แอร์บัสเสนอโครงสร้างองค์กรใหม่ต่อสภาแรงงานแอร์บัสทวีปยุโรป (Airbus European Works Council — ECA)

ข่าวทั่วไป Wednesday June 13, 2007 10:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มิ.ย.--ทีคิวพีอาร์ (ประเทศไทย)
แอร์บัสเสนอโครงสร้างองค์กรใหม่ ต่อสภาแรงงานแอร์บัสทวีปยุโรป (Airbus European Works Council — ECA) และคณะกรรมการวิสาหกิจของฝรั่งเศส (French Comit? d’Entreprise) ด้วยรูปแบบโครงสร้างองค์กรใหม่ที่เรียบง่ายและมีความคล่องตัว อันมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเปลี่ยนให้การดำเนินงานที่ต้องอาศัยการสอดประสานที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ด้วยการบริหารงานแบบ“ไม่แบ่งแยกตามประเทศ” (Trans—national basis) ซึ่งหมายถึงหลักการทำงานร่วมกันบนแบบแผนที่ชัดเจน อันจะส่งผลให้เกิดประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน ปริมาณของผลงานและมีความพร้อมในการรับมือความท้าทายใหม่ๆ โดยรูปแบบโครงสร้างองค์กรใหม่นี้ จะให้ความสำคัญกับการทำงานของฝ่ายปฏิบัติการและโครงการต่างๆเป็นอันดับแรก ตามแผน Power8 ที่ได้ประกาศไปเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจะส่งผลดีต่อการกระตุ้นการดำเนินงานตามแผนดังกล่าว
เพื่อให้ทุกส่วนขององค์กรเกิดการประสานงานกันได้อย่างสมบูรณ์ โครงสร้างองค์กรใหม่ในแนวคิดแบบไม่แบ่งแยกตามประเทศ จะถูกนำมาใช้ทั้งในส่วนงานปฏิบัติการ งานโปรแกรม และงานจัดซื้อ และยังสามารถรองรับการขยายตัวสู่ความเป็นองค์กรใหญ่อันเป็นศูนย์รวมของส่วนต่างๆได้ ทั้งพันธมิตรหลักและบรรดาซัพพลายเออร์ บทบาทของฝ่ายวิศวกรรมภายใต้การนำของ มร. แพทริก เกวิน คือการดูแลงานออกแบบ งานสถาปัตยกรรมและโครงสร้างที่ต้องอาศัยความลงตัว งานการวิจัยและเทคโนโลยี ศูนย์ทดสอบการบินและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องบิน เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานการบินสากล งานทั้งหมดที่กล่าวมาจะใช้ “การบริหารแบบไม่แบ่งแยกตามประเทศ” พร้อมด้วยการเพิ่มอำนาจด้านการตัดสินใจทางเทคนิคและการเพิ่มบทบาทของเทคนิคสถาปัตยกรรมอากาศยานอย่างครอบคลุมและกว้างขวาง
มร. เจอราล์ด เวเบอร์ หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการ จะดูแลความเรียบร้อยในส่วนของงานแห่งความเป็นเลิศ(Centres of Excellence - CoE) ทั้งสี่ส่วน ที่จะใช้การบริหารแบบไม่แบ่งแยกตามประเทศเช่นกัน โดยการทำงานจะเปลี่ยนมาแบ่งตามส่วนประกอบต่างๆของเครื่องบินแทนแบบเดิมซึ่งแบ่งโดยยึดประเทศเป็นหลัก งานส่วนลำตัวเครื่องและห้องนักบินมีมร. รูดิก ฟัจน์ เป็นหัวหน้าทีม งานส่วนปีกเครื่องและเสานำร่องมี มร.ไบรอัน ฟรีท เป็นหัวหน้าทีม งานส่วนท้ายของลำตัวเครื่องบินและส่วนหางมีมร. มานูเอล ไฮต้า โรเมโร่ เป็นหัวหน้าทีม และงานส่วนโครงสร้างลำตัวเครื่องบินมีมร.แบร์ตรอง จอร์จ เป็นหัวหน้าทีม ทั้งนี้งานส่วนโครงสร้างลำตัวเครื่องบินจะดำเนินงานในเมืองนอร์เดนฮัม วาเรล โลเพม นองส์ มีโอทซ์ และเซ็นต์ นาแซร์(วิลล์) งานส่วนลำตัวเครื่องจะดำเนินงานในเมืองฮัมบวร์ก ตูลูส
เบรเมน เซ็นต์ นาแซร์(กรอน) และบักเตอร์ฮุด งานส่วนปีกเครื่องบินและเสานำร่องจะดำเนินงานในเมืองฟิลตัน บรูสก์ตั้น เซ็นต์ อีลอยด์ และบางส่วนของเบรเมน งานส่วนท้ายของลำตัวเครื่องบินและส่วนหางจะดำเนินงานในเมืองฮัมบวร์ก สตาดท์ เกตาเฟ เปโตรีล และ อีลเลสกา
