วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดอบรม ในหัวข้อ ความรู้ความเข้าใจเรื่องสหภาพแรงงาน เพื่อสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดี

ข่าวทั่วไป Monday July 4, 2011 11:01 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ก.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง ความรู้ความเข้าใจเรื่องสหภาพแรงงานเพื่อสร้างระบบแรงงานสัมพันธ์ที่ดีUnderstanding of the Trade Unionto Create a Better Labor Relations System อบรมวันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2554 ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4 KEEN Conference ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค (ฝั่งโฮมโปรหรือ ตลาดเสรีมาร์เก็ต) ถนนศรีนครินทร์ Rational and Significance ปัญหาใหญ่ในการบริหารงานทรัพยากรบุคคลเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องที่กิจการใดมีสหภาพแรงงานขึ้นมา มักจะมีปัญหาเกิดการเป็นปรปักษ์ต่อกันเสมอ โดยมีปัญหาความไม่เข้าใจกัน ปัญหาการพูดกันไม่รู้เรื่อง หรือ พูดกันไม่รู้ฟังเกิดขึ้นตลอดเวลา ผลดังกล่าวนั้น กล่าวได้อย่างเดียวว่ามาจากเหตุที่ “มีระบบการแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่ดี”นั่นเอง สาเหตุของการมีระบบการแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่ดีนั้น มีหลายสาเหตุ แต่สาเหตุตัวเริ่มต้นก็คือ “ความไม่เข้าใจในขอบเขตของสิทธิและหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ไม่เข้าใจในอำนาจทางการบริหารในการออกคำสั่งต่างๆ ของฝ่ายนายจ้าง ซึ่งมีทั้งชอบและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เข้าใจวิธีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ไม่เข้าใจต้นเหตุแห่งความขัดแย้ง ไม่ทราบวิธีที่ดีในการแก้ปัญหาจากความขัดแย้ง ไม่ทราบเทคนิคการรับฟัง และคลี่คลายแก้ไขปัญหา ไม่เข้าใจในสถานภาพ วัตถุประสงค์ การก่อการจัดตั้ง และ การดำเนินการ ขององค์กรสหภาพแรงงาน ไม่เข้าใจวิธีการตรวจสอบทะเบียนสมาชิก เอกสาร หรือบัญชี และ การดำเนินการของสหภาพแรงงานว่า ฝ่ายนายจ้างมีวิธีการทำได้อย่างไร เป็นต้น ดังนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ฝ่ายบริหาร หรือ ผู้บังคับบัญชาในทุกระดับ ทั้งในกิจการที่มีสหภาพแรงงานแล้ว และ อาจจะมีขึ้นได้ในอนาคต (อย่าประมาทว่า ในวันนี้ยังไม่มี อย่าลืมว่าพรุ่งนี้ หรือ สัปดาห์หน้ากิจการของท่านก็อาจมีสหภาพแรงงานขึ้นก็ได้) ควรจะต้องมาเตรียมความพร้อมที่จะมาเรียนรู้เทคนิค และ ทำความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญโดยตรง ซึ่งเป็นอดีตผู้รับผิดชอบในด้านการวางแผนการเจรจาต่อรอง และ ผู้แทนฝ่ายนายจ้างที่มีอำนาจเต็มในการแก้ปัญหาด้านแรงงาน 6 สมัยของ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ และ เป็นเลขานุการ คณะผู้แทนในการเจรจาต่อรองทุกสมัยที่มีการเรียกร้องเกิดขึ้นที่ บมจ,ธนาคารกรุงไทย ตั้งแต่ปี 2532 — 2550 และ เคยเป็นประธานฝ่ายส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ สภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ประธานผู้พิพากษาสมทบศาลแรงงานกลาง ประธานฝ่ายวิชาการสมาคมกฎหมายแรงงาน(ประเทศไทย) ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสวัสดิการ วินัย และ แรงงานสัมพันธ์ ฯลฯ ให้เกียรติมาเป็นวิทยากร Training Schedule 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-16.30 