วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดอบรม ในหัวข้อกลยุทธ์รับมือกับมาตรา 11/1 ของกฎหมายแรงงานฉบับใหม่ ให้ถูกต้อง และรู้เทคนิคทางเลือกในทางปฎิบัติจริง

ข่าวทั่วไป Tuesday July 5, 2011 10:23 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ก.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง กลยุทธ์รับมือกับมาตรา 11/1 ของกฎหมายแรงงานฉบับใหม่ให้ถูกต้องกิจการที่ใช้วิธีการจ้างเหมาค่าแรง หรือ จ้างผ่านบริษัท Outsource หรือ บริษัท Subcontractor) Section 11 / 1 of the new Labour Law อบรมวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2554ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4KEEN Conferenceห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค (ฝั่งโฮมโปรหรือ ตลาดเสรีมาร์เก็ต) ถนนศรีนครินทร์ Rational and Significance สืบเนื่องมาจากมีทั้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยของผู้อำนวยการสำนักคุ้มครองแรงงาน ผู้กระทำการแทนอธิบดีกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน และ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานทุกเขตพื้นที่ที่ตัดสินในทำนองเดียวกันหมด คือ กิจการที่ใช้วิธีการจ้างเหมาค่าแรง หรือ จ้างผ่านบริษัท Outsource หรือ บริษัท Subcontractor ให้ส่งคนมาทำงานในขั้นตอน กระบวนการผลิต หรือ มีการทำงานของธุรกิจหลักของกิจการใด กิจการนั้น ต้องให้ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการแก่ลูกจ้างของ บริษัท Outsource หรือ บริษัท Subcontractor เท่ากับพนักงานของกิจการนั้นๆ เช่น พนักงานของกิจการได้โบนัส 6 เดือน กิจการนั้นๆต้องจ่ายโบนัสให้ลูกจ้างทุกคนจากบริษัท Outsource หรือ บริษัท Subcontractor คนละ 6 เดือนเท่ากันด้วย ที่ผ่านมา ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล และ ฝ่ายกฎหมายในกิจการต่างๆ ยังมีความเข้าใจผิด หรือ มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ทั้งนี้ อาจได้ข้อมูล หรือ ความรู้จากนักกฎหมายที่มิได้คลุกคลีกับการออกกฎหมายแรงงานมาโดยตลอด เพียงแต่นักกฎหมายท่านนั้น ได้อ่านเพียงตัวบท แล้วก็ตีความตามที่ตนเข้าใจเป็นการส่วนตัว จากนั้นก็นำมาสอน มาอธิบาย แต่ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของการออกกฎหมายแรงงานดังกล่าว จนในที่สุด ศาลฯ ก็ได้ตัดสินให้ฝ่ายนายจ้างแพ้คดีตามมาตรา 11/1 ไปแล้ว จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรบุคคล ควรจะได้มาทำความเข้าใจให้ถูกต้องในเจตนารมณ์ของตัวบทกฎหมาย มาตรา 11/1 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่2) พ.ศ. 2551 ให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์และความเป็นมา เพื่อให้กิจการต่างๆ ได้ปฏิบัติให้ถูกกฎหมาย ขณะเดียวกัน ก็ควรจะเข้าใจในทางเลือกที่แตกต่างจากระบบการจ้างในปัจจุบัน เพื่อให้ถูกต้องตามบทบัญญัติที่กำหนดในกฎหมายด้วย ในการสัมมนาครั้งนี้ วิทยากร จะเจาะประเด็น ชี้แนะอย่างชัดเจนถึงวิธีการวางแผน และลงมือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ โดยเฉพาะในมาตรา 11/1 เพื่อให้ถูกต้องตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยมีสาระสำคัญที่จะนำมาให้ทราบดังกำหนดการข้างล่างนี้ Training Schedule 