้ผู้สูงอายุมีงานทำ ลดภาระการคลัง
ได้รับการโหวต : 751 เสียง ได้รับการโหวต : 751 เสียง
เห็นด้วย 73% เห็นด้วย 43%
ไม่เห็นด้วย 27% ไม่เห็นด้วย 57%
นโยบายด้าน “สิ่งแวดล้อม”
พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย
-เพิ่มการใช้พลังงานทางเลือกเป็น 2 เท่าของการใช้ในปัจจุบัน -สนับสนุนสังคมคาร์บอนต่ำโดยการใช้รางในการเดินทางและขนส่ง
-ใช้ภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่นแก้ปัญหาชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะ -แก้ปัญหามาบตาพุดโดยแยกชุมชนกับโรงงานออกจากกัน
-ใช้มาตรการทางภาษีส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม -รักษาพื้นที่ป่าไม้เท่าที่มีแต่ให้เพิ่มคุณภาพเป็นป่าฝน
-สนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการลดการใช้พลังงาน -สร้างโรงเผาขยะ กทม. ที่เผาไหม้สมบูรณ์
-ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีบทบาทจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม -บังคับบ้านจัดสรรให้บำบัดน้ำเสียก่อนทิ้ง
-สนับสนุนสังคมคาร์บอนต่ำโดยการใช้รางในการเดินทางและขนส่ง
ได้รับการโหวต : 1,065 เสียง ได้รับการโหวต : 1,157 เสียง
เห็นด้วย 74% เห็นด้วย 47%
ไม่เห็นด้วย 26% ไม่เห็นด้วย 53%
จากผลคะแนนเสียงโหวตของประชาชน คงทำให้แต่ละพรรคการเมืองมองเห็นทิศทางการวางแผนนโยบายสาธารณะ รวมถึงโอกาสเข้าไปมีส่วนช่วยพัฒนาประเทศได้เป็นอย่างดี ซึ่งกรุงเทพธุรกิจก็หวังเป็นสื่อกลางในการนำพาพลังความคิดของมวลชนสู่พรรคการเมืองต่างๆ เพื่อก่อเกิดเป็นประโยชน์ส่วนรวมของประเทศให้มากที่สุด
ออกข่าวประชาสัมพันธ์ในนาม : ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ : นิธิกานต์ ภู่ศิริ (กบ) ส่วนงานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร
บริษัท กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด โทร.0 2338 3383-4
E-mail : nithikarn_bhu@nationgroup.com