บ๊อช ได้ทีมแม่โจ้ และพระนครเหนือตัวแทนไทยไปประลองความเร็วรถประดิษฐ์เทคโนโลยีลิเธี่ยมอิออนระดับเอเชีย ที่ปักกิ่ง

ข่าวยานยนต์ Thursday July 7, 2011 14:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--7 ก.ค.--โอเอซิส มีเดีย Bosch Thailand Cordless Racing 2011 จบสวย ทีมแม่โจ้ คว้าแชมป์ รับ 2 แสน เตรียมจับมือทีมรองชนะเลิศ จาก พระนครเหนือ เป็นตัวแทนประเทศไทย 2 ทีมไปประลองความเร็วระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกับ 8 ทีมจาก 4 ประเทศ ฟิลิปปินส์, จีน, มาเลเซียและเกาหลีใต้ที่กรุงปักกิ่ง ปลายกันยายนนี้ เผยประทับใจในเทคโนโลยีลิเธี่ยมอิออนของเครื่องมือไร้สายบ๊อช ซึ่งเป็นขุมกำลังของพลังและความเร็วของนวัตกรรมรถแข่งประดิษฐ์ในโครงการนี้ มร.แมทธีอูส คอนเทียโร่ ผู้อำนวยการภูมิภาคอาเซียนใต้ ฝ่ายเครื่องมือไฟฟ้า บ๊อช เปิดเผยถึงโครงการการประกวดออกแบบ ประดิษฐ์ และแข่งขันรถยนต์ขับเคลื่อนจากพลังงานแบตเตอรี่ลิเธี่ยมอิออนเครื่องมือไร้สายบ๊อช “Bosch Thailand Cordless Racing 2011” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยว่า ได้รับความสนใจจากนักเรียน นิสิต นักศึกษาและสถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก ซึ่งคณะกรรมการได้ทำการคัดเลือกอย่างหนักเพื่อเฟ้นหาทีมที่ดีที่สุด 2 ทีมเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยไปร่วมการแข่งขันรถยนต์ที่ขับเคลื่อนจากพลังงานเครื่องมือไร้สายระดับภูมิภาคเอเชีย (Driving Innovation - Bosch Power Tools Asia Cordless Race 2011) ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ผลปรากฏว่า ทีมที่ชนะเลิศ ได้รับรางวัลถึง 2 แสนบาท ได้แก่ทีม ‘Maejo’ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ โดยมี รศ.ดร.เสมอขวัญ ตันติกล เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา นายประวิท อุธุโกผลการ, นายไพรัช สืบสาววงศ์, นายพงศกร อรุณรัตนาเทวัญ, และนางสาวสาลินี เปียงใจ เป็นผู้ออกแบบ และประดิษฐ์ โดยสามารถทำความเร็ว 1.10.098 นาที ในการแข่งขันระยะทางรวมทั้งสิ้น 600 เมตร ส่วนทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม RoboAC จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ รับรางวัลมูลค่า 1.2 แสนบาท โดยมีอาจารย์ศุภชัย ตระกูลทรัพย์ทวี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และออกแบบประดิษฐ์ โดย นายนนทิกร พูลมี, นายพิษณุ ทิมทอง, นายชยณัฐ สัตนันท์ และนายทนง ปิยะอารมณ์รัตน์ ทำความเร็วตลอดระยะทาง 600 เมตรได้ที่ 1.16.715 นาที ทั้งนี้ทั้ง 2 ทีมจะเป็นตัวแทนของไทยไปร่วมแข่งขันระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ณ กรุงปักกิ่ง ร่วมกับตัวแทนทีมนักเรียน นิสิต นักศึกษาอีก 8 ทีมจาก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์, จีน, มาเลเซียและเกาหลีใต้ ในระหว่างวันที่ 21-23 กันยายน 2554 นี้ ส่วนทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ทีมจาก Auto Max III จากวิทยาลัยเทคนิคพัทลุง ได้รับรางวัลรวมมูลค่า 60,000 บาท มีอาจารย์สมศักดิ์ ชูเกลี้ยงเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ออกแบบและประดิษฐ์ โดยนายทวีศักดิ์ ชูช่าย, นายดนัย คงอ่อน,นายสดายุ นุ่มนิ่ม และนายกิตติศักดิ์ ไหมสุข นอกจากนี้ยังมีรางวัลป๊อปปูล่าโหวตได้แก่ทีม iRap racing จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สำหรับรางวัลชมเชยอีก 8 รางวัล ได้แก่ ทีมศรีษะกระบือ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, ทีม iRap racing จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ทีม