กรุงเทพฯ--1 ก.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง
กฎหมายแรงงานไทยที่ผู้บริหารกิจการจำเป็นต้องทราบThai Labor Law for Executiveอบรมวันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม 2554ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4KEEN Conferenceห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค (ฝั่งโฮมโปรหรือ ตลาดเสรีมาร์เก็ต) ถนนศรีนครินทร์
Rational and Significance
เนื่องจากในปัจจุบันมีกิจการต่างๆในรูป บริษัท/ห้าง/ร้าน/องค์กรและ สมาคมต่างๆ จดทะเบียนประกอบกิจการในราชอาณาจักรไทยเป็นจำนวนมาก แต่บุคคลที่ทำหน้าที่เข้าไปบริหารกิจการต่างๆ ทั้งที่เป็นคนไทย และชาวต่างประเทศ อาจมีความรู้ในการทำงานเป็นอย่างดี แต่มีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดของกฎหมายแรงงานไทยไม่ถูกต้อง จึงได้มีการกระทำที่ผิดกฎหมายแรงงานอยู่บ่อยครั้ง ทั้งๆ ที่มิได้ตั้งใจจะกระทำความผิด แต่เพราะขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในตัวบทกฎหมายแรงงานไทย ทำให้มีการสั่งการต่างๆ ที่ผิดกฎหมายบ้าง กระทำผิดกฎหมายบ้าง หรือมิได้สั่งการให้กระทำให้ถูกกฎหมายแรงงานไทยบ้าง ซึ่งก็จะตกเป็นผู้กระทำผิด และตัวบุคคลผู้บริหารกิจการนั้นๆก็ต้องถูกลงโทษตามบทบัญญัติที่กฎหมายกำหนดไว้ เนื่องจากกฎหมายมิได้บัญญัติให้ลงโทษกิจการ แต่กฎหมายบัญญัติ ให้ลงโทษตัวบุคคลผู้บริหารกิจการที่กระทำผิดกฎหมายนั้นๆ
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้มีคำถามจากผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล ผู้บริหารฝ่ายกฎหมาย ผู้บริหารฝ่ายแรงงานสัมพันธ์ ผู้บริหารฝ่ายนโยบายและกำกับ ของกิจการต่างๆ รวมทั้งผู้ที่เป็นเลขานุการของ กรรมการผู้จัดการ และ ประธานบริษัทต่างๆ ได้สอบถามปัญหาไปที่ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญกฎหมายแรงงานระดับประเทศ ที่มีประสบการณ์เสมือนเป็นห้องสมุดกฎหมายแรงงานไทยเคลื่อนที่ ให้ช่วยชี้แจง ให้ความกระจ่างในกฎหมายแรงงานไทยอยู่บ่อยครั้งมาก
ดังนั้น WASO Training Center จึงได้เปิดการอบรมนี้เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในแง่มุมที่สำคัญของกฎหมายแรงงานไทย ที่ผู้บริหารกิจการต่างๆจำเป็นต้องทราบ ซึ่งกิจการต่างๆ ควรส่งบุคลากรทุกระดับ ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับคนของบริษัทฯ พนักงาน หรือลูกจ้างของบริษัทฯ มารับการสัมมนา เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในครั้งนี้
Training Schedule
08.30-09.00 น. ลงทะเบียน
09.00-16.30 น
ลักษณะของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน มีความสำคัญเพียงไร
การทำสัญญา / ข้อตกลง ที่ลูกจ้างเต็มใจตกลงด้วย ทำไมศาลฎีกา ให้ตกเป็นโมฆะ
กิจการทำผิดกฎหมาย ทำไมผู้บริหารกิจการจึงต้องถูกจำคุก และ /หรือ ถูกปรับ มาจากกฎหมายอะไรในมาตราใด มีความหมายอย่างไร
ต่อไปจะไม่จ้างลูกจ้างประจำ จ้างแต่ลูกจ้างชั่วคราวได้ไหม
การจ้างลูกจ้างชั่วคราว จ้างได้ไม่เกินกี่ปี จ้างกันนานๆจะกลายเป็นลูกจ้างประจำไหม
การนับอายุงาน นับอย่างไรจึงจะถูกต้อง
ค่าชดเชยมีกี่อัตรา จ่ายเท่าไร ทำไมจึงมิใช่จ่าย 1 เท่า, 3 เท่า, 6 เท่า, 8 เท่า, 10 เท่า ของเงินเดือน
พนักงานลาออก ไม่ต้องจ่ายเงินอะไรบ้าง
เลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงานปี 2551 มีเงื่อนไขอย่างไร
งานใดไม่ควรใช้การจ้างแรงงาน แต่ควรจ้างแบบเหมาบริการ มีประโยชน์แก่กิจการอย่างไร
การจ้างเหมาค่าแรง คือการจ้างแบบใด และกิจการที่จ้างต้องมีความรับผิดชอบอย่างไร
