กรุงเทพฯ--21 มี.ค.--คอร์แอนด์พีค
ปัจจุบันปริมาณข้อมูลขององค์กรส่วนใหญ่มีการเติบโตเฉลี่ย 60-80 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และอาจ เติบโตถึง 100 เปอร์เซ็นต์ในบางปี ซึ่งทั้งนี้เป็นผลมาจากฟังก์ชั่นใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงของคอมพิวเตอร์มือถือ อุปกรณ์ไร้สาย และระบบอาร์เอฟไอดี ทำให้จำนวนข้อมูลมีการใช้งานปริมาณมากขึ้นอย่างมหาศาล
จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนข้อมูลนี้เอง เป็นแรงผลักดันให้โครงสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีอยู่ขององค์กรและผู้บริหารระบบต้องปรับตัว ซึ่งในขณะที่จำนวนข้อมูลเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารระบบต้องทำหน้าที่ต่อไปนี้
- รองรับแอพพลิเคชั่นใหม่ และเดิม และให้ผู้ใช้แอพพลิเคชั่นได้รับการบริการที่มีคุณภาพ (Quality of Service :QoS) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้องค์กรรักษาระดับการแข่งขันและบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
- จัดการเก็บข้อมูลด้านความเสี่ยงทุกรูปแบบขององค์กร ประกอบด้วย การขาดทุน การคอรัปชั่น ความปลอดภัย และการลักทรัพย์
- เก็บรักษากฎระเบียบทางราชการที่เกี่ยวข้องและมาตรฐานอุตสาหกรรม ที่สามารถเก็บรักษาและนำข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเป็นระยะเวลานานมาใช้ได้
ดังนั้นสตอเรจเสมือนจริง จึงเป็นคำตอบสำหรับการจัดการข้อมูลที่มีจำนวนมากขึ้นและมีความสลับซับซ้อน ตลอดจนการแก้ปัญหาในด้านค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และช่วยลดปัญหาความยุ่งยากของผู้บริหารระบบลงได้
ความหมายของสตอเรจเสมือนจริง
เสมือนจริง คือ เทคโนโลยีที่ช่วยผู้บริหารระบบการจัดเก็บข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ เน็ตเวิร์คและระบบไอทีต่างๆ ของบริษัท โดยลดภาระการดูแลระบบที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของขนาดและความซับซ้อนของระบบไอที
โดยไอดีซีได้ให้คำจำกัดความของสตอเรจเสมือนจริงไว้ดังนี้
- มีการทำงานแยกจากฮาร์ดดิสก์
- มีความสามารถในการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมของระบบการจัดเก็บข้อมูลที่หลากหลาย และสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างอิสระ
- สามารถปรับการจัดเก็บข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติ และยังจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานภายใน policy-based อย่างอัตโนมัติ
แม้ว่าไอดีซีจะมีการกำหนดคำจำกัดความดังกล่าว แต่ผู้ใช้ยังเกิดความสับสน ระหว่าง SAN (Storage Area Network) และสตอเรจเสมือนจริง (Storage Virtualization) เพราะเป้าหมายของ SAN (Storage Area Network) และสตอเรจเสมือนจริง คล้ายคลึงกันคือ มีการจัดการที่ง่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการขยายของระบบ
สำหรับข้อที่แตกต่างระหว่างสองระบบก็คือ SAN ใช้เน็ตเวิร์คในการแยกการเชื่อมต่อระหว่างเซิร์ฟเวอร์และระบบจัดเก็บข้อมูลจากข้อจำกัดทางกายภาพ ในขณะที่สตอเรจเสมือนจริงใช้การจัดการผ่านซอฟต์แวร์ และความแตกต่างอีกข้อหนึ่ง คือ SAN จะรวบรวมเครือข่ายระบบการจัดเก็บข้อมูลในขณะที่สตอเรจเสมือนจริงรวบรวมการบริหารจัดการระบบการจัดเก็บข้อมูล
