ภาวะตลาดทองคำวันนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 18, 2011 14:26 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 ก.ค.--เอ็มทีเอส โกลด์ ฟิวเจอร์ ข้อมูลทองคำวันนี้ - ราคาสมาคม เปิดที่ 22,550 - 22,650 - ราคา Gold Spot เปิดที่ 1,593 - อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท 30.12 — 30.14 - GFQ11 Hi- Low 22,820 — 22,650 ปิดที่ 22,800 Gold & Silver Insight สัญญาทองคำ และ โลหะเงินตลาด COMEX ส่งมอบเดือนส.ค.เพิ่มขึ้น 80 เซนต์ หรือ 0.05% ปิดที่ 1,590.1 ดอลลาร์/ออนซ์ สัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนก.ย.ปรับตัวขึ้น 37.7 เซนต์ หรือ 0.97% ปิดที่ 39.071 ดอลลาร์/ออนซ์ หลังนักลงทุนกว้านซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง เนื่องจากยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินในยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีรายงานว่า นักวิเคราะห์ตลาดกล่าวว่า ราคาทองคำพุ่งทำระดับสูงสุดระดับใหม่หลายครั้งในสัปดาห์นี้ เนื่องจากตลาดวิตกว่าวิกฤตหนี้สินในยุโรปอาจลุกลามไปอีกหลายประเทศ ขณะเดียวกันก็กังวลว่าปัญหาหนี้สินสหรัฐอาจทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนกว้านซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงมอบ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดบวก 42.61 จุด หรือ 0.34% แตะที่ 12,479.73 จุด ดัชนี S&P 500 ปิดบวก 7.27 จุด หรือ 0.56% ปิดที่ 1,316.14 จุด ดัชนี Nasdaq ปิดบวก 27.13 จุด หรือ 0.98% แตะที่ 2,789.80 จุด หลังจากที่กูเกิลและซิตีกรุ๊ปเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งเกินคาด ช่วยกลบความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้สินของสหรัฐ มีรายงานว่า เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ หรือ เอสแอนด์พี เตือนว่ามีโอกาส 50% ที่อันดับความเชื่อถือของสหรัฐจะถูกปรับลดจากระดับสูงสุดที่ AAA ในช่วงสามเดือนจากนี้ หากรัฐสภาสหรัฐยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงปรับเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาลได้ สัญญาน้ำมันดิบตลาด NYMEX ส่งมอบเดือนส.ค.ปิดบวก 1.55 ดอลลาร์ หรือ 1.62% แตะที่ 97.24 ดอลลาร์/บาร์เรล และสำหรับตลอดทั้งสัปดาห์บวกขึ้น 1.04 ดอลลาร์ หรือ 1.08% นับว่าปรับตัวสูงขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน เนื่องจากนักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้น หลังจากที่บริษัทหลายแห่งในสหรัฐมีผลประกอบการแข็งแกร่งเกินคาด ขณะเดียวกันเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าก็ช่วยหนุนราคาน้ำมันให้ปรับตัวสูงขึ้น ส่งมอบ กองทุน SPDR Gold Trust กองทุนทองคำใหญ่ที่สุดในโลก รายงานการเข้าถือทองคำถึง ณ. วันที่ 18 กรกฎาคม ซื้อเข้า 10.60 ตัน เปลี่ยนแปลงการถือครองจากระดับ 1225.41ตัน เข้าสู่ระดับ 1236.01ตัน USD/EU ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 ก.ค.) หลังจากที่มีการเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ของธนาคารในยุโรป รวมถึงการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่น่าผิดหวัง หลังจากที่มีการเปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ของธนาคารในยุโรป รวมถึงการเปิดเผยตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่น่าผิดหวัง เงินยูโรแข็งค่า 0.01% เมื่อเทียบเงินดอลลาร์สหรัฐ แตะที่ระดับ 1.4144 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับ 1.4142 ดอลลาร์/ยูโร เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา โดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลยูโรเช้านี้เปิดอยู่ที่ระดับ 1.4059 ดอลล่าร์ต่อยูโร USD/JPY ค่าเงินเยนอ่อนค่าลง 0.14% เมื่อเทียบเงินเยน สู่ระดับ 79.040 เยน/ดอลลาร์ จาก 79.150 เยน/ดอลลาร์โดยค่าเงินดอลลาร์เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลเยนเช้านี้เปิดอยู่ที่ระดับ 79.02 เยนต่อดอลลาร์ USD/THB ค่าเงินบาทปิดตลาดวานนี้ อยู่ที่ระดับ 30.10-30.13 บาทต่อดอลล่าร์ ซึ่งไม่มีการเคลื่อนไหวมากนักระหว่างวัน โดยค่าเงินบาทเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 30.12-30.14 บาทต่อดอลล่าร์ ข่าวเศรษฐกิจโลก - นางฮิลลารี ร็อดแฮม คลินตัน รมว.