ความผูกพันแบบแม่-ลูก ของราชันย์แห่งท้องทะเลที่คุณอาจยังไม่เคยรู้!!!

ข่าวทั่วไป Friday August 10, 2007 14:09 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--10 ส.ค.--เจดับบลิวที พับบลิค รีเลชั่นส์
เราเคยได้ยินเรื่องของความผูกพันของแม่-ลูกที่เป็นมนุษย์ และสัตว์นานาชนิดมาหลากหลายเรื่อง แต่จะมีใครสักกี่คนที่จะรู้ว่า สิ่งมีชีวิตใต้น้ำ ที่เราเรียกมันว่าเพชฌฆาตแห่งท้องทะเล อย่างฉลามก็มีความผูกพันระหว่างแม่-ลูกที่ใกล้ชิดไม่ต่างกัน
ฉลามเสือทราย ฉลามที่มีเอกลักษณ์พิเศษอยู่ที่ฟันที่แหลมคมและน่ากลัว โดยตลอดชีวิตของมันจะมีฟันถึง 30,000 ซี่ ฉลามเสือทรายเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่มาก มีความยาวสูงสุด 350 เซนติเมตร แต่จะมีใครรู้บ้างว่ากว่าฉลามเสือทรายเป็นสัตว์ที่คลอดลูกได้เพียง 2 ตัวต่อปี !! แม่ของฉลามเสือทรายจะต้องฟักไข่อยู่ในครรภ์นานถึง 12 เดือน และจะมีลูกปลาฉลามเสือทรายที่มีโอกาสได้ออกมาใช้ชีวิตนอกท้องแม่เพียง 2 ตัวเท่านั้นจากการตั้งท้องในแต่ละครั้ง เพราะลูกฉลามเสือทราย 2 ตัวแรกที่ออกจากไข่ที่ฟักตัวอยู่ในรังไข่ทั้งสองข้าง จะกินไข่ที่ยังไม่ฟักเป็นตัว ตลอดจนตัวอ่อนที่ออกจากไข่ทีหลังจนหมด จากนั้นลูกฉลามเสือทรายทั้งสองตัว จึงเดินทางผ่านท่อรังไข่เข้าสู่ท้องแม่และคลอดออกมาเป็นฉลามตัวน้อยทั้ง 2 ตัว
ฉลามพยาบาล ฉลามที่ได้รับการขนานนามว่า “ฉลามขี้เซา” หรือ “นักล่าแห่งรัตติกาล” เนื่องจากมันเป็นฉลามที่ดูเซื่องๆไม่ค่อยก้าวร้าว ชอบนอนหลับอยู่ตามพื้นทรายหรือซอกปะการังและออกหาอาหารในยามค่ำคืน โดยอาหารโปรดคือปลาที่นอนหลับ ฉลามพยาบาลเป็นฉลามสัตว์ที่ออกลูกเป็นตัว โดย
ฉลามพยาบาลจัดเป็นสัตว์ในกลุ่มที่ตัวอ่อนเติบโตในรังไข่ หากแต่มีความแปลกกว่าสัตว์ที่เติบโตในรังไข่ประเภทอื่นคือ มันจะไม่ได้รับอาหารทางรกจากแม่ แต่จะได้รับอาหารจากไข่แดง ซึ่งตอนแรกเกิดลูกฉลามมีขนาดประมาณ 40 เซนติเมตร ยามเป็นวัยกระเตาะมีจุดดำขนาดเท่าเหรียญบาทกระจายตามตัว พอโตขึ้นจุดจะหายไปและอาจยาวได้ถึง 3.2 เมตร โดยฉลามประเภทนี้จะออกลูกค่อนข้างน้อย โดยส่วนใหญ่จะมีลูกเพียง 2-3 ตัวจนถึง 8 ตัวเป็นอย่างมาก
ฉลามปล้องอ้อย หรือฉลามกบ นอกจากฉลามที่มีความผูกพันกับลูกแล้ว ฉลามที่ไม่สนใจลูกของมันเลยก็มี อย่างเช่น ฉลามปล้องอ้อยหรือฉลามกบ เป็นฉลามในสายพันธุ์ที่ออกลูกเป็นไข่ ฉลามกบเพศเมียจะไม่อยู่ดูแลไข่ของมันเอง แต่จะวางไข่อยู่บริเวณแนวปะการังที่มีสาหร่ายล้อมรอบอยู่ และสร้างเปลือกไข่ที่แข็งแรง ปกป้องตัวอ่อนได้เป็นอย่างดี ทั้งยังมีลวดลายที่พรางตาท่ามกลางสภาพแวดล้อมรอบๆได้ พัฒนาการของตัวอ่อนฉลามกบจะดำเนินไปในขณะที่อยู่ภายในไข่โดยได้รับอาหารจากไข่แดง และเมื่อพัฒนาการของตัวอ่อนเป็นไปโดยสมบูรณณ์ และไข่แดงถูกกินจนหมดแล้ว ตัวอ่อนจึงออกจากไข่เพื่อเผชิญโลกภายนอก ฉลามกบจัดเป็นปลาฉลามตัวเล็กที่ใจดี กินแต่พืชและสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร มันจึงจำเป็นต้องสร้างสิ่งที่แปลกตาต่อสัตว์ชนิดอื่นให้ลังเลและสับสน ได้แก่ ลวดลายที่เกิดขึ้นมาบริเวณลำตัว ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุ และจะเริ่มจางหายไปตามอายุของมันตามช่วงเวลาในการเจริญเติบโต เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์
เรื่องราวความรักความผูกพันระหว่างแม่-ลูกของฉลามเป็นเพียงส่วนหนึ่งของโลกใต้ท้องทะเลเท่านั้น ยังมีเรื่องราวแห่งชีวิตของสัตว์โลกใต้น้ำอีกมากมายที่รอให้ทุกคนค้นหา และเรียนรู้ เพื่อเปิดโลกทัศน์แห่งการเรียนรู้ สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล จึงจัด “Fish Funtastic” เทศกาลเดียวที่ให้ความรู้เชิงลึก ในรูปแบบที่ทั้งสนุกสนานและตระการตา เพื่อให้มนุษย์เกิดความรักและความผูกพันกับปลา โดยเทศกาล Fish Funtastic จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 สิงหาคม — 30 กันยายน 2550 ณ “สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล” ชั้น บี 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เคาน์เตอร์บริการ หรือ โทร. 0-2687-2000
ข้อมูล “สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล”
อุทยานสัตว์น้ำ "สยาม โอเชี่ยน เวิร์ล “ก่อตั้ง และบริหารงานโดย โอเชียนิส ออสเตรเลีย กรุ๊ป ผู้ประกอบธุรกิจ อุทยานสัตว์น้ำอันดับหนึ่งของโลก ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญมากว่า 15 ปี และเป็นอุทยานสัตว์น้ำมาตรฐานโลกแห่งแรกของประเทศไทย พร้อมทั้งบริการโรงภาพยนตร์ 4 มิติที่ทันสมัย เปิดให้บริการทุกวัน ณ ชั้น B1-B2 ศูนย์การค้า สยาม พารากอน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 22.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เคาน์เตอร์บริการ หรือ โทร. 0-2687-2000
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
เจดับบลิวที พับบลิค รีเลชั่นส์
วาสนา ผสมญาติ (ปั้น) โทร. 0-2204-8078, 08-9763-1713
Wasana.phasomyard@jwt.com
สยาม โอเชี่ยน เวิร์ลจิตราวดี ตั้งตระกูล (เจี๊ยบ)
โทร. 0 2687 2069 หรือ 084-088-1628 Jittrawadeet@siamoceanworld.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

แท็ก เสือ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