กรุงเทพฯ--18 ก.ค.--มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัด เวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริ เพื่อยกระดับองค์ความรู้จากชุมชนเผยแพร่สู่สังคมกว้าง ตามโครงการวิเคราะห์และถอดบทเรียนการทำงานสืบสานแนวพระราชดำริเพื่อสร้างชุดความรู้พร้อมใช้ อาจารย์ ดร.ทิพย์สุดา ตั้งตระกูล ผู้ช่วยอธิการบดี ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ ให้สัมภาษณ์ว่า โครงการวิเคราะห์และถอดบทเรียนการทำงานสืบสานแนวพระราชดำริเพื่อสร้างชุดความรู้พ ร้อมใช้ โดยการสนับสนุนของสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 ถึงเดือน พฤษภาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยได้ดำเนินการวิเคราะห์ ถอดบทเรียน และจัดทำชุดความรู้พร้อมใช้ใน 6 มิติ ได้แก่ มิติด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ป่า และพลังงาน จากปราชญ์ชาวบ้าน และมหาบัณฑิตสาขาการจัดการภูมิสังคมอย่างยั่งยืน ที่น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้ในการแก้ปัญหา การดำเนินชีวิตแล ะพัฒนาชุมชนให้เป็นแบบอย่างแก่บุคคลทั่วไป จำนวน 21 กรณีศึกษาในภาคเหนือ แบ่งเป็นจังหวัดเชียงใหม่ 6 กรณีศึกษา จังหวัดลำพูน 3 กรณีศึกษา จังหวัดลำปาง 2 กรณีศึกษา จังหวัดพะเยา 3 กรณีศึกษา จังหวัดเชียงราย 3 กรณีศึกษา จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2 กรณีศึกษา จังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน จังหวัดละ 1 กรณีศึกษา
ซึ่งหลังจากได้ถอดองค์ความรู้แล้ว มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ขึ้น เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาโดยได้เชิญบุคคล ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน พร้อมทั้งยังได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่ ที่ปรึกษาสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกร รมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ด้วยเพื่อยกระดับองค์ความรู้จากชุมชนเผยแพร่สู่สังคมกว้างต่อไป
“จากหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ คือ เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา นั้น การเข้าใจ เป็นการสร้างความเข้าใจด้วยการศึกษาข้อมูลทุกมิติของชุมชน ค้นหารากของปัญหา รวบรวมองค์ความรู้, การเข้าถึง เป็นการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วม มุ ่งสร้างความเข้าใจและมั่นใจกับชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์และมีส่วนร่วม และการพัฒนา เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน สร้างทีมพี่เลี้ยง การออกแบบหลักสูตรและเมนูการพัฒนา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติของชุมชน ในทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ พร้อมติดตามสนับสนุน สรุป และประมวลผล บันไดทั้ง 3 ขั้นนี้ มุ่งสู่การพัฒนาให้ชุมชนมีความเป็นเจ้าของและนำไปสู่ความยั่งยืนในที่สุด การวิเคราะห์และถอดบทเรียนการทำงานสืบสานแนวพระราชดำริเพื่อสร้างความรู้พร้อมใช้ จึงก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้” รองศาสตราจารย์อาคม กาญจนประโชติ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประธานในพิธีได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมหลังกล่าวเปิดเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ฯ