ต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดเท่าไร จึงจะถูกกฎหมาย
การคิดค่าจ้างต่อวันในลูกจ้างรายเดือน คิดอย่างไรจึงจะถูกกฎหมาย
การปฏิบัติต่อลูกจ้างชาย -หญิง อย่างเท่าเทียมกัน มีความหมายเพียงไร
งานใดควรใช้เวลาทำงานแบบยืดหยุ่น และงานแบบใดควร fix เวลาเข้างาน /ออกงาน
การให้สวัสดิการแก่ลูกจ้าง subcontractor มีผลให้กิจการนั้นกลายเป็นนายจ้างโดยตรงทันที การให้สวัสดิการแบบใดที่ไม่ทำให้กิจการตกเป็นนายจ้างของลูกจ้าง subcontractor
ขั้นตอนการนัดหยุดงานที่ถูกกฎหมาย มีกระบวนการ และขั้นตอนอย่างไร
ถ้าลูกจ้างนัดหยุดงานผิดขั้นตอน นายจ้างควรดำเนินการอย่างไร
จะลงโทษกรรมการสหภาพแรงงานที่ทำผิด เหมือนพนักงานทั่วไป ได้หรือไม่ เพียงไร
ข้อห้ามในการเลิกจ้างลูกจ้าง 3 มาตรา มีอย่างไร หากฝ่าฝืนผู้บริหารกิจการมีโทษอย่างไร
กรรมการสหภาพแรงงาน มีสิทธิลาไปร่วมกิจกรรมอะไรได้บ้าง โดยถือเป็นวันทำงาน
ทำไมสหภาพแรงงาน จัดกิจกรรมในวันเวลาทำงานไม่ได้
ปัญหาที่ต้องระวังในการอนุมัติให้สหภาพแรงงาน ลาไปทำกิจกรรมต่างๆมีอย่างไร
ควรมีเงื่อนไขจำกัดอย่างไร ในการให้ลาไปทำกิจกรรมต่างๆ
นายจ้างจะป้องกันความลับทางธุรกิจมิให้รั่วไหล ในการเจรจาต่อรองได้แค่ไหน อย่างไร
ความจำเป็นในการชี้แจงเหตุผล และปัญหาการประกอบธุรกิจ ควรกระทำในขอบเขตเพียงไร
การประเมินผลงานกรรมการสหภาพฯ ควรใช้แบบฟอร์มแตกต่างจากลูกจ้างทั่วไปหรือไม่ อย่างไร
หากใช้แบบฟอร์มที่แตกต่างกัน ทำไมถึงมีการจำคุกผู้บริหารกิจการด้วย มาจากกฎหมายมาตราใด
นายจ้างเข้าไปจัดการกับผู้ที่เป็นกรรมการสหภาพฯ ที่ลูกจ้างไม่นิยม ไม่ชอบ ได้เพียงไร
กฎหมายแรงงานไทยภาคเอกชนที่สำคัญ มีถึง 6 ฉบับรวม 602 มาตราที่ยังไม่นับรวมประกาศกระทรวง กฎกระทรวง ประกาศอธิบดี คำสั่งอธิบดีในกิจการภาคเอกชน และยังไม่นับรวมกฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจไทย) มีกฎหมายแรงงานไทยในชื่อใดบ้าง แต่ละฉบับมีกี่มาตรา
ทางออกของผู้บริหารกิจการต่างๆ หรือ ตัวช่วยในการแก้ปัญหาความไม่เข้าใจในตัวบทกฎหมายแรงงานไทย มีอย่างไรบ้าง
ถาม — ตอบ สารพันปัญหาในกฎหมายแรงงานไทย
Instructor
อ .รุ่งเรือง บุตรประคนธ์
- ประธานที่ปรึกษาสำนักงานกฎหมายมงคลรุ่งเรือง
- ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน
- อาจารย์สอนปริญญาโทในวิชากฎหมายแรงงาน และคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงาน
- ผู้ศึกษาค้นคว้าคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานมามากกว่า 45,000 คดี
- ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและกฎหมายแรงงานให้แก่กิจการภาคเอกชน ฯลฯ
Registration Fee
3,200 + VAT 224 = 3,424 บาท
กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238
บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510
How to Apply
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือ
ดาวน์โหลดใบสมัคร คลิ๊กที่นี่
แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231
สมัคร Online คลิ๊กที่นี่
E-mail: ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
ดาวน์โหลด แผนที่ สถานที่อบรม คลิ๊กที่นี่
Payment Method
เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ
โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2
แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจาก
ต่างจังหวัด)
Notice of Cancellation
ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน
Remark
การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437