วาโซ่ เทรนนิ่ง จัดอบรมราคาศุลกากรสำหรับการนำเข้าส่งออก (เจาะลึกทุกประเด็นเกี่ยวกับราคาศุลกากร และเทคนิคการเอาตัวรอดจากการถูกตรวจสอบ)

ข่าวทั่วไป Monday July 11, 2011 11:00 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ก.ค.--วาโซ่ เทรนนิ่ง ราคาศุลกากรสำหรับการนำเข้าส่งออก (เจาะลึกทุกประเด็นเกี่ยวกับราคาศุลกากร และเทคนิคการเอาตัวรอดจากการถูกตรวจสอบ) Customs Valuation for Import and Export อบรมวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2554 ณ ห้องสัมมนา คีนคอนเฟอเรนซ์ ชั้น 4 KEEN Conference ห้างสรรพสินค้าพาราไดซ์ พาร์ค (ฝั่งโฮมโปรหรือ ตลาดเสรีมาร์เก็ต) ถนนศรีนครินทร์ Rational and Significance ปัจจุบันการสำแดงราคาศุลกากรยังพบปัญหาอยู่มาก โดยเป็นเรื่องที่กรมศุลกากรมักดำเนินการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย (Customs Post Audit) และมักมีปัญหาในทางปฏิบัติมากที่สุดในขณะนำเข้าหรือส่งออก ซึ่งหากสำแดงราคาศุลกากรต่ำหรือไม่ถูกต้อง ย่อมมีผลกระทบต่อการประเมินอากร ทำให้ต้องเสียอากรเพิ่มขึ้นรวมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้งนี้ผู้ประกอบการนำเข้า/ส่งออก ตัวแทนฯลฯ มักมีโอกาสอย่างมากในการสำแดงราคาศุลกากรที่ผิดพลาดเนื่องมาจากความยากและความซับซ้อนในหลักเกณฑ์การกำหนดราคาศุลกากร ทั้งนี้ ระบบการประเมินราคาศุลกากรของไทยในอุตสาหกรรมต่าง ๆ นั้นยังคงมีการปฏิบัติที่ไม่ครบถ้วนและไม่สอดคล้องตามข้อตกลงการประเมินราคา GATT โดยเฉพาะการประเมินราคาศุลกากรในวัตถุดิบและสินค้าที่นำเข้ามาเพื่อผลิตแล้วขายต่อ หรือกรณีการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งหลาย ๆ ครั้งที่เจ้าหน้าที่กำหนดราคาศุลกากรโดยใช้ “ดุลพินิจ” ที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้อาจเป็นเพราะหลักเกณฑ์ของการประเมินราคาศุลกากรของไทยที่ไม่มีการบัญญัติหลักปฏิบัติเอาไว้ชัดเจน รวมทั้งการประเมินราคาศุลกากรที่ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 กฎกระทรวงต่าง ๆ นั้นไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ดังนั้น บริษัทฯ จึงทำการจัดอบรมสัมมนาหัวข้อ “ราคาศุลกากรสำหรับการนำเข้าส่งออก” ขึ้นมาเพื่อประโยชน์ของผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออกในการเข้าใจถึงวิธีการประเมินราคาศุลกากรโดยเจาะลึกทุกประเด็นที่เกี่ยวกับราคาศุลกากรรวมถึงเทคนิคการเอาตัวรอดจากการถูกตรวจสอบ Training Schedule 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน 09.00-16.30 น การประเมินราคาศุลกากรตามมาตรา 7 ของ GATT/WTO สิทธิของผู้นำเข้าภายใต้การกำหนดราคาศุลกากรและการเลือกวิธีการกำหนดราคาศุลกากร เงื่อนไขการปรับราคาศุลกากร และแนวทางการสำแดงราคา CIF ในกรณีต่อไปนี้ ค่าขนส่ง ค่าประกันภัยกับเงื่อนไขการส่งมอบสินค้าระหว่างประเทศ (INCOTERM) ค่าบำเหน็จตัวแทนและนายหน้า ค่าภาชนะบรรจุ ค่าบรรจุหีบห่อ และค่าวัสดุหรือบริการ (ที่เกิดขึ้นก่อนการนำเข้า) ส่วนลด ดอกเบี้ย และค่าจัดการทางการเงิน กรณีที่ผู้นำเข้าจะต้องชำระค่าสิทธิ์ (Royalty Fee) กรณี เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) สิทธิบัตร (Patent) และลิขสิทธิ์ (Copyright) ไม่สามารถคำนวณค่าสิทธิได้ในขณะผ่านพิธีการ ควรปฏิบัติอย่างไร ประโยคที่ว่า “ค่าสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับของที่นำเข้าไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อันเป็นเงื่อนไขการขาย” นั้น มีประเด็นการตีความอย่างไร พร้อมตัวอย่าง แนวทางการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยกรณีค่าสิทธิที่ต้องนำไปรวมในราคาศุลกากร ประเด็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายค่าสิทธิของกรมสรรพากรที่กรมศุลกากรมักเพ่งเล็ง เพื่อปรับราคาศุลกากร การจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ขาย ผู้นำเข้าจะต้องนำดอกเบี้ยนั้นมารวมกับราคาของ เพื่อคำนวณอากรหรือไม่ การซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศและต้องเสียค่าติดตั้ง (Installation Fee) จะต้องเสียอากรขาเข้าหรือไม่ กรณีการนำเข้า Hardware พร้อมกับ Software ในลักษณะ Complete Set และกรณีนำเข้าแยก เสียอากรอย่างไร การนำเข้าสินค้า Information Technology ภายใต้ข้อตกลง ITA สามารถลดความเสี่ยงข้อพิพาทราคาศุลกากรได้หรือไม่ อย่างไร การชำระเงินทางอ้อมประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ค่าการจัดการ (Management Fee) ค่าโฆษณา (Advertising Fee) เป็นต้น ต้องนำมารวมกับราคาสินค้านำเข้าเพื่อเสียภาษีหรือไม่ กรณีเจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจในการกำหนดราคาศุลกากร ผู้ประกอบการจะมีแนบทางการโต้แย้งอย่างไร ปัจจุบัน กรมศุลกากรมีแนวทางการจัดเก็บภาษีจากการนำเข้า Software มาทางอินเตอร์เน็ตหรือไม่อย่างไร กรณีของขวัญ ของตัวอย่าง ของส่งเสริมการขาย การขายฝาก ของให้เช่า และของยืมมา ของต่าง ๆ เหล่านี้ จะมีการประเมินราคาศุลกากรอย่างไร ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายมีผลกระทบต่อการกำหนดราคาศุลกากรนั้น มีการตีความอย่างไร เมื่ออัตราอากรเป็นศูนย์ภายใต้ความตกลง FTA กับประเทศต่าง ๆ ผู้นำเข้ายังมีความเสี่ยงต่อการสำแดงราคาศุลกากรหรือไม่ อย่างไร เทคนิคในการบริหารความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย (Post Audit) กรณีราคาศุลกากร กรณีศึกษาราคาศุลกากรที่อุตสาหกรรมต่าง ๆ มักผิดพลาดและศุลกากรมักเพ่งเล็ง การระงับข้อผิดพลาดในการประเมินราคาศุลกากร การวางประกัน การสงวนสิทธิโต้แย้ง การอุทธรณ์ การฟ้องศาล และการระงับข้อพิพาทในการประเมินราคาศุลกากรขององค์การค้าโลก (WTO) Update การกำหนดราคาศุลกากรทั้ง 6 วิธีโดยกรมศุลกากรไทย พร้อมกรณีศึกษาในแต่ละวิธี ราคาซื้อขายที่นำเข้า (Transaction Value of Imported Goods) ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน (Transaction Value of Identical Goods) ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน (Transaction Value of Similar Goods) ราคาหักทอน (Deductive Value Method) ราคาคำนวณ (Computed Value Method) ราคาย้อนกลับ (Fall Back Method) Instructor ดร.สิทธิชัย พรหมสุวรรณ ผู้ชำนาญการศุลกากร กรมศุลกากร Partner ของ กลุ่มบริษัทสยามเคาน์ซิล อดีตผู้จัดการ บริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด Registration Fee ท่านละ 3,000 บาท + ภาษี 7 % = 3,210 บาท กรณีหัก ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 3030704238 บริษัท วาโซ่ จำกัด 79/68 ซอยสามวา 29 แขวงบางชัน เขตคลองสามวา กรุงเทพ ฯ 10510 How to Apply สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และขอใบสมัคร ที่ โทร.0-29062211-2 หรือแฟกซ์ใบสมัครมาที่ 0-29062127, 029062231 เช็คสั่งจ่าย บริษัท วาโซ่ จำกัด หรือ WASO LTD. หรือ โอนเงินเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา รามอินทรา กม.10 เลขที่บัญชี 142-3-00534-2 แฟ็กซ์ใบ Pay in ระบุชื่อคอร์ส และชื่อบริษัท ไปที่ 0-29062231, 029062127 (ผู้เข้าอบรมเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนกรณีโอนเงินจากต่างจังหวัด) Notice of Cancellation ในกรณีที่ท่านสำรองที่นั่งไว้แล้วแต่ไม่สามารถเข้าร่วม สัมมนาได้ เนื่องจากเหตุจำเป็น กรุณาแจ้งยกเลิกก่อนวันงานอย่างน้อย 3 วันทำการ หากไม่แจ้งตามกำหนด ท่านจะต้องชำระค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน เป็นจำนวน40% ของ อัตราค่าลงทะเบียน Remark การส่งพนักงานเข้าอบรมสัมมนากับWASO Training Center นอกจากจะนำความรู้ แนวคิด และประสบการณ์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากวิทยากรไปประยุกต์ใช้แล้ว สามารถนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมไปลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ 200% ตามพระราชกฤษฏีกา ที่ 437

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