กรุงเทพฯ--9 ม.ค.--คอร์ แอนด์ พีค
ความเร็วและความเชื่อถือของเวชระเบียนที่พร้อมใช้งานสำหรับผู้ให้บริการการทางการแพทย์มืออาชีพมีผลสำคัญต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วย สิ่งนี้สำคัญต่อซิงเฮลธ์ ซึ่งเป็นกลุ่มบริการทางการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ ปัจจุบัน ซิงเฮลธ์ต้องจัดการกับเวชระเบียนขนาด 1.5 เทราไบต์ของผู้ป่วยจำนวน 2.2 ล้านคนที่เข้าใช้บริการในโรงพยาบาลสามแห่ง ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง 5 แห่ง และโพลีคลินิคทั่วเกาะสิงคโปร์อีก 9 แห่ง
ด้วยการให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ซิงเฮลธ์จึงต้องปรับปรุงประสิทธิภาพของเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medical Records: EMR) และระบบการจัดการ รูปภาพ (Image Management System: IMS) ด้วยการรวมระบบที่แตกต่างกันนี้เข้าด้วยกันเพื่อใช้สร้าง เก็บ สืบค้น และเก็บถาวรระเบียนผู้ป่วย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เวชระเบียนดังกล่าวพร้อมใช้งานได้ทันทีชนิดที่ไม่ต้องมารวมข้อมูลเป็นหนึ่งเดียวกันก่อน ระบบดังกล่าวมีผลต่อระดับการให้บริการทางการแพทย์ที่แพทย์ 1,500 คน และพยาบาล 5,000 คน ดูแลผู้ป่วยในแต่ละวันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การติดตั้งเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ก่อนหน้านี้ของกลุ่มบริษัท ซิงเฮลธ์ต้องเผชิญปัญหาที่ต้องการโซลูชั่นเข้ามาช่วย ได้แก่
- สตอเรจสำหรับระบบ EMR และ IMS ที่อยู่ในระบบแซน (Storage Area Network: SAN) เป็นโมดูลแยกจากกันสองเครือข่าย เครือข่ายเหล่านี้ไม่ได้มีความพร้อมใช้งานที่เพียงพอต่อการสนับสนุนฟังก์ชั่นที่ซับซ้อนขึ้นของ EMR และ IMS เมื่อองค์กรขยายตัวขึ้น
- การหยุดทำงานของระบบแบบ "ไม่ได้วางแผนไว้" ในบางครั้งใช้เวลานานหลายชั่วโมง เมื่อทุกระบบหยุดทำงาน พนักงานผู้ให้บริการด้านสุขภาพต้องสืบค้นระเบียนที่เป็นเอกสารด้วยตนเอง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาและไม่มีประสิทธิภาพอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องสูญเสียความสามารถในการให้บริการได้
- ปรับปรุงระบบสตอเรจด้วยโปรแกรมซ่อมแซมซอฟต์แวร์ (แพตช์) ที่ระบบต้องการหยุดทำงานตาม "แผนที่วางไว้" แล้วเพิ่มเติม
โซลูชั่นของฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ให้ความพร้อมใช้งานได้ถึง 100%
ซิงเฮลธ์เริ่มพิจารณาการปรับระบบในเดือนตุลาคม 2547 ทางกลุ่มจึงตัดสินใจเลือกใช้แนวคิดใหม่ "สตอเรจเสมือนจริง" (Storage Virtualization) เพื่อรวมความต้องการด้านการจัดการข้อมูลของบริษัทไว้ด้วยกัน "ความคิดนี้อยู่ตรงการมีจุดศูนย์กลางการจัดการที่ง่ายสำหรับสตอเรจแบบหลายชั้น" นายฟง ชุน คิน (Fong Choon Khin) ประธานฝ่ายเทคโนโลยีของกลุ่มซิงเฮลธ์ กล่าว และว่า "สิ่งนี้ทำให้เราจัดการต้นทุนและเพิ่มสตอเรจเท่าที่จำเป็น"
Hitachi TagmaStoreTM Universal Storage Platform ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เป็นโซลูชั่นสตอเรจเสมือนจริงเจ้าเดียวที่พร้อมใช้งานได้ทันที การออกแบบของฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ไม่ได้เพิ่มความซับซ้อนระหว่างเซิร์ฟเวอร์แอพพลิเคชั่นและสตอเรจ และไม่ได้อยู่บน Fibre Channel SAN อีกทั้งไม่ได้ขึ้นอยู่กับ SAN ของเวอร์ชวลไลเซชั่นซึ่งทำให้ IBM? Fast ,ระบบ SATA และเทป ที่ซิงเฮลธ์ใช้งานอยู่ สามารถได้รับประโยชน์จากเวอร์ชวลไลเซชั่น โดยใช้งานร่วมกันทั้งระบบได้อย่างดี ทั้งๆ ที่เป็นยี่ห้อที่แตกต่างกัน