สตอเรจเสมือนจริงประกอบด้วย
- Network Storage Controller
- ซอฟต์แวร์บริหารจัดการ
ประโยชน์ที่ได้รับจากสตอเรจเสมือนจริง
1. เพิ่มประสิทธิภาพด้านผลตอบแทนการลงทุนในระบบการจัดเก็บข้อมูล ด้วยการ
- ยืดอายุการใช้งานเครือข่ายองค์กรและทรัพยากรของสตอเรจที่มีอยู่
- ลดต้นทุนที่เกี่ยวกับกระบวนการโยกย้ายข้อมูล
- รวบรวมข้อมูลได้มากขึ้นแต่ใช้ฮาร์ดแวร์น้อยลง และลดต้นทุนโครงสร้างสตอเรจในระยะยาวได้อย่างมาก
2. เพิ่มเสถียรภาพและลดปัญหาการหยุดทำงานของระบบ ด้วยการ
- ยอมให้มีการโยกย้ายข้อมูลในสตอเรจโดยไม่มีผลกระทบต่อผู้ใช้และแอพพลิเคชั่น
- ให้วิธีการใช้งานอย่างง่ายกับผู้ดูแลระบบ เพื่อให้บริการที่เหมาะสมกับความต้องการด้านธุรกิจ
- ลดความต้องการด้านแอพพลิเคชั่น เครือข่ายแลน และเครื่องแม่ข่าย
3.ดูแลจัดการได้อย่างมั่นใจ ด้วยการ
- ยอมให้มีการโยกย้ายข้อมูลได้ต่อเนื่องตามต้องการ
- มีการจัดการอยู่ส่วนกลาง ทำให้จัดการง่ายและควบคุมสตอเรจที่มาจากหลายผู้ค้าได้
- สามารถจัดการความซับซ้อนของโครงสร้างสตอเรจที่ต่างกันได้
- ทำให้การจำลองข้อมูลในระบบที่ต่างกันเป็นเรื่องง่าย
จะเห็นได้ว่าเมื่อความต้องการสตอเรจมีความยุ่งยากมากขึ้น ซีไอโอจะต้องแน่ใจได้ว่าองค์กรสามารถบรรลุความต้องการได้ ในขณะที่ต้นทุนลดลงด้วย นั่นหมายความว่าความสามารถที่จะใช้เครือข่ายสตอเรจที่มีอยู่ให้เหมาะสม โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงยังคงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแผนกไอทีที่กำลังเติบโตในปี 2550 และในอนาคตต่อไป
สำหรับบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ หรือ เอชดีเอส ในฐานะเป็นผู้นำตลาดสตอเรจเสมือนจริง (Storage Virtualization) ระดับบน ได้จัดจำหน่ายหน่วยควบคุมระบบเก็บข้อมูล หรือคอนโทรเลอร์สตอเรจเสมือนจริงอัจฉริยะไปแล้วกว่า 4,500 รายการทั่วโลก
ด้วยการเป็นรายแรกและผู้ค้ารายใหญ่เพียงรายเดียวที่มีคอนโทรลเลอร์สตอเรจที่ใช้เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชั่นที่สามารถใช้งานได้จริง บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ได้สร้างแนวทางใหม่ด้วยความสามารถด้านสตอเรจที่ก้าวหน้า การบริการข้อมูลและเนื้อหาสำหรับอาร์เรย์ที่เชื่อมต่อภายนอก
Hitachi Universal Storage Platform เปลี่ยนโฉมสตอเรจข้อมูลในอุตสาหกรรมด้วยการผลักดันให้เกิดการสร้างชั้นเสมือนจริงแบบฝังตัวที่สามารถจัดการข้อมูลได้สูงสุดถึง 32 เพตาไบต์ทั้งของสตอเรจภายในและภายนอก พาร์ติชั่นย่อย (Logical Partition) สำหรับการสร้างเครื่องสตอเรจเสมือนจริงส่วนตัว (Private Virtual Storage Machine) ที่มีความปลอดภัย และสำรองข้อมูลสตอเรจที่สำคัญได้จากระยะไกล ซึ่งทำให้การดำเนินธุรกิจง่ายขึ้น ซึ่งขณะนี้ทางเอชดีเอสเองก็ยังคงพัฒนาระบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชม ได้ที่เว็บไซต์ www.hds.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สื่อมวลชนกรุณาติดต่อ: คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็นที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท คอร์แอนด์พีค จำกัดโทร. 02-439-4600 ต่อ 8300 อีเมล์ Srisuput@corepeak.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net