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-16.30 น ที่มาของการนำเสนอมาตรา 11/1 มีความเป็นมาอย่างไร เกิดจากการร้องทุกข์ของกลุ่มใด สภาทนายความ และ คณะกรรมการแรงงานสมานฉันท์ เกี่ยวพันกับเรื่องนี้อย่างไร ร่างของกระทรวงแรงงาน มีเนื้อหาแตกต่างจากตัวบทมาตรา 11/ 1 ในราชกิจจานุเบกษาอย่างไร คณะกรรมาธิการวิสามัญ 19 ท่าน พิจารณารวม 15 ครั้ง มีเนื้อหาแตกต่างจากตัวบทมาตรา 11/ 1 ในราชกิจจานุเบกษาอย่างไร สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้ความเห็นชอบในวาระที่ 3 เมื่อ 19 ธันวาคม 2550 มีเนื้อหาแตกต่างจากตัวบทมาตรา 11/ 1 ในราชกิจจานุเบกษาอย่างไร สถานภาพของกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีความหมายอย่างไร เจตนารมณ์ในการออกกฎหมายที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลฝ่ายนายจ้างนั้น กระทำได้เพราะเหตุใด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 84 (7) ที่กำหนดความคุ้มครองลูกจ้างมีความหมายอย่างไร เหตุใดในปัจจุบันยังไม่มีผลใช้บังคับเต็มตามอนุมาตรา 7 ความหมายโดยละเอียด และถูกต้อง ของมาตรา 11/1 วรรคแรก มีความหมายอย่างไร ความหมายโดยละเอียด และถูกต้อง ของมาตรา 11/1 วรรคสอง มีความหมายอย่างไร ค่าตอบแทน ได้แก่อะไรบ้าง สิทธิประโยชน์ ได้แก่อะไรบ้าง สวัสดิการ ได้แก่อะไรบ้าง หากฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษในมาตราไหน มีโทษเพียงไร ในกรณีที่กิจการท่านไม่ต้องการรับผิดชอบตามมาตรา 11/1 มีข้อยกเว้น หรือ มีทางออก 4 กรณีอะไรบ้าง ที่ไม่ผิดกฎหมาย แนวทางปฏิบัติเพื่อเข้าสู่ข้อยกเว้น 4 กรณี นั้น ต้องทำอย่างไรบ้าง ถาม — ตอบปัญหาข้อข้องใจ Instructor อ .รุ่งเรือง บุตรประคนธ์ เคยเป็นคณะกรรมการร่วมร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน เคยเป็นทั้งตุลาการฯในศาลแรงงานกลาง เป็นประธานผู้พิพากษาฯศาลแรงงานกลาง เป็นประธานฝ่ายวิชาการสมาคมกฎหมายแรงงาน(ประเทศไทย) อาจารย์สอนกฎหมายแรงงานในระดับปริญญาโท ใน 4 มหาวิทยาลัยของรัฐ เป็นนักบริหารระดับสูงในด้านทรัพยากรบุคคล และผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ในกิจการธนาคารขนาดใหญ่มาก่อน ฯลฯ โดยเฉพาะเป็นผู้เกาะติดกับการแก้ไขตัวบทกฎหมายใหม่อย่างต่อเนื่องทุกขั้นตอน (มีเอกสารประกอบส่วนนี้ 23 หน้า) และ เคยได้รับเชิญไปแก้ปัญหาภายในกิจการต่างๆมากกว่า 200 กิจการ มีประสบการณ์หลังจบปริญญาโท มามากกว่า 39 ปี จะมาแยกแยะความแตกต่าง และ ความรับผิดชอบของกิจการ ที่จ้างผ่านบริษัท Outsource หรือ บริษัท Subcontractor ให้ได้ทราบ เพื่อนำไปดำเนินการ ในทางที่ประหยัด และถูกกฎหมายต่อไป Registration Fee 3,200 รวม VAT 224 = 3,424 บาท กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510 How to Apply สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือ ดาวน์โหลดใบสมัคร คลิ๊กที่นี่ แฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231 สมัคร Online คลิ๊กที่นี่ E-mail: ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ดาวน์โหลด แผนที่ สถานที่อบรม คลิ๊กที่นี่ Payment Method เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจาก ต่างจังหวัด) Notice of Cancellation ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน Remark การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