เอชเอสบีซีเผยผู้จัดการกองทุนทั่วโลกปรับลดน้ำหนักลงทุนในหุ้น

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 21, 2011 14:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 มิ.ย.--ธนาคารเอชเอสบีซี - เกิน 1 ใน 10 ของผู้จัดการกองทุนเล็งลงทุนในตลาดพันธบัตรและถือครองเงินสดในไตรมาส 2/54 - ผู้จัดการกองทุนกว่าครึ่งยังมองตลาดหุ้นเกิดใหม่น่าลงทุนในไตรมาส 2/54 - ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การจัดการเพิ่มขึ้น 134 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 1/54 ธนาคารเอชเอสบีซี เผยผลสำรวจความคิดเห็นบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำครั้งล่าสุด พบว่า ผู้จัดการกองทุนเกิน 4 ใน 10 ราย หรือร้อยละ 44 ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นในไตรมาส 2/54 ขณะที่อีกร้อยละ 44 ปรับมุมมองความน่าสนใจของหุ้นมาเป็นปานกลาง เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่ผู้จัดการกองทุนทั้งหมดให้น้ำหนักลงทุนในหุ้น ในทางกลับกัน ผู้จัดการกองทุนร้อยละ 13 มองตลาดพันธบัตรน่าลงทุน และสนใจการถือครองเงินสดในไตรมาส 2/54 เทียบกับไตรมาสก่อนที่ไม่มีรายใดเลยที่ให้น้ำหนักลงทุนในตลาดพันธบัตร และถือเงินสด กลยุทธ์การจัดสรร ลดน้ำหนักการลงทุน คงน้ำหนัก เพิ่มน้ำหนักการลงทุน เงินลงทุนไตรมาส2/54 (Underweight) การลงทุน(Neutral) (Overweight) หุ้น 11% (0%) 44% (0%) 44% (100%) พันธบัตร 38% (43%) 50% (57%) 13% (0%) เงินสด 38% (71%) 50% (29%) 13% (0%) หมายเหตุ: ตัวเลขในวงเล็บเป็นผลการสำรวจในไตรมาส 1/54 มร.บรูโน ลี ผู้อำนวยการบริหาร แผนกบริหารความมั่งคั่ง ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ธนาคารเอชเอสบีซี กล่าวว่า “ในขณะที่ผู้จัดการกองทุนส่วนหนึ่งมีแผนที่จะกระจายเงินลงทุนไปยังตลาดพันธบัตรและถือเงินสด แต่อีกร้อยละ 44 มองว่าหุ้นยังน่าลงทุน ซึ่งสะท้อนถึงศักยภาพของการลงทุนในหุ้นที่ยังคงให้ผลตอบแทนค่อนข้างดีและมีสภาพคล่องสูง ในช่วงหลายเดือนมานี้ ปัญหาเงินเฟ้อซึ่งเสมือนเป็นเมฆทะมึนที่แผ่ปกคลุมไปทั่วกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเติบโตเร็ว และเป็นข้อกังวลใหม่ของตลาดที่พัฒนาแล้วอย่างภูมิภาคยุโรป ทำให้เกิดความผันผวนระยะสั้นในตลาดหุ้น และกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน” ผู้จัดการกองทุนเกินกว่าครึ่งหนึ่ง เห็นว่า หุ้นญี่ปุ่น (ร้อยละ 56) และหุ้นในตลาดเกิดใหม่ (ร้อยละ 56) มีโอกาสทำกำไรได้ดี เทียบกับร้อยละ 38 และร้อยละ 75 ของไตรมาส 1/54 ตามลำดับ และพบว่า ผู้จัดการกองทุนกว่าครึ่งหนึ่งเลือกที่จะคงน้ำหนักการลงทุน (ร้อยละ 44) หรือลดน้ำหนักการลงทุน (ร้อยละ 11) ในตลาดหุ้นอเมริกาเหนือในไตรมาส 2/54 เทียบกับไตรมาสก่อนที่ทุกรายให้น้ำหนักการลงทุน ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่ มองว่า หุ้นในตลาด Greater China (ร้อยละ 75 เทียบกับร้อยละ 43 ในไตรมาส 1/54) พันธบัตรเอเชีย (ร้อยละ 71 เทียบกับ ร้อยละ 0) และพันธบัตรในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกที่ให้ผลตอบแทนสูง (ร้อยละ 75 เทียบกับร้อยละ 33 ในไตรมาส 2/54) มีความน่าสนใจลงทุนในระดับปานกลาง มร. ลี กล่าวว่า “หุ้นในตลาดเกิดใหม่น่าจะมีศักยภาพการเติบโตที่ดีอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น และมูลค่าหลักทรัพย์จะยังคงน่าสนใจในอีก 5 ปีข้างหน้าในภาวะการเติบโตเศรษฐกิจโดยรวมเช่นนี้ ในขณะที่ปัญหาเงินเฟ้อกำลังบั่นทอนความเชื่อมั่นในการลงทุนประเภทต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก นักลงทุนจำเป็นต้องคว้าโอกาสจากการฟื้นตัวของญี่ปุ่น ทั้งนี้ในระยะสั้น มาตรการที่เข้มงวดของรัฐบาลจีน และความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจ จะเป็นเหตุให้เกิดความผันผวนของตลาด แต่นักลงทุนก็สามารถกระจายการลงทุนไปในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค เทคโนโลยี และเครื่องจักร ซึ่งมีแนวโน้มได้รับผลกระทบที่น้อยกว่าจากนโยบายของทางการจีน” ธนาคารเอชเอสบีซีสำรวจและวิเคราะห์ความคิดเห็นของบริษัทจัดการกองทุนชั้นนำของโลกรวม 13 แห่ง1 เป็นประจำทุกไตรมาส