ต่างประเทศสหรัฐเปิดเผยว่า รัฐบาลสหรัฐสนับสนุนความพยายามของกรีซในการรับมือกับวิกฤตหนี้สินที่กำลังสร้างความเสียหายให้กับประเทศอยู่ในขณะนี้ เรามีมุมมองที่เป็นบวกว่า กรีซกำลังดำเนินการอย่างถูกต้องในการรับมือกับวิกฤตหนี้สาธารณะ สหรัฐยืนเคียงข้างกรีซ เราเข้าใจว่ากรีซเผชิญกับความยากลำบากในการผลักดันเศรษฐกิจให้กลับมาขยายตัวได้เหมือนเดิม ปัญหาท้าทายหลักๆของกรีซคือ การที่กรีซยังต้องเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจตามข้อกำหนด ซึ่งกรีซก็จะต้องแบกรับต้นทุนในการดำเนินการดังกล่าวด้วย นางฮิลลารีกล่าวในระหว่างการหารือร่วมกับนายจอร์จ ปาปันเดรอู นายกรัฐมนตรีกรีซ - นายเฮอร์แมน แวน รอมปุย ประธานสหภาพยุโรป (อียู) เปิดเผยว่า กลุ่มประเทศยูโรโซนจะจัดการประชุมฉุกเฉินในวันพฤหัสบดีที่ 21 ก.ค.นี้ เพื่อหารือเรื่องการรับมือกับวิกฤตหนี้สาธารณะที่ยืดเยื้อยาวนานในยุโรป มีรายงานว่า ในการประชุมฉุกเฉินของยูโรโซนครั้งนี้ วาระการประชุมหลักๆคือการหาแนวทางรับมือกับวิกฤตหนี้ รวมทั้งประเมินเสถียรภาพด้านการเงินของยูโรโซน และการให้ความช่วยเหลือกรีซครั้งใหม่ โดยนายรอมปุยยอมรับว่า มีความเสี่ยงสูงมากที่วิกฤตหนี้จะลุกลามในยูโรโซน และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้มาตรการเร่งด่วนเพื่อสกัดการลุกลามดังกล่าว - ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.ของสหรัฐขยายตัว 0.2% น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะขยายตัว 0.3% ซึ่งบ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของภาคการผลิตในสหรัฐเป็นไปอย่างเชื่องช้า มีรายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐครอบคลุมถึงผลผลิตในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โรงงาน และสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยผลผลิตในโรงงานซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงสุดในการคำนวณดัชนีภาคการผลิตโดยรวมนั้น ทรงตัวในเดือนมิ.ย. ขณะที่ผลผลิตในเหมืองแร่เพิ่มขึ้น 0.5% และผลผลิตในด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้น 0.9% นอกจากนี้ รายงานของเฟดระบุว่า อัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 76.7% ในเดือนมิ.ย. ซึ่งทรงตัวจากเดือนพ.ค. แต่ยังสูงกว่าระดับเฉลี่ยในช่วงปี 2515-2553 - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้แสดงความพอใจหลังจากสำนักงานการธนาคารยุโรป (EBA) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลด้านการธนาคารของสหภาพยุโรป (อียู) เปิดเผยผลการทดสอบภาวะวิกฤติของภาคธนาคาร ยุโรป ซึ่งบ่งชี้ว่า มีธนาคารเพียง 8 แห่งเท่านั้นที่ไม่ผ่านการทดสอบ จากจำนวนธนาคารทั้งหมด 90 แห่งที่เข้ารับการทดสอบ มีรายงานว่า เกณฑ์ในการทดสอบภาวะวิกฤตครั้งนี้ทางคณะกรรมการ EBA พิจารณาจากการดำรงเงินกองทุนขั้นที่ 1 ภายใต้ภาวะวิกฤติ ซึ่งวัดในช่วงเดือนม.ค.-เม.ย.ปีนี้ และแนวโน้มการดำรงเงินกองทุนขั้นที่ 1 ภายใต้ภาวะวิกฤติ ณ สิ้นปี 2555 โดย EBA ระบุว่า ธนาคารที่ไม่ผ่านการทดสอบในครั้งนี้เป็นธนาคารที่มีการดำรงเงินกองทุนขั้นที่หนึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 5% อาทิตย์ที่ ข้อมูลที่น่าจับตา ตัวเลขเดิม ตัวเลข คาดการณ์ ตัวเลขจริง 14-18กรกฎาคม2554 วัน ? Core Retail m/m 0.2% 0.1% 0.0% พฤหัส ? PPI m/m 02.% -0.2% -0.4% ? Unemployment Claims 427K 413K 405K ? Fed Chairman Bernanke Testifies วัน ? Foreign Securities Purchases 8.22B 7.4B ศุกร์ ? Long-Term Purchases 30.6B 48.4B ? Monetary Policy Meeting Minutes ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าจับตา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