น. 1. ผู้ที่ไม่มีสิทธิเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือ เป็นอยู่ต่อไปไม่ได้ หมายถึงใครกันแน่ 2. ความสำคัญ และผลของคำสั่งของผู้บังคับบัญชามีแค่ไหน เพียงไร 3. สิทธิของผู้บังคับบัญชาในการออกคำสั่งทางการบริหารที่ชอบและไม่ชอบด้วยกฎหมายมีลักษณะอย่างไร 4. หน้าที่ของลูกจ้างตามกฎหมายแรงงานมีอย่างไร 5. ระบบการแรงงานสัมพันธ์หมายถึงอะไร 6. เหตุแห่งความขัดแย้งเกิดขึ้นได้อย่างไร 7. เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นผู้บังคับบัญชาควรทำอย่างไร 8. เทคนิคการรับฟัง และคลี่คลายแก้ไขปัญหามีอย่างไร 9. ข้อกฎหมายเกี่ยวกับสหภาพแรงงานที่จำเป็นต้องทราบมีเรื่องใดบ้าง 10. ผู้มีคุณสมบัติอย่างไร ที่มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงาน 11. ฝ่ายนายจ้างมีวิธีการตรวจสอบทะเบียนสมาชิก เอกสาร หรือบัญชี ของ สหภาพแรงงานได้อย่างไร 12. หน้าที่ของสหภาพแรงงานมีเพียงไร 13. ข้อห้ามในการเลิกจ้าง หรือ โยกย้ายหน้าที่ของลูกจ้างมีอย่างไร 14. การกระทำอย่างไรที่เรียกว่า การกระทำอันไม่เป็นธรรม 15. ความหมายของสภาพการจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมายมีเพียงไร 16. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหมายถึงการกระทำอย่างไร 17. ทำไมข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกลายเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 18. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีกี่ประเภท อะไรบ้าง 19. สิ่งที่นายจ้างริเริ่มให้เองโดยมิได้ประกาศ ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ ทำไมจึงถือว่าเป็นสภาพการจ้าง 20. ข้อตกลงที่เกิดจากข้อเรียกร้องต้องทำอย่างไร 21. ทำความเข้าใจในความหมายที่ถูกต้องของคำบางคำที่ใช้ในกฎหมายว่าด้วยการแรงงานสัมพันธ์ 22. สิทธิตามกฎหมายที่ห้ามฝ่ายนายจ้างไปจำกัดสิทธิฝ่ายลูกจ้าง มีเรื่องใดบ้าง 23. ทำไมบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้น ศาลแรงงานไม่รับฟังการนำสืบความจริง 24. เจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์มีอย่างไร 25. มาตราสำคัญในกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ที่จำเป็นต้องทราบมีมาตราใดบ้าง 26. แผนภูมิสรุป ขั้นตอนการแจ้งข้อเรียกร้อง การเจรจา และ การระงับข้อพิพาทที่ชัดเจนมีอย่างไร 27. ถาม — ตอบ สารพันปัญหาเรื่องสหภาพแรงงาน และ การสร้างระบบการแรงงานสัมพันธ์ที่ดี Instructor อ .รุ่งเรือง บุตรประคนธ์ - ประธานที่ปรึกษาสำนักงานกฎหมายมงคลรุ่งเรือง - ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านกฎหมายแรงงาน - อาจารย์สอนปริญญาโทในวิชากฎหมายแรงงาน และคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงาน - ผู้ศึกษาค้นคว้าคำพิพากษาฎีกาคดีแรงงานมามากกว่า 45,000 คดี - ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและกฎหมายแรงงานให้แก่กิจการภาคเอกชน ฯลฯ Registration Fee ท่านละ 3,200 บาท + ภาษี 7 % = 3,424 บาท กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510 How to Apply สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือ แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231 Payment Method เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด) Notice of Cancellation ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน Remark การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