กรุงเทพฯ--20 ก.ค.--โตโยต้า มอเตอร์
มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ครึ่งแรกของปี 2554 มีปริมาณการขาย 432,012 คัน เพิ่มขึ้น 21.1% พร้อมปรับประมาณการตลาดรถยนต์ไทยปี 2554 เป็น 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 12.4%
มร.ทานาดะ กล่าวว่า “แม้ว่าช่วงต้นปี 2554 เป็นช่วงเวลาที่บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่น ต้องฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ จากเหตุการณ์สึนามิ แต่ด้วยความร่วมมือและความสนับสนุนจากทุกด้านทำให้การผลิตฟื้นเร็วกว่าคาด รวมถึงความต้องการของตลาดที่สูงขึ้น ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ในครึ่งปีแรก สามารถสร้างสถิติใหม่ในประวัติศาสตร์ของตลาดรถยนต์ในประเทศ ด้วยอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น 21.1% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยรถเพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้น 17.2% รถยนต์นั่งเพิ่มขึ้น 26.3% ตลาดรถยนต์เติบโตอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะตลาดรถกระบะ 1 ตัน ที่ฟื้นตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็ว รวมถึงรถยนต์นั่งที่เพิ่มขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนสภาวะทางเศรษฐกิจโดยรวมที่ดีขึ้นและมีเสถียรภาพมากขึ้นนับตั้งแต่ไตรมาสแรก โดยทั้งอุตสาหกรรมมีปริมาณการผลิตอยู่ที่ 820,000 คัน”
สถิติการขายรถยนต์ ครึ่งแรกของปี 2554
ปริมาณการขาย เปลี่ยนแปลง
เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกของ 2553
ปริมาณการขายรวม 432,012 คัน +21.1%
รถยนต์นั่ง 193,510 คัน +26.3%
รถเพื่อการพาณิชย์ 238,502 คัน +17.2%
รถกระบะ1 ตัน(รวมรถกระบะดัดแปลง) 204,837 คัน +18.1%
รถกระบะ1 ตัน(ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 185,147 คัน +19.2%
“สำหรับการขายของโตโยต้าในครึ่งปีแรกนั้นเพิ่มขึ้น 8.0% คิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาดที่ 36.2% โดยรถเพื่อการพาณิชย์ ลดลง 3.2% รถยนต์นั่งเพิ่มขึ้น 22.7%”
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้า ครึ่งแรกของปี 2554
ปริมาณการขายโตโยต้า 156,301 คัน เพิ่มขึ้น 8.0% ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
รถยนต์นั่ง 76,747 คัน เพิ่มขึ้น 22.7% ส่วนแบ่งตลาด 39.7%
รถเพื่อการพาณิชย์ 79,554 คัน ลดลง 3.2% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 71,839 คัน ลดลง 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 65,358 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.3%
การส่งออกในครึ่งปีแรกนั้นได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิเช่นกัน โดยโตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปทั้งสิ้น 136,074 คัน ลดลง 17.1% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 57,409 ล้านบาท ส่งออกชิ้นส่วนมูลค่า 24,435 ล้านบาท รวมเป็นมูลค่าการส่งออกที่นำรายได้กลับสู่ประเทศเป็นเงิน 81,844 ล้านบาท”
สำหรับแนวโน้มของตลาดรถยนต์ครึ่งหลังของปี 2554 มร.ทานาดะ กล่าวว่า “ความต้องการในตลาดรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2553 ต่อเนื่องมาถึงปี 2554 ประกอบกับการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่จากหลายค่าย ส่งผลให้ตลาดรถยนต์ในประเทศ จะเติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้เมื่อตอนต้นปี ด้วยยอดขายที่สูงกว่า900,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 12.4% โดยแบ่งเป็นตลาดรถยนต์นั่ง 410,000 คัน และรถเพื่อการพาณิชย์ 490,000 คัน และคาดว่าในปีนี้อุตสาหกรรมยานยนต์จะสามารถผลิตรถได้มากขึ้นถึง 1,800,000 คัน
ทั้งนี้ตลาดรถกระบะ ยังคงเป็นตลาดสำคัญและเป็น “Product Champion” ของประเทศไทย จากการที่ภาคการเกษตรได้ฟื้นตัวจากราคาสินค้าทางการเกษตรที่ขึ้น ส่งผลให้กำลังการซื้อสูงขึ้น รวมถึงความต้องการรถกระบะจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน ล้วนส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย”
ประมาณการยอดขายรถยนต์ ในปี 2554
ปริมาณการขายรวม 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 12.4%
รถยนต์นั่ง 410,000 คัน เพิ่มขึ้น 18.3%
รถเพื่อการพาณิชย์ 490,000 คัน เพิ่มขึ้น 8.0%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 408,500 คัน เพิ่มขึ้น 5.3%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 380,000 คัน เพิ่มขึ้น 9.4%
มร.ทานาดะ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับโตโยต้าในปี 2554 นี้ เราตั้งเป้าหมายการขายที่ 360,000 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 167,500 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 192,500 คัน โดยเป็นรถกระบะขนาด 1 ตัน 181,000 คัน
ประมาณการขายรถยนต์ของโตโยต้า ในปี 2554
ปริมาณการขายรวม 360,000 คัน เพิ่มขึ้น 10.4%
รถยนต์นั่ง 167,500 คัน เพิ่มขึ้น 18.2%
รถเพื่อการพาณิชย์ 192,500 คัน เพิ่มขึ้น 4.5%
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) 181,000 คัน เพิ่มขึ้น 9.8%
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) 163,000 คัน เพิ่มขึ้น 13.0%
ส่วนด้านการส่งออกของโตโยต้าในปีนี้ คาดว่าจะมีการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป ประมาณ 328,800 คัน ลดลง 2% คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 136,000 ล้านบาท ส่งออกชิ้นส่วน มูลค่า 53,000 ล้านบาท รวมมูลค่า การส่งออกทั้งหมดถึง 189,000 ล้านบาท ทั้งนี้การลดลงของการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปนั้นเป็นผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิในช่วงครึ่งปีแรก”
“ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โตโยต้าจะเพิ่มการผลิตเพื่อส่งรถให้ทันตามความต้องการของลูกค้า โดยเริ่มจากการปรับเวลาการผลิตรถที่ออกจากสายพานการผลิต (Takt Time) ในโรงงานทั้งสามแห่งให้เร็วขึ้น โดยปัจจุบันโรงงานผลิตรถยนต์โตโยต้าที่สำโรง สามารถทำสถิติดีที่สุดในกลุ่มโรงงานของโตโยต้าทั่วโลกด้วยเวลา 56 วินาทีต่อ 1 คัน นอกจากนี้จะมีการขยายกำลังการผลิตที่โรงงานบ้านโพธิ์จาก 140,000 คัน เป็น 220,000 คัน ตั้งแต่เดือนกันยายนนี้เป็นต้นไป” มร.ทานาดะ กล่าวในที่สุด
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนมิถุนายน 2554
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 70,259 คัน ลดลง 0.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 25,348 คัน ลดลง 6.0% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 12,888 คัน เพิ่มขึ้น 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 18.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 6,635 คัน เพิ่มขึ้น 91.0% ส่วนแบ่งตลาด 9.4%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 32,775 คัน ลดลง 0.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,013 คัน เพิ่มขึ้น 16.6% ส่วนแบ่งตลาด 42.8%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,776 คัน ลดลง 57.3% ส่วนแบ่งตลาด 14.6%
อันดับที่ 3 นิสสัน 4,324 คัน เพิ่มขึ้น 20.9% ส่วนแบ่งตลาด 13.2%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 32,584 คัน เพิ่มขึ้น 4.0%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 11,796 คัน ลดลง 1.0% ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 10,396 คัน ลดลง 20.0% ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 5,772 คัน เพิ่มขึ้น 108.8% ส่วนแบ่งตลาด 17.7%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,866 คัน
มิตซูบิชิ 1,796 คัน - โตโยต้า 569 คัน - อีซูซุ 439 คัน - ฟอร์ด 62 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 29,718 คัน เพิ่มขึ้น 3.0%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 11,357 คัน ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนแบ่งตลาด 38.2%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 9,827 คัน ลดลง 18.3% ส่วนแบ่งตลาด 33.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 3,976 คัน เพิ่มขึ้น 107.3% ส่วนแบ่งตลาด 13.4%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 37,484 คัน ลดลง 0.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 12,888 คัน เพิ่มขึ้น 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 34.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 11,335 คัน ลดลง 24.2% ส่วนแบ่งตลาด 30.2%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 5,773 คัน เพิ่มขึ้น 108.8% ส่วนแบ่งตลาด 15.4%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — มิถุนายน 2554
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 432,012 คัน เพิ่มขึ้น 21.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 156,301คัน เพิ่มขึ้น 8.0% ส่วนแบ่งตลาด 36.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 80,029 คัน เพิ่มขึ้น 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 18.5%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 46,370 คัน ลดลง 10.5% ส่วนแบ่งตลาด 10.7%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 193,510 คัน เพิ่มขึ้น 26.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 76,747 คัน เพิ่มขึ้น 22.7% ส่วนแบ่งตลาด 39.7%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 42,972 คัน ลดลง 9.5% ส่วนแบ่งตลาด 22.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 23,851 คัน เพิ่มขึ้น 110.3% ส่วนแบ่งตลาด 12.3%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 204,837คัน เพิ่มขึ้น 18.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 73,019 คัน เพิ่มขึ้น 10.9% ส่วนแบ่งตลาด 35.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 71,839 คัน ลดลง 1.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 30,209 คัน เพิ่มขึ้น 135.7% ส่วนแบ่งตลาด 14.7%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 19,690 คัน
มิตซูบิชิ 9,225 คัน - โตโยต้า 6,481 คัน - อีซูซุ 3,489 คัน - ฟอร์ด 495 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 185,147 คัน เพิ่มขึ้น 19.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 69,530 คัน เพิ่มขึ้น 11.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 65,358 คัน เพิ่มขึ้น 2.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.3%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 20,984 คัน เพิ่มขึ้น 171.1% ส่วนแบ่งตลาด 11.3%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 238,502 คัน เพิ่มขึ้น 17.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 80,029 คัน เพิ่มขึ้น 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 33.6%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 79,554 คัน ลดลง 3.2% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 30,210 คัน เพิ่มขึ้น 135.7% ส่วนแบ่งตลาด 12.7%