โดยวิเคราะห์ปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ (funds under management: FUM) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการลงทุนในตลาดตราสารต่างๆ (asset allocation views) และกระแสเงินลงทุนทั่วโลก (global money flows) ทั้งนี้ประมาณการกระแสเงินลงทุนสุทธิ (net money flow estimates)2 คำนวณจากความเคลื่อนไหวของปริมาณเงินทุนภายใต้การบริหารจัดการ เปรียบเทียบกับความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดตราสารประเภทเดียวกัน ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาส 1/2554 ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทจัดการกองทุนทั้ง 13 แห่งที่ร่วมในการสำรวจครั้งล่าสุดอยู่ที่ 4.35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 17.1 ของประมาณการปริมาณเงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก (estimated total global FUM) กระแสเงินลงทุนทั่วโลกในไตรมาส 1/54 ผลการสำรวจพบว่าเมื่อสิ้นไตรมาส 1/54 ปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการเพิ่มขึ้น 134 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.18 จากไตรมาส 4/53 โดยกองทุนเกือบทั้งหมดมีปริมาณเงินเพิ่มขึ้น ยกเว้นกองทุนที่ลงทุนในตลาดเงิน ทั้งนี้ กองทุนที่ลงทุนในตลาดเงินมีปริมาณเงินลดลง 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนกองทุนพันธบัตรมีสัดส่วนเกินกว่า 1 ใน 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 37 ของการเติบโตของปริมาณเงินภายใต้การบริหารจัดการทั้งหมดในไตรมาส 1/54 โดยมียอดเงินสูงขึ้น 49.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่กองทุนหุ้นมีปริมาณเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 41.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของการเติบโตของปริมาณเงินภายใต้การบริหารจัดการในไตรมาส 1/54 กระแสเงินลงทุนสุทธิในไตรมาส 1/54 เทียบเป็นร้อยละของปริมาณเงินลงทุนภายใต้การบริหารจัดการของผู้จัดการกองทุนที่ร่วมการสำรวจ ประเภทตลาด และตราสาร สิ้นไตรมาส 1/54 สิ้นไตรมาส4/53 ตลาดหุ้นญี่ปุ่น +1.0% -7.7% ตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ +0.4% -3.6% ตลาดหุ้นGreater China -2.7% +9.6% ตลาดหุ้นยุโรป รวมตลาดสหราชอาณาจักร -3.0% -0.9% ตลาดหุ้นเกิดใหม่ -3.9% +5.9% ตลาดหุ้นทั่วโลก -4.7% -4.7% ตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) -4.8% -0.3% ตลาดพันธบัตรทั่วโลก +5.2% +11.6% ตลาดพันธบัตรเกิดใหม่/ให้ผลตอบแทนสูง +4.4% +7.2% ตลาดพันธบัตรยุโรป รวมตลาดสหราชอาณาจักร +1.4% -0.8% ตลาดพันธบัตรสหรัฐอเมริกา +0.1% -0.9% ไตรมาสแรกของปีนี้ พบว่า มีปริมาณเงินทุนไหลเข้ากองทุนพันธบัตรอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงินทุนที่ไหลเข้าสู่ตลาดพันธบัตรเกิดใหม่ที่ให้ผลตอบแทนสูง เนื่องจากนักลงทุนมองหาผลตอบแทนจากตลาดพันธบัตรในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำ ส่วนกองทุนหุ้น พบว่า มีปริมาณเงินทุนไหลออกเนื่องจากนักลงทุนเริ่มระมัดระวัง ซึ่งเป็นผลจากความกังวลว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ มร.ลี กล่าวว่า “ความผันผวนของตลาดยังคงฉายให้เห็นภาพของการลงทุนในขณะนี้ เนื่องจากสถานการณ์ตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นักลงทุนจึงจำเป็นต้องตื่นตัวเพื่อรับความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุน โดยหมั่นตรวจสอบพอร์ตลงทุนของตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าตนเองได้กระจายการลงทุนอย่างสมดุล ตามระดับการยอมรับความเสี่ยงและเป้าหมายการลงทุนของแต่ละราย” HSBC Fund Flow Tracker ไตรมาส 1/54 ธนาคารเอชเอสบีซีได้จัดทำ HSBC Fund Flow Tracker ซึ่งเป็นดัชนีวัดกระแสเงินลงทุนสะสมทั้งหมดเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ไตรมาส 3/2549 เป็นต้นมา พบว่าในขณะที่ปริมาณเงินของกองทุนหุ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นในหลายไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดปรับตัวดีขึ้นจากภาวะวิกฤติ แต่ก็พบว่ามีปริมาณเงินไหลออกจากกองทุนหุ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมา โดย ณ สิ้นไตรมาส 1/54 กองทุนที่ลงทุนในหุ้นมีกระแสเงินไหลออกสุทธิรวม 153.