กรุงเทพฯ--15 มิ.ย.--ปภ.
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Geographic Information Systems : GIS) และรีโมทเซนซิ่ง(Remote sening :RS) เพื่อการจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่มทางด้านวิศกรรม ด้วยแบบจำลองของโครงการ JICA เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และทักษะในการใช้โปรแกรมระบบ GIS และ RS ให้บุคลากรในสังกัดนำไปจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่มทางด้านวิศกรรมได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับชุมชนในการเตรียมความพร้อมรับมือ
และแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินโคลนถล่มในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพในการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทยภายใต้โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับประเทศญี่ปุ่น (JICA) เพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งในการจัดการความเสี่ยงต่อภัยพิบัติให้กับหน่วยงานในระดับประเทศ จังหวัด อำเภอ และชุมชน โดยนำระบบข้อมูลภูมิศาสตร์สนเทศมาใช้ในการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย การแจ้งเตือนภัย การพัฒนาระบบฐานข้อมูล และติดตั้งระบบเตือนภัยในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มทั่วประเทศ ดังนั้น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์(Geographic Information Systems : GIS) และรีโมทเซนซิ่ง(Remote sening :RS) เพื่อการจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่มทางด้านวิศกรรม ด้วยแบบจำลองของโครงการ JICA ให้กับบุคลากรในสังกัด ซึ่งจะมีการให้ความรู้โดยวิธีบรรยาย การฝึกปฏิบัติ และตอบข้อซักถามความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลาก และโคลนถล่ม เช่น ความรู้เบื้องต้นระบบภูมิสารสนเทศ(Geographic Information Systems : GIS) และการประยุกต์ใช้ในการแสดงผล ทฤษฎีการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติดินโคลนถล่มด้านศักยภาพการไหล การวิเคราะห์น้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่มด้านวิศวกรรมด้วยแบบจำลองการวิเราะห์ (Analysis Model) เป็นต้น ทั้งนี้ การฝึกอบรมดังกล่าว จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถจัดทำแผนที่เสี่ยงภัยน้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่มทางด้านวิศกรรมได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งสามารถนำแผนที่เสี่ยงอุทกภัยและโคลนถล่มไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการภัยพิบัติร่วมกับชุมชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การเตรียมความพร้อมรับมือป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินโคลนถล่มเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากอุทกภัยและโคลนถล่มได้ในระดับหนึ่ง