ซิงเฮลธ์จึงตัดสินใจเลือกโซลูชั่นของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ "สิ่งนี้ไม่ใช่การตัดสินใจที่ยากลำบาก" นายฟง กล่าว และว่า "บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เป็นผู้ค้าเพียงรายเดียวที่นำเสนอโซลูชั่นสตอเรจเสมือนจริงซึ่งผ่านการทดสอบแล้ว พร้อมด้วยคำมั่นสัญญาความพร้อมใช้ข้อมูลบน Fibre Channel SAN แบบ 100% และโซลูชั่นที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ นำเสนอมานั้นได้รับการปรับให้เหมาะกับความต้องการของเราอย่างสมบูรณ์แบบโดยไม่ต้องเสียเงินลงทุนปรับปรุงระบบไอทีที่เรามีอยู่ก่อนแล้วเพิ่ม"
ซิงเฮลธ์เลือก Universal Storage Platforms 2 เครื่อง พร้อมกับ Hitachi Thunder 9520VTM Workgroup Modular Storage ขนาดกลาง ด้วยนโยบายการจัดเก็บข้อมูล กู้คืนข้อมูลที่เสียหายของซิงเฮลธ์และความสามารถด้านการจำลองที่มีอยู่แล้วในตัวของระบบ สามารถขจัดการทำงานที่ล้มเหลวออกไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การจัดการวงจรของข้อมูล (Information Lifecycle Management: ILM) ยังได้รับการดูแลจากสถาปัตยกรรมสตอเรจแบบหลายชั้น รวมถึงดิสก์ Fibre Channel, ดิสก์ SATA และไดร์ฟเทปต่างๆ
เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมดพร้อมใช้งานได้ 100%บนระบบ Fibre Channel SAN ดังนั้นทีมงานของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ได้ติดตั้งระบบตรวจสอบในการนำ Universal Storage Platform ไปใช้งาน ซึ่งเทคโนโลยีเสมือนจริงของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ทำให้การโยกย้ายเป็นไปอย่างราบรื่นและง่ายดาย และใช้เวลาเพียง 2 เดือนสามารถใช้งานได้จริง
การทำเสมือนจริงให้เหมาะสมกับแอพพลิเคชั่น (Application Optimized Virtualization)
สำหรับแนวคิดด้านสตอเรจเสมือนจริงนั้น บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ใช้โซลูชั่นเอโอเอส (Application Optimized Storage?) ของบริษัทเอง นั่นคือระบบสตอเรจจะเป็น "การเรียนรู้แอพพลิเคชั่น" (Application Aware) โดยจะกำหนดเส้นทางข้อมูลไปยังอุปกรณ์สตอเรจตามลำดับของการเก็บข้อมูลในแอพพลิเคชั่น ตัวอย่างเช่น ข้อมูลผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการเข้าถึงด่วนจะถูกส่งตรงไปยังดิสก์ Fibre Channel ประสิทธิภาพสูง (ชั้น 1) ขณะที่ข้อมูลที่ด่วนน้อยกว่าจะกำหนดให้ไปยังระบบสตอเรจแบบ SATA (ชั้น 3)
ซอฟต์แวร์เสมือนจริงของฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จะจัดการฮาร์ดแวร์สตอเรจภายในของ Universal Storage Platform และเครือข่าย SAN ทั้งหมดที่มีหลายชั้น สิ่งนี้เป็นการปรับใช้โครงสร้างสตอเรจให้เหมาะสมเพื่อบรรลุความต้องการในกระบวนการของระบบ EMR และ IMS ของซิงเฮลธ์ ตั้งแต่การดูแลรักษาระเบียนผู้ป่วยที่สำคัญไปจนถึงการจัดการซีทีสแกน ความเสมือนจริงทำให้แผนกต่างๆ สามารถมีพาร์ติชั่นของตัวเองได้ภายในเครือข่ายของสิงเฮลธ์ ทั้งหมดที่อยู่ในอุปกรณ์สตอเรจเดียว
"การใช้แนวคิด AOS ของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ทำให้ซิงเฮลธ์ประสบความสำเร็จในการกำหนดความต้องการที่สำคัญขององค์กรสองอย่าง นั่นคือการทำให้ง่ายและความต่อเนื่องของการดำเนินงานของระบบ EMR และ IMS" นายเอิงนาเทียส ลี (Ignatius Lee) ผู้อำนวยการบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ ประจำสิงคโปร์ กล่าว และว่า "ระบบพื้นฐานสตอเรจแบบชั้นทำให้การจัดการง่ายด้วยการควบคุมที่ศูนย์กลางโดยใช้ซอฟต์แวร์เพื่อให้แน่ใจได้ว่าการบำรุงรักษา และความต่อเนื่องในการเคลื่อนที่ของข้อมูล พร้อมทั้งป้องกันและจำลองแบบชั้นที่แตกต่างกันของสตอเรจทั้งหมดได้"
