งานสัมมนา"สถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาวิชาการสายรับใช้สังคม"

ข่าวทั่วไป Monday June 27, 2011 13:27 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 มิ.ย.--มูลนิธิสยามกัมมาจล ตัวอย่างความสำเร็จ : สถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาวิชาการสายรับใช้สังคม - วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ผู้นำเสนอ : รศ.อำนาจ เย็นสบาย คณบดี ก่อตั้งขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง “ปัญญาชนในท้องถิ่น” ให้มีบทบาทในการพัฒนาแบบยั่งยืนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านกระบวนการเรียนการสอน ด้วยหลักสูตรตามบริบทของพื้นที่ ยุทธศาสตร์ ในการดำเนินงาน คือ จัดการศึกษาให้กับกลุ่มเยาวชนผู้ขาดโอกาสด้านการศึกษา ทั้งเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และฐานะยากจน, จัดการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตคืนถิ่นเพื่อเป็นผู้นำชุมชนที่เป็นคนมีความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม, และเลือกพื้นที่ตั้งซึ่งมีความสำคัญเชิงภูมิศาสตร์ ได้แก่ จังหวัดที่เกิดวิกฤติด้านการบุกรุกทำลายป่า วิกฤติด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และเป็นพื้นที่ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน - สถาบันอาศรมศิลป์ ผู้นำเสนอ : รศ.ประภาภัทร นิยม รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย เป็นสถาบันอุดมศึกษา ที่บริหารภายใต้วิสัยทัศน์ คือ สถาบันอาศรมศิลป์เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่มุ่งสร้างทักษะในตนด้วยการฝึกฝนกาย ใจ สติปัญญา เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ และร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างมีคุณภาพ กระบวนการเรียนรู้ของสถาบันอาศรมศิลป์ ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ ๓ ด้าน คือ ๑) การเรียนรู้อย่างลึกซึ้ง (Deep Learning) ๒) การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง (Learning by doing) ๓) การเรียนรู้จากการสื่อสาร (Communication-based learning) ผลของกระจัดการศึกษาของสถาบันฯ ทำให้นักศึกษา สามารถระบุคุณค่าและความรู้ที่ตนได้รับจาการเรียน และการทำงานอย่างชัดเจน อีกทั้งมีทักษะในวิชาชีพอย่างแท้จริง ในขณะที่กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสถาบันฯ และชุมชนได้มีส่วนเสริมสร้างศักยภาพผู้นำชุมชนให้สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเอง - มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ผู้นำเสนอ : ผศ.สิทธิชัย หาญสมบัติ อธิการบดี ตัวอย่างมหาวิทยาลัย ซึ่งจัดการศึกษาตามแนวคิดมหาวิทยาลัยเพื่อการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น โดยสนับสนุนให้อาจารย์และบุคคลากร ปฏิบัติงานแบบบูรณาการมีความโดดเด่นในการพัฒนานวัตกรรม การบริหารจัดการแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาพื้นที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรภาคีอย่างเป็นะบบ โดยใช้ "งานวิจัย" เป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยง "ข้อมูล" สถานการณ์ปัญหา และ "คน" ในพื้นที่ ผ่านรูปแบบการบริหารจัดการ 4 ด้าน ที่เรียกว่า RICN Model ( R = Research, Integration = I, Communication : C, N = Network) - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผู้นำเสนอ : รศ.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดี การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการทำงาน ( Work Integrated Learning : WIL) เป็นแนวทางหนึ่งที่ มจธ. ใช้ในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี ให้เรียนรู้จากโจทย์ของสังคม อันประกอบด้วย โจทย์ชุมชน และสถานประกอบการ นักศึกษาจะได้เข้าใจปัญหาและศึกษาปัญหาที่แท้จริงก่อน จึงจะหาวิธีแก้ปัญหาของชุมชนหรือสถานประกอบการโรงงาน จากความรู้ของตน ของกลุ่มเป้าหมาย และอาจารย์ที่ปรึกษา ผ่านการทำโครงการในลักษณะ Project Based ตามระดับของแต่ละโครงการ - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ผู้นำเสนอ : ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา สร้างกลไกสนับสนุนการบ่มเพาะจิตอาสานักศึกษา การปรับเปลี่ยนหลักสูตร และวิธีการจัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผ่านการเรียนการสอนในวิชาพลเมือง หรือ TU100 ซึ่งเป็นรายวิชาใหม่ในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป มีหัวใจสำคัญ คือ คนที่จะพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมไม่ใช่อาจารย์ และการเรียนรู้เป็นแบบ Problem —Based Learning และ Project — Based Learning ซึ่งจะเชื่อมโยงไปสู่สาเหตุคือตัวนักศึกษาเองที่เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวเพื่อสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดีให้กับสังคมใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และประเทศชาติ ต้องการเห็นนักศึกษาธรรมศาสตร์ได้เรียนรู้จากชุมชนภายในและรอบมหาวิทยาลัย นำความรู้ที่เรียนมาในวิชาชีพต่างๆ นำมาแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนได้ - มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้นำเสนอ : ผศ.สุนันทา วิบูลย์จันทร์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา บทเรียนความสำเร็จการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งเป็นรายวิชาบังคับคือ มมศท 101 มมศท 102 และ มมศท 103 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามแนวคิดและคำชี้แนะเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาจาก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) คือการศึกษาต้องพัฒนาคนโดยรวม กล่าวคือ พัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ (ดำเนินชีวิตได้ดีงาม มีความสุข อยู่กับสังคม ธรรมศาสตร์แวดล้อม อย่างเกื้อกูล) ขณะเดียวกันต้องสามารถนำความรู้หรือเครื่องมือที่ได้จากวิชาชีพ / วิชาเฉพาะ ไปช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สังคม จุดเน้นสำคัญได้แก่ การเรียนการสอนแบบ active learning

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