มร.แบร์ตรอง จอร์จ ยังรับหน้าที่เป็นรองหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการอีกด้วย ซึ่งจะดูแลงานทั้งหมดในส่วนของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกันทางอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้เครื่องมือ วิธีการ วิธีปฏิบัติ เพื่อให้เกิดกระบวนทำงานทั้งหมดของงานแห่งความเป็นเลิศเป็นไปในทิศทางเดียวและสนับสนุนซึ่งกันและกัน อันจะทำให้ประสิทธิผลการทำงานเพิ่มขึ้นและช่วยลดต้นทุน
มร. ทอม วิลเลี่ยม จะดูแลด้านโครงการ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการติดต่อลูกค้า ในประเด็นที่ไม่เกี่ยวข้องด้านการค้า รวมทั้งรับผิดชอบดูแลสายการผลิตในขั้นตอนสุดท้าย (Final Assembly Lines-FALs) การจัดการต่อรายละเอียดและติดตั้งห้องโดยสารให้เป็นไปตามความต้องการและข้อเสนอแนะจากลูกค้า และดูแลการบริหารกระบวนการของงานโปรแกรมทั้งหมด ซึ่งกำลังได้รับการพัฒนาอยู่ในขณะนี้ให้เป็นไปโดยราบรื่น ทั้งหมดนี้ทำให้งานโปรแกรมต้องทราบกำหนดงานและความคืบหน้าที่ชัดเจนของทั้งสี่ส่วนงานในฝ่ายปฏิบัติงานที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น อีกทั้งมีสิทธิ์ในการแทรกแซงตามความเหมาะสม
ในโครงสร้างใหม่นี้ยังได้มีการมองไปถึงการควบรวมแผนกงานหลักบางส่วนเข้าด้วยกัน เช่นแผนกการเงินและแผนกทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามทั้งสี่ประเทศจะยังคงมีคณะผู้แทนเพื่อทำหน้าที่เจรจาร่วมกันและจัดการในประเด็นที่ยังคงมีความจำเป็นทางกฏหมายต่างๆเช่นด้านภาษีหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชุมชนเป็นต้น แม้ว่าจะมิได้มีหน้าที่ในงานปฏิบัติการ
งานจัดซื้อ เป็นอีกส่วนที่จะบริหารโดยไม่แบ่งแยกตามประเทศเช่นเดียวกัน หากแต่จะยึดตามสิ่งที่จะต้องจัดซื้อเป็นหลัก โดยสินค้าที่ซื้อจากแหล่งหนึ่งจะต้องรองรับความต้องการใช้สำหรับทั้งบริษัทได้ หาใช่เพียงประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของแอร์บัสในการลดจำนวนซัพพลายเออร์ที่ถูกจัดอยู่ในลิสต์ “เกรดหนึ่ง” และย่อมส่งผลให้การบริหารควบคุมห่วงโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
“เป้าหมายทั้งหมดคือการมุ่งให้แอร์บัสเป็นบริษัทผลิต พัฒนา และสนันสนุนอากาศยานที่มีความบูรณาการอย่างแท้จริง เพื่อการนี้ การบริหารงานทุกส่วนขององค์กรจำเป็นต้องเป็นไปโดยไม่แบ่งแยกตามประเทศ เช่นเดียวกับความสำคัญของการเร่งพัฒนาระดับความสัมพันธ์กับบรรดาซัพพลายเออร์และผนึกจุดแข็งต่างๆเข้าด้วยกัน เพื่อให้เราเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพอย่างแท้จริง ผมเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ว่าโครงสร้างองค์กรใหม่ที่มีความคล่องตัวนี้ จะช่วยยกระดับระดับพลวัตร ประสิทธิผล และปริมาณของผลงาน อันเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการเพื่อสร้างให้แอร์บัสเป็นบริษัทชั้นนำที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคได้อย่างแน่นอน” มร. หลุยส์ กัลลัว ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอร์บัส กล่าว
เมื่อกระบวนการที่เกี่ยวข้องทางสังคมได้รับการจัดการและรายละอียดต่างๆได้รับการสรุปแล้ว โครงสร้างองค์กรใหม่จะพร้อมต่อการนำมาปฏิบัติได้ในต้นเดือนกันยายนนี้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการดำเนินงานตามแผนการปรับโครงสร้างองค์กร Power8
แอร์บัส เป็นบริษัทในเครือ EADS

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