การทำสตอเรจที่มีชั้นจำนวนมากให้เป็นแบบเสมือนจริงได้นั้น ทำให้ซิงเฮลธ์สามารถเริ่มต้นด้วยฐานต้นทุนที่สามารถจัดการได้ ลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งปรับปรุงการบริการให้ดีขึ้น นอกจากนี้ โซลูชั่นเสมือนจริงของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ยังเป็นเพียงโซลูชั่นเดียวที่ทำให้ซิงเฮลธ์ยังคงใช้ระบบ IBM FastT (ซึ่งมีอยู่เดิม) ได้ ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนได้อย่างมาก
สร้างเพื่อการปรับขยายได้ง่าย
ในสภาพของความเป็นจริง เวลาในการตอบสนองแอพพลิเคชั่นที่ดีกว่าและเสถียรกว่าทำให้แพทย์สามารถเข้าถึง เวชระเบียนผู้ป่วยของพวกเขาได้อย่างทันเวลา ซึ่งจะช่วยให้เกิดการตัดสินใจได้ดีขึ้น พวกเขาสามารถดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อปรึกษาหารือระหว่างแพทย์-ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ "เราพอใจอย่างมากกับผลลัพธ์ที่ได้" นายฟง กล่าว และว่า "ทีมงานของบริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์แข็งแกร่งและเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของเราอย่างมาก"
ปัจจุบันพนักงานไอทีของซิงเฮลธ์ไม่ต้องจัดการแอพพลิเคชั่นสตอเรจจำนวนมากอีกต่อไป เพราะได้รวมศูนย์โดยการบริหารจัดการที่เดียวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Universal Storage Platforms โดยที่ฟิล์มสำเนาราคาแพงกลายเป็นอดีตไปแล้วเพราะซีทีสแกน ผลการเอ็กซ์เรย์ และภาพอื่นๆ ได้ถูกทำให้เป็นดิจิทัลและสามารถสืบค้นได้จากที่เก็บข้อมูลในเวลาไม่กี่วินาที พร้อมด้วยการปรับปรุงข้อมูลของระบบก็ไม่จำเป็นต้องหยุดการทำงานของระบบ Universal Storage Platform อีกด้วย
ความก้าวหน้าและระบบการทำงานแบบดิจิทัลของบริการด้านสุขภาพของซิงเฮลธ์ทำให้เกิดความต้องการใหม่บนสถาปัตยกรรมสตอเรจของซิงเฮลธ์ “แพทย์เอกชนอาจต้องการรวมระเบียนผู้ป่วยของพวกเขาไว้ในฐานข้อมูลแห่งชาติ และผู้ป่วยจะสามารถได้รับดูแลอย่างต่อเนื่องได้ดีกว่าเดิมมาก” นายฟงกล่าว และว่า “Hitachi TagmaStore Universal Storage Platforms ที่เรามีทำให้เราสามารถปรับขยายได้ง่ายเมื่อความต้องการเหล่านี้และอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยทำให้การติดตั้งสตอเรจของเราง่ายและปรับใช้ได้เหมาะสมโดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานที่มีอยู่”
ความต้องการสตอเรจในอุตสาหกรรมสุขภาพ
บทความของศูนย์ยุทธศาสตร์ไอทีที่เขียนโดยสตาซีย์ แมคเดเนียล * เมื่อเร็วๆ นี้ ระบุว่าข้อมูลด้านบริการสุขภาพกำลังเพิ่มจำนวนเป็นสี่เท่าในทุกๆ สองปี เมื่อต้องการดูแลผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงทีตามข้อกำหนดที่รัฐบาลกำหนดไว้ ข้อมูลเหล่านั้นจะต้อง “สืบค้นได้ง่าย”
ทั้งนี้ แมคเดเนียลให้มุมมองสำหรับสตอเรจในสภาพแวดล้อมการบริการด้านสุขภาพ ดังนี้
- การรวมและปรับขนาดได้โดยง่าย
- ความพร้อมใช้งาน
- สตอเรจตามต้องการ
- รักษาความปลอดภัยสตอเรจได้
- สตอเรจแบบชั้น
- ดูแลได้ง่าย
เมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ จัดหาโซลูชั่นสตอเรจเพื่อให้บรรลุความต้องการของอุตสาหกรรมของคุณ ให้ไปที่ www.hds.com
*ที่มา: ความต้องการสตอเรจในอุตสาหกรรมบริการด้านสุขภาพ www.itstrategycenter.com/itworld/Res/res_strategies/storage_need_healthcare/index.html
สอบถามรายละเอียด กรุณาติดต่อ:
คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร. 02-439-4600 ต่อ 8300
Srisuput@corepeak.com