กรุงเทพฯ--3 ส.ค.--พีอาร์ แอนด์ แอสโซซิเอส
ศูนย์วิจัยเนสท์เล่ สวิตเซอร์แลนด์ แสดงรายงานผลการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดพบว่า คนที่กินอาหารเช้าจะผอมกว่าคนที่งดอาหารเช้า โดยงานวิจัยจากโครงการสังเกตการณ์สุขภาพผู้ชายของ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด รายงานว่า การงดอาหารเช้านั้นเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนถึง 4 เท่า อาหารซีเรียลที่มีเส้นใยอาหารสูงจัดเป็นอาหารเช้าที่ให้ประโยชน์ และช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตีบในผู้ชาย รวมทั้งก้อนเนื้องอกในลำไส้ และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ลงได้ด้วย ผลจากการศึกษานี้แนะนำให้บริโภคอาหารเช้าซีเรียลที่มีเส้นใยอาหารอย่างน้อย 6 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค และมีปริมาณน้ำตาลต่ำ (น้อยกว่า 10 กรัมต่อหน่วยบริโภค) โดยสามารถเติมนมพร่องมันเนยและกล้วย ลูกเบอร์รี่ หรือชิ้นแอปเปิ้ล เพื่อทำให้อาหารที่มีเส้นใยสูงมื้อนี้มีรสชาติอร่อยยิ่งขึ้น
อาหารเช้านั้นไม่ได้จำกัดเพียงแค่อาหารซีเรียลที่มีเส้นใยอาหารสูงเท่านั้น แต่การเลือกอย่างฉลาดนั้นก็มีความสำคัญมาก กรณีรับประทานขนมปังปิ้ง ควรเลือกขนมปังที่ทำจากโฮลวีต ซึ่งเหมาะที่จะทานร่วมกับมาการีนที่ปราศจากไขมันชนิดทรานส์ หรือ สเปรดที่ประกอบด้วยสารสเตนอลจากพืช และช่วยลดโคเลสเตอรอล โดยในเมนูอาหารเช้าไม่จำเป็นต้องงดไข่ แต่อาหารที่มีไข่เหมาะสำหรับการเสิร์ฟในมื้อสายๆ เป็นครั้งคราว อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานซึ่งกินไข่มากกว่าวันละ1 ฟองเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจถึง 2 เท่า จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนซึ่งแสดงให้เห็นว่าไข่ชนิดออแกนิคหรือไข่ที่ระบุว่ามีไขมันชนิดโอเมก้า -3 สูงนั้น จะก่อให้เกิดผลดีเฉพาะต่อสุขภาพ ซึ่งให้ประโยชน์เช่นเดียวกับไข่ทั่วไปนั่นเอง
และผลจากการวิจัย ยังชี้ให้เห็นอีกว่าอาหารเช้าปกติทั่วๆ ไป เช่น เบคอน และครัวซอง นั้นมีปริมาณไขมันและเกลือสูงมาก และอาหารเช้าประเภทจานด่วนก็มีปริมาณสารเหล่านี้สูงมากเช่นกัน และยังไม่มีเส้นใยอาหารที่ช่วยเพิ่มผลดีให้กับสุขภาพ
คุณปทุมรัตน์ เพียรชอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและโภชนาการ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่า “เราควรรับประทานข้าวซ้อมมือแทนข้าวขัดขาว หรือข้าวซ้อมมือผสมกับข้าวขัดขาว และในแต่ละมื้อควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และพยายามลดอาหารที่หวาน มัน เค็ม โดยให้เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้ชนิดต่างๆ และดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อให้เกิดความสมดุลของสารอาหารที่ร่างกายควรได้รับ” นอกจากนี้ ฝ่ายโภชนาการ กองส่งเสริมสาธารณสุข สำนักอนามัย ยังให้ข้อมูลว่า เส้นใยอาหารสามารถช่วยลดความเสี่ยงของผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากอาหารที่มีเส้นใยจะถูกย่อยเป็นกลูโคสอย่างช้าๆ
ฮอร์โมนอินซูลินไม่ต้องทำงานหนักในการนำส่งกลูโคสเข้าเซลล์ เส้นใยที่ละลายน้ำมีความหนืดสูงจะเคลือบผิวของลำไส้ไว้และชะลอการดูดซึมของน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างช้าๆ เส้นใยอาหารยังมีผลช่วยลดระดับไขมันในเลือด เนื่องจากใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำหรือพวกที่มีความหนืดจะดูดซับเอาน้ำดีไว้ และขับถ่ายออกไปกับอุจจาระ ทำให้โคเลสเตอรอลถูกดึงมาใช้สร้างน้ำดีเพิ่มขึ้น
ข้อมูลจากแหล่งเดียวกัน ยังให้คำแนะนำว่าผู้ใหญ่ควรรับประทานใยอาหาร ปริมาณ 20-35 กรัมต่อวัน โดยการรับประทานผักนานาชนิด รับประทานผลไม้สดแทนขนมหวานหรือแทนการดื่มน้ำผลไม้ ก้านผักหรือเปลือกของผัก ผลไม้บางชนิดมีใยอาหารสูง เช่น แอปเปิ้ล ฝรั่ง ชมพู่ พีช พลัม แตงกวา ก้านคะน้า เป็นต้น จึงควรรับประทานทั้งเปลือก เพราะนอกจากอาหารที่มีเส้นใยสูงจะช่วยในการลดน้ำหนักแล้ว ยังช่วยควบคุมโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตีบอีกด้วย
รวบรวมข้อมูลและเผยแพร่ : ศูนย์วิจัยเนสท์เล่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
และศูนย์ผู้บริโภคเนสท์เล่ ประเทศไทย
โทร. 0-2657 8657 e-mail: goodfood.nestle@th.nestle.com