SBC Auto Racing จากมหาวิทยาลัยศรีปทุม, ทีม KU Racing จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน), ทีม Eternity จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี , ทีม All Toasted จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ ทีม Don’t touch จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลทีมละ 20,000 บาท “การจัดการประกวด ออกแบบ และแข่งขันรถประดิษฐ์ Bosch Thailand Cordless Racing 2011” สำหรับประเทศไทยจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เพราะได้รับความสนใจจากนักเรียน นิสิต นักศึกษา เห็นได้จากผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าประกวด นั้นเป็นไปตามเป้าหมายสำคัญที่บ๊อชต้องการกระตุ้น เป็นแรงผลักดันให้เยาวชนคนรุ่นใหม่มีความคิดสร้างสรรค์ โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรม และใช้เวลาว่างจากการเรียนมาร่วมกันทำกิจกรรมที่เป็นพื้นฐานวิชาที่กำลังศึกษาอยู่ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความรู้ความสามารถของเด็กอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้จะเป็นการพัฒนาการออกแบบและเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ก้าวหน้าเพื่อทัดเทียมต่างประเทศ ดังเช่นสโลแกนของบ๊อช “เทคโนโลยีเพื่อชีวิต” ที่เราพยายามปลูกฝังให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รู้จักเรียนรู้สร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยบ๊อชคาดหวังว่ากิจกรรมดีๆ แบบนี้ จะช่วยพัฒนาศักยภาพเยาวชนเพื่อเป็นบุคลากรที่คุณภาพต่อไปในอนาคต” มร.แมทธีอูส กล่าวเพิ่มเติม การจัดแข่งขัน โครงการ “Bosch Thailand Cordless Racing 2011” ยังเป็นการพิสูจน์ประสิทธิภาพ และกำลังการทำงานของเครื่องมือไร้สายบ๊อช ที่ใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธียมอิออน (Lithium-Ion) ซึ่งบ๊อชเป็นรายแรกที่นำเทคโนโลยี่ดังกล่าวมาใช้กับเครื่องมือไฟฟ้า โดยเทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธียมอิออนจากบ๊อชไม่ได้มีจุดเด่นเพียงอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าถึง 4 เท่าเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆที่คล้ายกันในตลาดเครื่องมือไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังมีคุณสมบัติเด่นในการการจัดการพลังงานอัจฉริยะ เซลล์แบตเตอรี่ได้รับการพัฒนาเป็นพิเศษเพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ไม่ว่าในระหว่างชาร์จหรือระหว่างใช้งาน นอกจากนั้นเทคโนโลยี Electronic Cell Protection (ECP) สิทธิบัตรเฉพาะของบ๊อชยังช่วยป้องกันแบตเตอรี่จากการโอเวอร์โหลด ความร้อนเกิน โดยการแข่งขันในครั้งนี้ ถือเป็นบทพิสูจน์ประสิทธิภาพ และการให้กำลังของเครื่องมือไร้สายเทคโนโลยีลิเธียม อิออนได้เป็นอย่างดี ซึ่งเห็นได้ชัดจากพลัง ความเร็วและชั่วโมงการใช้งานที่ยาวนานของแบตเตอรี่ที่เป็นขุมพลังให้กับรถยนต์ที่ประดิษฐ์ขึ้นในการแข่งขันครั้งนี้ ข้อมูลข่าวประชาสัมพันธ์ เพิ่มเติม กรุณาติดต่อ บริษัท โอเอซิส มีเดีย จำกัด โทร.0-2937-4658-9,0-2937-4735 คุณธนะพน เขียวหวาน / คุณศรัญญรัตน์ สุวรรณคาม / คุณวิชัย วงศ์พาสุข Email : tanapon@oasismedia.co.th, saranyarat@oasismedia.co.th , wichaiw@oasismedia.co.th ข้อมูลองค์กรเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช จำกัด โทร. 02 631 1879 คุณยุพารัตน์ เหล่าธนภัทร ผู้จัดการสื่อสารองค์กร E-mail : Yuparat.Laotanapat@th.bosch.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