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับยอดเงินไหลออกสุทธิ 115.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาสที่แล้ว ปริมาณเงินไหลออกที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากเงินลงทุนที่ไหลออกจากตลาดหุ้นยุโรป ยกเว้นตลาดสหราชอาณาจักร และตลาดหุ้นเกิดใหม่ เนื่องจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจยุโรป และความกังวลจากเงินเฟ้อในตลาดเกิดใหม่ที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน - ปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิในตลาดหุ้น Greater China ลดลงร้อยละ 6 มาอยู่ที่ระดับ 8.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 1/54 (เทียบกับ 9.4 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 4/53) - ปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิในตลาดหุ้นเกิดใหม่ลดลงร้อยละ 14 มาอยู่ที่ระดับ 29.6 พันล้านเหรียญในไตรมาส 1/54 (เทียบกับ 34.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 4/53) - ปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิในตลาดหุ้นเอเชีย แปซิฟิก (ไม่รวมตลาดหุ้นญี่ปุ่น) ลดลงเล็กน้อยจาก 13.7 พันล้านเหรียญสหรัฐไตรมาสก่อน มาอยู่ที่ระดับ 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ - ปริมาณเงินไหลออกจากตลาดหุ้นอเมริกาเหนือ มูลค่า 12.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 14.5 พันล้านเหรียญสหรัฐจากไตรมาสก่อน ในภาวะที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง พบว่า กองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรยังคงมีปริมาณเงินไหลเข้าสุทธิ มูลค่า 328.6 พันล้านเหรียญสหรัฐในไตรมาส 2/54 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากไตรมาสก่อน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วรนันท์ สุทธปรีดา, สาวิตรี หมวดเมือง โทรศัพท์ 0-2614-4609, 0-2614-4606 หมายเหตุถึงบรรณาธิการ: 1. ผู้จัดการกองทุนที่ร่วมในการสำรวจครั้งนี้ทั้ง 13 แห่ง ได้แก่ AllianceBernstein, Allianz Global Investors, Baring Asset Management, BlackRock, Fidelity Investment Management, Franklin Templeton Investments, HSBC Global Asset Management, Invesco Asset Management, Investec Asset Management, J.P. Morgan Asset Management, Prudential Asset Management, Schroders Investment Management และ Soci?t? G?n?rale 2. กระแสเงินลงทุนสุทธิ (Net fund flows) ได้จากการนำมูลค่าตลาดที่เพิ่มขึ้น มาหักออกจากยอดเงินที่เพิ่มขึ้นของกองทุนภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการกองทุน ในไตรมาส 1/2554 3. ปริมาณเงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก (Total global FUM) ข้อมูลจาก The Investment Company Institute ระบุว่าปริมาณเงินลงทุนที่มีอยู่ทั่วโลก ณ สิ้นไตรมาส 4/2553 อยู่ที่ 24.70 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ 4. ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย เอชเอสบีซีเป็นธนาคารพาณิชย์แห่งแรกในประเทศไทย เปิดสำนักงานให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2431 ด้วยประสบการณ์ด้านการเงินการธนาคารและเครือข่ายสาขากว้างขวางทั่วโลก รวมกับความรู้ความชำนาญของบุคลากรภายในประเทศ ธนาคารเอชเอสบีซีเปิดให้บริการด้านการเงินและการธนาคารเต็มรูปแบบ ทั้งบริการด้านเงินฝาก สินเชื่อธุรกิจ พาณิชย์ธนกิจ ธุรกิจสถาบันการเงิน บริการด้านบริหารเงินและตลาดทุน บริการดูแลและรับฝากหลักทรัพย์ บริการการค้าและเครือข่ายธุรกิจระหว่างประเทศ และบริการด้านการชำระเงินและบริหารเงินสดแก่ลูกค้าประเภทองค์กร ตลอดจนบริการบุคคลธนกิจและธุรกิจบัตรเครดิตแก่ลูกค้าประเภทบุคคล ธนาคารเอชเอสบีซีได้รับการยอมรับจากทั่วโลกในด้านบริการที่ได้มาตรฐานสูง ความมีจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ และเจตนารมณ์ในการมุ่งมั่นบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